วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
หมอจี้'บิ๊กตู่'เลือกขุนพลที่มีความรู้-ชำนาญ   หวั่นผู้ติดเชื้อโควิด-19พุ่งเกินกำลังคุมไม่อยู่

หมอจี้'บิ๊กตู่'เลือกขุนพลที่มีความรู้-ชำนาญ หวั่นผู้ติดเชื้อโควิด-19พุ่งเกินกำลังคุมไม่อยู่

วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563, 15.24 น.
Tag : ขุนพลที่มีความรู้ บิ๊กตู่ ผู้ติดเชื้อโควิด-19
  •  

รายการโหนกระแสวันที่ 23 มี.ค. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 ยังเกาะติดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยอาจารย์หมอหลายท่านวิเคราะห์ว่าจากสถิติกราฟตัวเลขตอนนี้ ถ้ายังอยู่ในมาตรการแบบนี้ที่คนไทยใช้อยู่ มีโอกาสสูงมากที่ภายในกลางเดือนเม.ย. คนไทยจะติดเชื้อโควิด-19 จำนวนถึง 3.5 แสนคน และเสียชีวิต 7 พันคน 

วันนี้เปิดใจสัมภาษณ์ "รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์" หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.มาราธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาพร้อมกับ "รศ. นพ. ธีระ วรธนารัตน์" รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เมื่อวานเห็นคลิปอาจารย์ที่มีการพูดเอาไว้ คนแชร์ต่อเยอะมาก หนึ่งในนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจ อาจารย์บอกว่าเป็นไปได้เหลือเกิน 4 วันนับจากอาจารย์พูดจะมีคนป่วย 1 พันคน ที่มาที่ไปเป็นยังไง

อาจารย์ประเมินจากอะไร?

รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ : "ที่มาที่ไป จากการที่เราดูว่ามีผู้ป่วยทุกวันเลย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี เราก็คิดว่าเริ่มเข้ากราฟ เกิน 100 คน พอเกิน 100 คน เรามทางเลือก 2 ทาง ทางนึงไปอิตาลี สองลงมาแบบสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ประเทศที่มีการระบาดมากๆ กราฟจะเพิ่มขึ้นวันละ 33 เปอร์เซ็นต์จากตัวเลขของวันก่อน ซึ่งยอดเราจะน่ากลัวมาก อีก 4 วันถ้าเราไม่มีมาตรการ อะไรภายใน 4 วัน และรอให้ถึงพัน เราจะเอาพันนั้นให้ลงมันจะยากมาก มันจะทะลุขึ้นไปเรื่อยๆ" 

เมื่อวานมีการแถลงว่ามีคนติดเชื้อ 188 ราย วันนี้ที่เราสัมภาษณ์กันอยู่คือวันจันทร์ มาอีก 122 ยอด 721 ราย สถิติดูลดลงมั้ย?

รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์  : "ดูลดลง เมื่อวานเพิ่มจากวันก่อน แต่วันนี้เพิ่มจากเมื่อวาน ประมาณสัก 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามีผู้ป่วยที่รอการคอนเฟิร์มจากแลปที่ตรวจหรือเปล่า ถ้าดูกราฟเส้นสีแดง เป็นเส้นประเทศไทย อิตาลีสีเขียว ถ้าเป็นญี่ปุ่นเป็นสีน้ำเงินด้านล่าง เรายังมีทางเลือกว่าเราจะไปข้างบนหรือลงมาด้านล่าง ทีนี้ข้างบนเราก็ทำเส้นประดูว่าถ้าเราจะแตะเส้นนี้ ถ้าเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ที่ระบาดหนักมาก เราไม่อยากแตะเส้นนี้ เราเฝ้าดูว่าถ้าเราจะแตะเส้นนี้ อีกสี่วันเพิ่มเป็นพัน อีกสิบวันเพิ่มเป็นห้าพัน อีกสิบสี่วันเพิ่มเป็นเกือบหมื่น จากแรกๆ ดร็อปๆ ไปบ้าง แต่เราจะไต่ไปทาง 33 ดูแล้วก็น่าเป็นห่วงมาก เราน่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นกว่านี้ ไม่งั้นโอกาสที่จะลงมาแบบญี่ปุ่นเป็นฝันที่ไกลเกินไป"

น่าต้องมีมาตรการเข้มข้น ณ วันนี้ในกรุงเทพฯ ล่าสุดมีการประกาศปิดสถานที่ในหลายๆ จุด มันเหมือนล็อกดาวน์กลายๆ แต่ยังไม่พอ สิ่งที่ต้องเพิ่ม?

รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ : "พูดตรงๆ อยากให้ล็อกดาวน์กันทุกจังหวัด เพราะมีการเคลื่อนย้ายประชากร จากกรุงเทพฯ ไปที่อื่นก็มีการแพร่กระจายของเชื้อ ถ้าทุกคนกักตัวทั้งหมดก็ช่วยได้ ช่วงนี้ช่วงเวลาทอง ยังไม่แตะพัน"

มีแนวโน้มจะเป็นอย่างนั้น?

รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ : "มีทีเดียวเลยค่ะ แต่มาตรการต่างๆ เข้ามาก็หวังว่าจะช่วยกันทุกคน"

มาฟังอาจารย์จุฬาฯ มองยังไง?

รศ.นพ. ธีระ : "ขอเสริมนิดนึง ในกราฟที่เราเห็น ตอนนี้ทั่วโลกติดโควิดกันหมดแล้ว กราฟที่อาจารย์อธิบายแบ่งเป็น 2 พวก พวกคุมอยู่กับพวกคุมไม่อยู่ กับด้านล่าง 3 ประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ สิ่งที่จะเน้นย้ำคือมีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มประเทศด้านบนที่คุมไม่อยู่ มันไต่ไปเร็ว จากวันแรก 100 เคส ขึ้นไป 200 เคสใช้เวลา3 วัน กับด้านล่างอีก 3 ประเทศคุมอยู่ มันขึ้นไปไม่มาก ร้อยถึงสองร้อยใช้เวลานาน 4-5 วัน ขณะที่ของไทย เราดูดีๆ พบว่าใช้เวลา 3 วันครึ่ง มีแนวโน้มติดประเทศที่เป็นกลุ่มผู้นำระบาด เป็นแนวโน้มไม่ดี แต่เราเปลี่ยนชะตาได้เราต้องช่วยกัน"

คำว่าต้องช่วยกัน หมายถึง?

รศ.นพ. ธีระ : "หมายถึงก่อนเราลงไปดูตัวมาตรการ ดูก่อนว่าเราลงมาตรการเต็มที่ ช่วยกันเต็มที่เมื่อไหร่ มันจะมีช่วงเวลาทองอยู่ ถามว่าเวลานานเท่าไหร่ ยิ่งปล่อยให้เนิ่นนาน ความห่างของคนสองกลุ่ม จะยิ่งห่างขึ้น นั่นแปลว่าโอกาสตามทันกันยาก ถ้าเราดูกราฟคร่าวๆ เรามีเวลา 5 วัน ถัดจาก 15 มี.ค.ที่เราแตะร้อย จริงๆ ถ้าเราลงมาตรการเต็มที่วันที่ 20 น่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่เราเปลี่ยนชะตาชีวิตเราได้ แต่ตอนนี้มันเลยไปแล้ว พอวิเคราะห์ลึกๆ ถ้าปล่อยให้จำนวนเคสยิ่งเยอะยิ่งคุมไม่อยู่ ตอนนี้ที่แนะนำผู้หลักผู้ใหญ่ เราบอกว่าอย่าปล่อยให้ถึงพันเคส เพราะมันจะเกิดผลกระทบ จะคุมไม่อยู่แล้ว เกินกำลังหรือเปล่า ซึ่งอีกพันเคสก็เหลือเวลาอีกไม่นานแล้ว"

อาจารย์มองว่ามาตรการตอนนี้ยังไม่พอ?

รศ.นพ. ธีระ : "ยังไม่พอ"

จำเป็นต้องปิดประเทศมั้ย?

รศ.นพ.ธีระ : "จริงๆ ถ้าจะให้ดีที่สุดมีสองหลักที่ต้องทำ ผมไม่ค่อยชอบคำว่าปิดประเทศเท่าไหร่ พอพูดไปปุ๊บจะทำให้คนน่ากลัว แต่อยากให้ทำสองอย่างคือปิดกั้นให้คนต่างประเทศเข้ามา ตอนนี้มันน้อยลงแล้วแต่ก็ยังพอมีอยู่บ้าง สองไม่ให้คนที่ติดเชื้ออกไปแพร่ให้คนอื่น มาตรการที่สอง ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยเราช่วยกันอยู่กับที่เท่าที่จะทำได้ แล้วมันจะดีขึ้น" 

จำเป็นต้องประกาศเคอร์ฟิว ห้ามคนออกจากบ้านมั้ย?

รศ.นพ. ธีระ : "ผมคิดว่าประเทศที่มีการระบาดหนักๆ แล้ว หลายประเทศก็พิจารณามาตรการแบบนี้ แต่การประกาศให้เกิดนโยบายแบบนี้จะสร้างความตื่นตระหนก แต่ถ้าถามผมถ้าการระบาดวงกว้างและเร็ว ผมแนะนำว่าต้องมีการจำกัดเวลาออกนอกเคหะสถานของประชาชน แน่นอนเราคงไม่ให้เขากักตัวอยู่บ้านตลอด 24 ชม. คงเป็นไปได้ยาก แต่เราอาจมีการจำกัดเวลา อย่างเช่น สามทุ่มถึงตอนเช้า ไม่อยากให้ออกจากบ้านเพื่อป้องกันความเสี่ยงคนออกไปข้างนอกและแพร่ให้แก่กัน นี่ก็เป็นมาตรการที่รัฐควรพิจารณาา ถือว่าจำเป็น ถ้าเราไม่จำกัดวงจรแพร่ระบาดช่วงเวลาทอง มันจะคุมไม่อยู่"

พอปิดสถานที่ท่องเที่ยวก็มีคนกลุ่มนึงที่ไม่ฟัง ไปนั่งเล่นชายหาด ตอนนี้พอไม่มีมาตรการเข้มจัดการ คนก็ทำแบบนี้อีก แล้วมีอีกกลุ่มที่เขาบอกว่าประกาศปิดแบบนี้เขาก็ต้องกลับบ้านเพราะเขาหา

เช้ากินค่ำ อาจารย์มองยังไง?

รศ.นพ. ธีระ : "ส่วนตัวผมมองว่าถ้ารัฐจะจัดการตัดวงจรการระบาดนี้ได้ เรากำลังทำสงครามกับโรคระบาด สิ่งที่จะต้องทำ มีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ เรื่องแรกเตรียมกับสังคมให้ดี อาจต้องสู้กับโรคระบาด เรื่องปิดเมืองอะไรก็แล้วแต่ อาจเกิดปัญหาเรื่องความภัย และสวัสดิภาพของประชาชนได้ ตร.ทหารต้องวางแผนไว้ สองรณรงค์ให้คนรู้ว่าต้องประพฤติปฎิบัติยังไง มีระเบียบ และเชื่อฟังมาตรการที่รัฐได้ประกาศออกไป และปฏิบัติต่อกัน เช่นการวางระยะห่างระหว่างกันให้เป็นนิสัย สองเรื่องเศรษฐกิจ คนเราต้องกินต้องใช้ นั่นแปละว่าอาจต้องเตรียมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นั่นหมายถึงต้องเตรียมอาหารการกินและต้องไม่ลืมคนเบี้ยน้อยหอยน้อย คนยากจน ต้องหาทางเยียวยาเขา ในตอนที่เราปิดประเทศหรือปิดเมือง และอันที่สามคือเรื่องการแพทย์ สงครามกับโรคระบาดเป็นการสู้กับเชื้อโรค สถานพยาบาลต้องเตรียมให้พร้อม ใช้ได้จริง เตรียมเครื่องมือบุคลากรให้พร้อม แบ่งให้ดีว่าอันไหนเป็นรพ.สำหรับโรครุนแรง อันไหนไม่รุนแรง สุดท้ายเรื่องบริหารจัดการ นี่คือสงครามโรคระบาดของคนทั้งชาติ ฉะนั้นท่านนายกฯ ต้องลงมาบัญชาการเอง ซึ่งท่านก็ลงมาอยู่ ร่วมกับขุนพลคู่ใจแต่ขุนพลต้องเลือกให้ดี ให้เหมาะสม มีความรู้ ความชำนาญ เชี่ยวชาญสู้กับโรคระบาด ไม่ใช่การบริหารแบบเล่นๆ"
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ตร.เปิด 900 อัตราตำรวจชั้นประทวนวุฒินิติฯ สอบเลื่อนเป็น‘สัญญาบัตร’พนักงานสอบสวน

'สมเด็จพระเทพฯ' ทรงห่วงใย พระราชทานพระให้ 'มทภ.2' แจกจ่ายทหารชายแดนไทย-กัมพูชา

‘ดร.เฉลิมชัย’ปิดหลักสูตร‘ปธส.12’ สร้างผู้นำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด

เสียงปริ่มน้ำ‘วิสุทธิ์’เตือนแรงถึง‘สส.-รมต.’ต้องรับผิดชอบงานสภา ไม่เช่นนั้นไปไม่รอด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved