วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ซอกแซกอาเซียน : 30 เมษายน 2563

ซอกแซกอาเซียน : 30 เมษายน 2563

วันพฤหัสบดี ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ซอกแซกอาเซียน
  •  

ฉบับที่แล้วพูดถึงเรื่องผู้อพยพพลัดถิ่นชาวเมียนมา ในรัฐยะไข่ ขออนุญาตมาว่าต่อนะครับ คือช่วงนั้นเป็นช่วงต้นๆ เดือนมีนาคม แต่ที่สังเกตทั้งคนและพระที่วัดนั่นแม้กระทั่งคนในเมืองซิตตเว ไม่ปรากฏว่ามีการสวมใส่หน้ากากกันเชื้อโควิดสักคน ทั้งๆ ที่ทุกประเทศตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ที่เมียนมาจะมีคนสวมหน้ากากเพียงประปราย และช่วงนั้นก็ไม่พบข่าวสารรายงานการติดเชื้อของประชาชนแต่อย่างใด ไม่มีใครกลัวหรือกังวลเกี่ยวกับโรคโควิดครับ ในห้องประชุมพิธีการส่งมอบข้าวที่ผ่านมาก็ไม่มีใครใส่ คณะเรารวมทั้งผมก็ไม่มีใครใส่ เพราะดูจะเป็นแปลกจากคนอื่นๆ เห็นแล้วน่าหวาดเสียว ผมว่าเชื้ออาจยังไม่ระบาดแถวนั้นหรอก เพราะที่ตั้งของเมืองซิตตเวอยู่ไกลมาก มีการเดินทางของประชาชนเข้า-ออกน้อย เห็นบอกว่าถ้าเดินทางโดยรถยนต์โดยสาร กว่าจะถึงย่างกุ้งใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมง

และอีกอย่างคือ อากาศร้อนแห้งแล้งมาก แสงแดดแผดจ้าเกือบทั้งวัน ผมว่าเจ้าเชื้อโควิดมันอาจอยู่ไม่ได้ ช่วงหนึ่งผมและคณะถือโอกาสเดินผ่าแดดและความชุลมุนสำรวจตลาดตัวเมืองซิตตเว และลองหาซื้อหน้ากากตามร้านเผื่อเอามาใช้ในเมืองไทย ปรากฏว่าไม่มีขายครับ มาถึงปัจจุบัน ผมไม่ทราบว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และหากมีการระบาดของเชื้อโรคจะเอาหน้ากากกันที่ไหน คิดแล้วน่าเป็นห่วงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อพยพพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในวัด ถ้ามีการระบาดของเชื้อ มันคงจะเดือดร้อนสาหัสแน่ เด็กๆ ก็มาก คนสูงอายุก็เยอะอยู่อาศัยกันอย่างแออัด คิดอีกทีเป็นความโชคดีของประเทศเมียนมาครับ ที่พบการระบาดน้อยมาก


การที่ผมได้ไปเยี่ยมศูนย์พักพิงผู้อพยพที่ใช้วัดพุทธเป็นที่ตั้ง ทำให้ผมเห็นถึงความแตกต่างของวัดพุทธในเมียนมา กับวัดพุทธในประเทศไทยเราอย่างเห็นได้ชัดอันนี้ไม่รวมถึงวัดพุทธดังๆ ในเมียนมาที่มีโยมอุปถัมภ์และมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกราบไหว้นะครับ คือวัดในเมียนมาที่ชนบทๆ หน่อย จะเป็นวัดสมถะจริงๆ ไม่มีอาคารสิ่งก่อสร้างโบสถ์วิหารวิลิศมาหรา ใหญ่โต ไม่มีกุฏิติดแอร์ หรือมีรถเบนซ์หรือคัมรี่ให้เจ้าอาวาสนั่ง เขาเป็นวัดแบบง่ายๆ ถ้าเป็นอาคารปูน ก็เป็นอาคารเก่าๆ โทรมๆ พอให้อยู่ได้ ไม่มีทาสีหรือประดับประดาใดๆ เจ้าอาวาสก็ดูพื้นๆ นั่งคุยกับญาติโยมแบบง่ายๆ แต่คนเมียนมาเขาเคารพนับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากนะครับ และก็ค่อนข้างจะเชื่อฟังในคำแนะนำของพระสงฆ์มากด้วย

ที่น่าฉงนคือ พระสงฆ์เมียนมามีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลทางการเมืองในสังคมของเขามากอย่างน่าประหลาดใจ ความคิดอ่านในด้านสิทธิเสรีภาพของประชน ความเป็นเอกภาพในด้านเชื้อชาติ ศาสนา ส่วนมากในเมียนมามีแหล่งกำเนิดและแรงจูงใจมาจากเหล่าภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นครับ ผมสังเกตว่า บรรทัดฐานหรือจุดเริ่มต้นที่พระสงฆ์เมียนมากลายมาเป็นนักปลุกระดมเพื่อปรับเปลี่ยนอุดมการณ์เหล่านี้ สืบเนื่องมาจากความศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนาของชาวเมียนมา กล่าวง่ายๆ คือ พอพระพูดอะไรมาชาวบ้านมักจะเชื่อหมดและพร้อมจะปฏิบัติตาม เมื่อเป็นดังนี้ พวกผู้นำทางความคิดและการเมืองฆราวาสทั้งหลาย เมื่อมีอะไรอยากจะให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ อันดับแรกก็จะต้องเข้าไปเป่าหัวพระในวัดก่อน เมื่อสองปีที่แล้วผมไปแจกจ่ายข้าวที่รัฐหนึ่ง ช่วงนั้นเมียนมามีการรณรงค์ต่อต้านชาวมุสลิมโรฮีนจาอย่างมาก ก่อนแจกข้าวให้ประชาชนที่จัดขึ้นในวัดหนึ่ง ผมได้รับเชิญให้ขึ้นไปนมัสการเจ้าอาวาสวัดก่อน เห็นผู้นำระดับรัฐวันนั้นอภิปรายโน้มน้าวเจ้าอาวาสให้ช่วยกันต่อต้านคนต่างศาสนาอย่างเผ็ดร้อน แม้ว่าผมจะฟังภาษาเมียนมาไม่รู้เรื่อง แต่ผมก็เดาถูก เพราะหลังจากนั้นผมแอบกระซิบถามเพื่อนร่วมงานชาวเมียนมาที่ไปด้วยกัน เขาก็บอกคอนเฟิร์มว่าผมเข้าใจถูกแล้ว

ข้าวสารที่แอปเตอร์นำไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลนคราวนี้ เห็นทางคุณ เอ โก โก บอกว่าแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งคนละ 5 กิโลกรัม ซึ่งก็จะสามารถนำไปหุงกินได้ราวไม่ถึงเดือน หลังจากนั้นก็ไม่ทราบว่าพวกเขาจะเอาอะไรกินต่อไป แต่ที่ทราบ ในรัฐยะไข่นี้มีหน่วยงานช่วยเหลือระหว่างชาติอีกหลายหน่วย เช่น ดับเบิลยูเอฟพีหรือโครงการอาหารโลก ซึ่งช่วยเหลือได้มากกว่าเราเยอะเพราะเป็นระดับโลก ทุนหนา แล้วก็มียูนิเซฟ ซึ่งเป็นองค์กรช่วยเหลือเด็กๆ และก็คงหน่วยอื่นอีกมาก เพราะเห็นรถยนต์เขียนข้างรถว่า ยูเอ็น หรือองค์การสหประชาชาติวิ่งกันเกลื่อนเมือง มากกว่าที่อื่นๆ ที่เคยไปมา แต่องค์กรระหว่างชาติเหล่านี้เขาทำงานกันอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ผมไม่อาจหาข้อมูลได้ครับ

ชาญพิทยา ฉิมพาลี

chanpithya@apterr.org

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved