วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'มนัญญา'ลุยสุราษฯพรุ่งนี้ ยันใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นภูมิปัญญาวิถีชีวิตชุมชน

'มนัญญา'ลุยสุราษฯพรุ่งนี้ ยันใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นภูมิปัญญาวิถีชีวิตชุมชน

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 12.46 น.
Tag : น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ สวนมะพร้าว จ.สุราษฏร์ฯ
  •  

“มนัญญา ลุยสวนมะพร้าว จ.สุราษฏร์ฯ พรุ่งนี้ ยันมีสวนใช้ลิงเก็บมะพร้าว เป็นภูมิปัญญาและการแสดงวิถีชีวิตชุมชน หวั่นต่างประเทศแบนกระทิทำชาวสวนมะพร้าวกว่า2แสนครัวเรือน เดือดร้อน เร่งแจงกะทิกล่องส่งออก จากสวนผ่านการรับรองจีเอพีใช้คนเก็บทั้งหมด”

9 กรกฎาคม 2563 น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าวันที่10ก.ค.ตนจะลงพื้นที่จ.สุราษฏร์ธานี ไปดูหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ที่ได้ปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวมาต่อเนื่อง จนได้ต้นมะพร้าวต้นเตี้ย มีความสูงไม่เกิน10-12เมตร โดยเป็นที่นิยมของชาวสวนมะพร้าวนำพันธุ์ไปปลูกเพราะเก็บมะพร้าวได้ง่าย ซึ่งสวนมะพร้าวส่วนใหญ่ใช้คนเก็บ มากกว่าใช้ลิง ถ้าเทียบเป็นเป็นสัดส่วนแทบไม่ได้เพราะปัจจุบันมีสวนน้อยมากใช้ลิงเก็บมะพร้าว


“สื่อต่างชาติมาสัมภาษณ์จะให้พูดว่าประเทศไทย ไม่มีลิงเก็บมะพร้าว ถ้ารัฐมนตรี พูดไปถือว่าโกหก เพราะมันเป็นภูมิปัญญาของไทยเรา และปัจจุบันไม่มีลิงเก็บมะพร้าวมากมายมีเพียงบางสวน ที่มะพร้าวต้นสูงมาก ซึ่งลิงฉลาด รู้ว่าลูกไหนสุก แต่ระบบอุตสาหกรรม ใช้คนเก็บทั้งหมด โดยมีระบบจีเอพี รับรองมาตรฐานการผลิตที่ดีให้กับสวนมะพร้าวที่เป็นอุตสาหกรรมและส่งออก จากนี้พยายามให้รับรองมาตรฐานสวนมีระบบจีเอพี มากขึ้นเพื่อขยายพื้นที่มาตรฐานการผลิต”น.ส.มนัญญา กล่าว

น.ส.มนัญญา กล่าวว่าปัจจุบันต้นมะพร้าว ปรับปรุงพันธุ์เป็นต้นเตี้ย ตนลงไปเพื่อเตรียมพร้อมที่กระทรวงพาณิชย์ จะนำทูตต่างชาติลงไปดูสร้างความชัดเจนให้ต่างประเทศ เห็นว่าเราจริงใจไม่นิ่งนอนใจ แต่ทุกอย่างจะไปเปลี่ยน วิถีชีวิตชาวบ้าน ซึ่งเลี้ยงลิงเหมือนสัตว์เลี้ยงในบ้าน ผูกพันกันมานาน จะไปห้ามวิถีชีวิตชาวบ้านคงไม่ได้ จึงต้องแยกออกวิถีชาวบ้าน ไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการส่งออก 

“เร่งลงมาพื้นที่ร่วมพูดคุยสร้างความเข้าใจ ร่วมทั้งหน่วยงานและเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในระบบอุตสาหกรรม กว่า2แสนครัวเรือน ที่ไม่ควรต้องเดือดร้อน กับการแบนกะทิกล่องจากไทย จะนำแนวทางมาเสนอกระทรวงพาณิชย์ ต้องแยกอุตสาหกรรม กับภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ยังใช้ลิงเก็บมะพร้าวจะเป็นการแสดงและท่องเที่ยววิถีชุมชน ซึ่งจะนำมารายงานต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯว่าการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้ ในแนวทางระบบเกษตร อุตสาหกรรม และการชี้แจงกับต่างประเทศ”น.ส.มนัญญา กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved