วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิชาการยัน'บอส อยู่วิทยา'ซิ่งมา 177 กม.ต่อชม.จริง  'ทนายเดชา'เชื่อจากนี้พลิกคดีได้!

นักวิชาการยัน'บอส อยู่วิทยา'ซิ่งมา 177 กม.ต่อชม.จริง 'ทนายเดชา'เชื่อจากนี้พลิกคดีได้!

วันพุธ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 16.28 น.
Tag : บอส กระทิงแดง บอส อยู่วิทยา วรยุทธ อยู่วิทยา อัยการสั่งไม่ฟ้อง
  •  

รายการโหนกระแสวันที่ 29 ก.ค. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 ยังเกาะติดคดี "นายวรยุทธ อยู่วิทยา" หรือ "บอส" ทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง ขับรถชน "ด.ต. วิเชียร กลั่นประเสริฐ" เสียชีวิต ผ่านไป 8 ปี หลุดทุกคดี สังคมเกิดคำถามจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของกฎหมายไทยหรือไม่

โดยเปิดใจสัมภาษณ์ "ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์" อาจารย์ประจำวิชาภาคฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "นายศรีสุวรรณ จรรยา" เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และ "ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์"


ประเด็นคือล่าสุดมีพยานใหม่สองคน บอกว่ารถคุณ 70 กว่าไม่ถึง 80 ด้วยซ้ำ จากที่อาจารย์ตรวจสอบครั้งแรก 177?

ดร.สุธน : "ตอนนั้นมีข้อตกลงกันว่าในกรณีที่เขาต้องการนักวิชาการไปช่วย ก็ให้เชิญนักวิชาการไปร่วมได้ นั่นเป็นสาเหตุที่ผู้กำกับที่ดูแลคดีนี้และในเรื่องพิสูจน์หลักฐาน ท่านโทรมาตอนเช้าว่าบ่ายนี้ว่างมั้ย ให้ไปดูสถานที่เกิดเหตุด้วยกันหน่อย ผมก็ไปด้วย ประเด็นคือเราไปดูแล้วมีวงจรปิดที่เดียว จริงๆ พยายามหาหลายที่ แต่ที่ได้เป็นวงจรปิดโชว์รูม ก็มีการเห็นว่าจักรยานยนต์วิ่งผ่านไป จะเห็นว่าหลังจากรถจักรยานยนต์ มีรถอีกสองคัน มีรถกระบะ 1 คัน รถเก๋ง 1 คัน หลังจากนั้นก็มีรถวิ่งมาด้านเลนขวาสุดด้วยความเร็ว"

"ทีนี้โจทย์ของเราคือต้องการวัดความเร็วรถยนต์ในเฟรมนี้ในรูปในกล้องวงจรปิดรูปนี้รูปเดียว เพราะเราไม่สามารถหาอย่างอื่นได้ หลักการวัดความเร็วคือต้องหาระยะห่างจุดเคลื่อนที่หารด้วยเวลา วิธีคือต้องหาระยะห่างกับเวลา เวลาเป็นโจทย์ที่ง่ายกว่า เนื่องจากว่ากล้องวงจรปิดตรงนี้มีเวลาอยู่ที่มุมข้างบนจะเห็นเลย 34.15 16 และ 17 ถ้าสังเกตคือสังเกตว่าตอนเข้ามา 17 พ้นไปยังไม่ 18"

เอาจุดนี้ไปคำนวณเหรอ?

ดร.สุธน : "มันต้องหาระยะห่างด้วย ถ้าเราฟรีซภาพถนนว่างๆ ไว้ก่อน ผมให้ตร.พิสูจน์หลักฐานท่านนึง ตอนนี้ท่านเป็นพ.ต.ต.แล้ว ให้ท่านไปยืนตรงต้นไม้สองต้น ต้นใหญ่กับต้นเล็ก ต้นเล็กนำแนวสายตาไปที่จุดที่รถเข้ามาพอดี ผมให้ตร.ท่านนึงไปยืนตรงริมเกาะกลางถนน ด้านที่อยู่ตรงกับต้นไม้พอดีในแนวสายตาเดียวกัน ตอนนั้นเป็นเวลากลางวันเราจะเห็นชัดกว่า อีกคนยืนตรงมุมกรอบด้านซ้ายมือของภาพ ติดอยู่กับกรอบเลย แล้วให้เอาสายวัดไปวัดความยาวตามแนวเส้นเกาะข้างเกาะกลางถนน ผมนั่งดูวงจรปิดอยู่ข้างใน ระยะทางที่ได้ 31 เมตร เราก็เอาตัวเลขนี้เป็นตัวหลัก เนื่องจากระยะทางรถเข้ามาถึงภาพ ก่อนพ้นภาพบวกลบนิดหน่อยไว้ประมาณ 2 เมตร ระยะทางที่รถวิ่งได้คือ 31 เมตร ทีนี้เรามาดูตัววงจรปิด ซึ่งเป็นวงจรปิดที่ถ่ายภาพ 25 เฟรมต่อวินาที ต้องนับทีละเฟรม"

พิสูจน์กันเป็นเฟรม ในระยะที่รถวิ่งหรือภาพที่เราถ่ายในกล้อง จะมีเฟรม 1 2 3 4?

ดร. สุธน : "เราก็เอากล้องเข้าโปรแกรม แล้วจะแยกเป็นเฟรมๆ ออกมา ก็ตัดสินใจว่าเฟรมไหนคือเฟรมที่รถเข้ามา ผมก็เลือกระยะทางที่แสงสว่างเข้ามาจนเต็มคัน จนถึงจุดที่ตร.ยืน ท้ายรถพ้นขอบด้านซ้ายมือ จำได้เลยว่าตอนเลื่อนพลิกกลับไปกลับมาหลายรอบ ว่าจะเอาเฟรมไหนเป็นจุดเข้า เอาเฟรมไหนเป็นจุดออก ถ้าเทียบตั้งแต่วันแรกที่ไปทำ เรารู้นิดหน่อยแล้วว่า 31 เมตร และใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ตัวนี้คือ 108 กิโลเมตรต่อชม. หยาบๆ เลยจากวันแรกที่ดู ฉะนั้นตอบได้ทันทีว่ายังไงเกินร้อยแน่"

สมมติถ้าเขาหลุดเฟรมไปแล้ว บังเอิญบอสยกขาออก แล้วรถชะลอลง?

ดร.สุธน : "ก็เป็นไปได้ เพราะอยู่นอกจากสิ่งที่เราเห็น แต่ก็มีเหตุผลอื่นมาประกอบเหมือนกัน พอได้ตรงนี้เราก็คำนวณละเอียด เวลา 31 ตั้งหารด้วยช่วงเวลา ทีนี้เฟรมของนาฬิกา 25 รูปต่อ 1 วินาที ฉะนั้น 1 เฟรมจะพลาด  อยู่ .04 ซึ่งสำคัญ มันจะเป็นตัวบอกว่าตัวเลขที่เราได้ต่ำสุดเท่าไหร่ สูงสุดเท่าไหร่ ฉะนั้นผมให้ความผิดพลาดที่ผมวัดได้เลือกเฟรมผิดอย่างน้อย 2 เฟรมตอนตั้งต้น ความคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ .08 เราก็เอาสองอันนี้มาคำนวณ หนึ่งคือเอา 31 หารช่วงเวลาที่ได้ .36 ก็ได้ออกมา 49 เมตรต่อวินาที ถ้าคูณด้วย 3.6 ก็เป็นกิโลเมตรต่อชม. ก็ได้ 177 กิโลเมตรต่อชม."

เป็นสิ่งที่ตอนแรกนำเข้าสู่สำนวนด้วย?

ดร.สุธน : "ต้องเล่าให้ฟังก่อน ผมคำนวณความคลาดเคลื่อนด้วย บวกลบ 17 รถคันนี้วิ่ง 160-184 ผมก็ทำบันทึกตัวนี้เป็นบันทึกส่วนตัว เวลาเราทำเราไม่ได้มานั่งทำในที่ประชุม เพื่อความแน่ใจก็แยกกันทำ ผมก็ทำของผมแล้วเสนอเข้าไป เขาก็เอาสองอันไปแมตซ์กันว่าตรงกันมั้ย ซึ่งตอนนั้นก็สอดคล้องกันกับพิสูจน์หลักฐาน เขาได้ 174 ของเราได้ 177 แต่บวกลบ 17 อยู่ที่ 160-180 กว่า ลักษณะการทำงาน เวลาพิสูจน์หลักฐานเขาออกรายงานก็ออกรายงานในนามพิสูจน์หลักฐาน"

มีหลักฐานยืนยันมั้ยว่าเราคุยกัน?

ดร.สุธน : "มีครับ คือสมัยนั้นใช้โทรศัพท์เป็นหลัก ไม่ได้ใช้แมสเสจ ผมจำได้ว่าผมโทรคุยกับท่านนึงที่อยู่ในนั้นว่าได้ผลใกล้เคียงกันมั้ย ซึ่งก็ใช่ หลังจากส่งไปเขาก็ไปกระบวนการต่อไป ผมก็ไม่ทราบแล้ว เพราะส่วนของผมก็จบตรงนี้"

ล่าสุดประเด็นที่เกิดขึ้น มีการคำนวณหม่ว่าความเร็วแค่ 70 กว่าๆ มีหลายสูตรเหรอ?

ดร.สุธน : "สูตรมีสูตรเดียว ระยะทางหารเวลา แต่การได้มาซึ่งระยะห่างและเวลาที่ใช้อาจแตกต่างกัน เช่นผมใช้การวัดจริง แล้วพยายามวัดให้ระยะทางมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งได้ความแม่นยำที่มากขึ้น เราก็ใช้การวัดจริงจากตัวถนน แต่วิธีอื่นอาจได้ระยะทางอื่นมา ด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม ผมก็ไม่ทราบ แต่เวลาน่าจะไม่มีปัญหา เพราะเวลาถูกล็อกไว้ด้วยกล้องวงจรปิด ตอนที่ผมทำใช้วิธีต่างกัน ผมใช้วิธีหยาบกว่าด้วยซ้ำ ผมเอาเวลาบนกล้องวงจรปิดที่ถ่ายมาได้มาลบกันตรงๆ แต่พิสูจน์หลักฐานเขาใช้วิธีนับเฟรม ซึ่งเขาละเอียดกว่า"

คุณศรีสุวรรณ 9 ข้อที่ตั้งขึ้นมาจะไปร้องใคร?

ศรีสุวรรณ : "ตั้งแต่วันแรกที่ผมออกแถลงการณ์ 4-5 วันก่อน เรื่องนี้ต้องให้ทางป.ป.ช. ซึ่งเคยรับเรื่องไต่สวน ได้มีการชี้มูลความผิด ตร. 7 นายไปแล้ว แต่พอมาถึงมืออัยการ อัยการสั่งไม่ฟ้อง มันก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่าคดีที่โดยหลักแล้วไม่น่าจะพลิก ผู้ถูกกล่าวหาไม่น่าจะถูกถอนแจ้งความ หรือถอนหมายจับอย่างนี้ มันเลยทำให้ผมจำเป็นต้องประมวลข้อมูลใหม่ทั้งหมด และให้ทางป.ป.ช. ไต่สวนเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ร้องแค่ตร. ล่าสุุดต้องร้องอัยการด้วยเพราะเข้ามาเกี่ยวของ ซึ่งผมเชื่อว่าเรื่องนี้สำคัญ เพราะกระทบกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จะปล่อยให้กลายเป็นไฟไหม้ฟางหรือคลืนกระทบฝั่งนี่ไม่ดีแน่ ผมคิดว่ากระบวนการตรงนี้จำเป็นต้องให้องค์กรอิสระเข้ามาทำหน้าที่ 9 ประเด็นที่ผมนำเสนอ ผมว่าเป็นประเด็นที่สังคมไทย มีอยู่ในใจและมีข้อสงสัย"

9 ประเด็นมีเรื่องอะไรบ้าง?

ศรีสุวรรณ : "เรื่องแรกคือจากการคำนวณความเร็วของรถ จาก 177 กิโลเมตรต่อชม. อยู่ๆ กลายเป็นแค่ 79 กิโลเมตรต่อชม. มันหายไปไหนเป็นร้อยกว่ากิโลเมตร หรือถูกแปรเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุเป็นอย่างอื่นไปหรือไม่ ต้องให้ชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกหรือความคิดเห็นธรรมดา สองพยานบุคคล ถ้าดูในสำนวน เข้าใจว่าพยานสองคนเคยถูกนำมาสอบสวนแล้วในอดีต แต่ข้อมูลการสอบสวนอาจไม่ตรงกับสิ่งที่ให้หลังล่าสุดนี้ เขาอาจจะพลิกหรือเปล่า"

เขาลืมหรือเปล่า เพิ่งนึกได้ใน 7 ปีผ่านมาหรือเปล่า?

ศรีสุวรรณ : "คนก็สงสัย ว่าเหตุที่เกิดขึ้น เวลา 05.34 น. พยานสองคนมียศฐาบรรดาศักดิ์เหมือนกันไปทำอะไรในจุดเกิดเหตุดังกล่าว อันนี้เป็นข้อสงสัย ในกล้องวงจรปิดก็ระบุว่ารถนำหน้ารถใคร รถตามหลังรถใคร แล้วเป็นรถกระบะ ซึ่งปกติคนเหล่านี้ขับรถกระบะหรือไม่ ซึ่งสำคัญคือจุดที่เกิดเหตุ กับจุดที่นายดาบวิเชียรเสียชีวิต มันอยู่ไกลกัน 160 เมตร อัตราความเร็วรถถ้า 79 กิโลเมตรต่อชม.ผมว่ามันไปไม่ถึงหรอกครับ แต่สมรรถนะของรถ ใช้ความเร็ว 177 กิโลเมตรต่อชม. ยังไงก็ไปถึง 160 กว่าเมตร และข้อสงสัยอีกประการคือการที่เรื่องนี้ส่งให้รองอัยการสูงสุดเป็นคนทำความเห็นทางคดี มันน่าจะขัดต่อระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีปี 47 ซึ่งเขากำหนดว่าถ้าเป็นคดีที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน เป็นคดีที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของชาติ ต้องให้อัยการสูงสุดเป็นคนสั่งคดีเท่านั้น"

ได้ยินมาว่าเขาได้รับการมอบหมาย?

ศรีสุวรรณ : "แต่ในกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นอัยการสูงสุดเท่านั้น"

คนดูแลกฎหมายคุณบอสร้องขอความเป็นธรรม ร้องไปหลายครั้ง ถูกตีตกไปเรื่อยๆ สุดท้ายไปร้องกรรมาธิการสมัยนั้นคือสมัยยุคคสช. ปรากฎว่าหลังจากนั้นมีท่านนึงออกมาบอกว่ามีมาร้องจริงแต่ไม่ได้รับ ตัดตกไปแล้ว?

ศรีสุวรรณ : "คือการร้องความเป็นธรรม ทำได้ในทางกฎหมาย แต่ต้องร้องเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นร้องตร. ร้องอัยการ แต่นี่กลับไปร้องกรรมาธิการซึ่งไม่เกี่ยวกับสำนวนคดีใดๆ ทั้งสิ้น กรรมาธิการอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เรื่องทั้งหมดนี้อยู่ฝ่ายตุลาการ เรื่องนี้เป็นเรื่องฝ่ายตุลาการในการพิจารณาดำเนินคดี ที่เริ่มต้นจากตร. มาอัยการ แล้วส่งศาล แล้วจะมาก้าวล่วงองค์กรกัน ผมว่ามันไม่ถูก ไม่งั้นประชาชนที่มีปัญหาเรื่องนี้ก็ไปร้องกรรมาธิการแล้วให้กรรมาธิการทำความเห็นส่งมาที่ตร. อัยการทุกคดีในประเทศไทย มันจะไม่ทำให้กระบวนการยุติธรรมของเราวุ่นวายไปหมดเหรอ"

ข้อต่อไป?

ศรีสุวรรณ : "ประเด็นต่อไปคือเรื่องกรณีพยานสองคน มีบางคนมียศฐาไปมีส่วนเกี่ยวพันกับเครือญาติผู้ถูกกล่าวหาหรือเปล่า นี่ก็เป็นหัวใจสำคัญเหมือนกัน เรื่องนี้ผมคิดว่าต้องมีการสอบสวนในเชิงพยานด้วย หากพยานดังกล่าวถ้าให้การเป็นเท็จ ต้องจัดการด้วย"

เรื่องสารตัวนึงที่ไปเจอ?

ศรีสุวรรณ : "นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนคดีนี้ เรื่องพบสารเสพติดในร่างกายผู้ถูกกล่าวหาและได้รับการยืนยันจากรพ.รามาฯ แล้วไม่ปรากฎในสำนวนคดี เรื่องนี้ถ้าหยิบยกนำมาพิจารณาใหม่ ก็ถือว่าเป็นหลักฐานใหม่ สามารถเข้าไปสู่กระบวนการรื้อฟื้นคดีตามป.วิอาญามาตรา 147 ได้เลย ประเด็นต่างๆ เป็นประเด็นที่สังคมสงสัยกันมากมาย ทั้งเรื่องการประวิงเวลา การทำให้คดีเยิ้นเย้อ มีการเลื่อนคดีไปถึง 7 ครั้ง ซึ่งโดยปุถุชนแล้วคงไม่มีใคร หรือแม้แต่ตุลาการเจ้าของสำนวน หรืออัยการเจ้าของคดี หรือแม้แต่พนักงานสอบสวนจะไม่ยอมให้มีการประวิงคดี หรือเลื่อนคดีได้ถึง 7 ครั้ง ถ้าไม่มีการสมยอมหรือเอื้อประโยชน์กัน ผมพูดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎอยู่แล้ว"

เรื่องนี้จะมีผลอะไรมั้ย?

ทนาย : "เอาส่วนอาจารย์ก่อน อาจารย์ทำการวิเคราะห์ความเร็วโดยดูจากกล้องวงจรปิด ใช้วิธีการดูจากระยะทาง และเวลา มันสอดคล้องกับศาลฎีกา ที่เพิ่งตัดสินไปเร็วๆ นี้ กรณีรถฟอร์จูนเนอร์กับปอร์เช่นชนกันบนทางด่วนโทรลเวย์ ซึ่งศาลก็รับฟังวิธีการของอาจารย์ ถือว่าเป็นไปตามคำตัดสินของศาลฎีกาล่าสุด การวิเคราะห์ของอาจารย์ถือว่าถูกต้องแล้ว"

การคำนวณใหม่ล่ะ?

ทนาย : "มันไม่ต้องไปคำนวณใหม่ ยึดไปตามวิธีการอาจารย์เลย สองมุมไม่เหมือนกัน จริงๆ ไม่ต้องแล้ว เราเป็นตำรวจ เป็นอัยการ ต้องยึดคำตัดสินศาลสูง ถ้าไม่ยึดเราก็ไม่ได้อยู่ภายใต้กระบวนการยุติธรรม"

เรื่องนี้สามารถยื่นเรื่องได้มั้ย?

ทนาย : "แน่นอน อะไรที่ไม่อยู่ในสำนวนอย่างที่อาจารย์พูด อย่างความเห็นอาจารย์เป็นแค่ที่ปรึกษา สมมติอัยการสั่งสอบอาจารย์เพิ่ม คดีก็กลับมาเหมือนเดิมได้เลย เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ใช้ป.วิอาญา มาตรา 147 ได้เลย มีพยานหลักฐานใหม่และสำคัญ ถ้าสอบพยานฝั่งอาจารย์ เท่าที่ฟังยังไม่เคยให้การกับพนักงานสอบสวนเลย ก็ถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ ก็กลับคำสอบสวนใหม่"

ในมุมคุณศรีสุวรรณติดใจข้อสงสัยเรื่องการตรวจสารเสพติดในร่างกาย?

ทนาย : "ทางท่านศรีสุวรรณ เป็นแง่เอาข้าราชการมาลงโทษ ตามมาตรา 157 และ 200 ช่วยผู้ต้องหา อันนี้เป็นการเสริมเอาอาจารย์มาสอบเพิ่ม ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้คณะกรรมการเร่งสรุปว่ามีอะไรต่างๆ มีพยานหลักฐานใหม่ ฟื้นคดีกลับมาใหม่ มีส่วนช่วยกัน เป็นเรื่องที่ดี เท่าที่คุยกับตร. อัยการ ผลสรุปคือต้องมีพยานหลักฐานใหม่ รื้อฟื้นคดีใหม่ และกลับมาเหมือนเดิม เพราะคดีมันแรงเหลือเกิน"

พอมีหลักฐานใหม่เข้ามา เช่นพยานสองคนที่ยื่นเรื่องเข้ามา อัยการไม่มีอะไรไปหักล้างเหรอ?

ทนาย : "เท่าที่คุยกับเพื่อนๆ อัยการ ไม่ใช่ชุดนี้นะ เขาบอกว่าช่วงนั้นเป็นช่วงคสช. มีการปฏิวัติใหม่ๆ ฉะนั้นอำนาจอะไรต่างๆ ของคสช. ค่อนข้างมาก เรื่องการเมืองทำให้อัยการหวั่นๆ อัยการระดับอาวุโสขนาดนี้เขาต้องรู้ว่าพยานบุคคล 7 ปีผ่านไปที่ให้การไม่มีน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อถือ แต่ที่คุย เขาน่าจะเกรงอำนาจทางการเมือง อาจโดนเรื่องอะไรต่างๆ เรื่องงบประมาณ เรื่องแต่งตั้งโยกย้าย อะไรหลายๆ อย่าง เท่าที่ทราบมาเป็นในรูปนั้น เขารู้อยู่แล้ว  คนเป็นอัยการต้องรู้อยู่แล้วผ่านไป 7 ปีมาให้การมันไม่น่าเชื่อถือ คุณจะไปจำอะไรได้"

วันนี้มีหลายมุมที่มองเป็นมุมเดียวกัน ว่าต้องมีการร้องหรือตั้งคณะกรรมการสอบ เรื่องที่เกิดสุดท้ายสามารถพลิกได้มั้ย?

ทนาย : "ถ้าอยากพลิกง่ายนิดเดียว ฟังรองโฆษกอัยการแถลง เมื่อวานเขาพูดชัดอยู่แล้ว ถ้าใครเป็นนักกฎหมายอาชีพจะรู้เลยว่าเดี๋ยวต้องใช้มาตรา 147 มีพยานหลักฐานใหม่และสำคัญก็กลับมาเหมือนเดิม ไม่มีทางอื่นเชื่อผมเถอะ ส่วนของท่านศรีสุวรรณเป็นเรื่องเสริม ลงโทษคนทุจริต เอาพยานหลักฐานเท็จ ทำพยานหลักฐานเท็จ นักวิชาการให้การเท็จก็เอาติดคุกติดตะราง"

ศรีสุวรรณ : "ถูกต้องครับ เป็นกระบวนการที่เราต้องการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องระมัดระวังในการทำสำนวนคดี จริงๆ โดยช่องของกฎหมายมีช่องเดียว คือป.วิอาญามาตรา 147 ถ้ามีหลักฐานใหม่ที่สำคัญ ก็สามารถนำมารื้อฟื้นคดีได้"

ต้องมีการไปแย้งอีกทีเรื่องความเร็ว?

ดร.สุธน : "ตรงนี้ผมออกความเห็นไม่ได้ นอกจากข้อกฎหมายเขาว่า เคยมีพนักงานสอบสวนเอาคดีมานั่งสอบปากคำ เราก็ให้ไป ก็เคยทำ"

สุดท้ายเรื่องตอนแรกที่เปิดเผยออกมาตามสื่อต่างๆ ในฐานะที่ครั้งนึงเคยลงไปดูเรื่องนี้ด้วย ตกใจมั้ย?

ดร.สุธน : "ตกใจมั้ยคงไม่ เราก็ต้องเผื่อใจไว้ว่าเราเป็นที่ปรึกษา ทุกอย่างอยู่ที่การหักล้างหลักฐานกัน แล้วดุลยพินิจทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ผม อยู่ที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ"

ศรีสุวรรณ : "รอบนี้ต้องเอาคนที่เกี่ยวข้องมาลงโทษให้ได้ ไม่งั้นจะไม่เป็นเยี่ยงอย่าง"  

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง

โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ

สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved