วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘กรมชลฯ’เปิด 4 โครงการ กักเก็บน้ำลำน้ำยม-ทุ่ม4พันล้าน แก้แล้งท่วมยั่งยืน

‘กรมชลฯ’เปิด 4 โครงการ กักเก็บน้ำลำน้ำยม-ทุ่ม4พันล้าน แก้แล้งท่วมยั่งยืน

วันอาทิตย์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 10.32 น.
Tag : กรมชลประทาน น้ำท่วม ลำน้ำยม แล้ง
  •  

‘กรมชลฯ’เปิด 4 โครงการ กักเก็บน้ำลำน้ำยม-ทุ่ม4พันล้าน แก้แล้งท่วมยั่งยืน

15 พฤศจิกายน 2563 นางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอาคารบังคับน้ำบ้านบานชื่น(ประตูระบายน้ำเวียงเชียงชื่น) อำเภอศรีสัชนาลัย ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีประชาชนเข้ารับฟังกว่ากว่า 300 คน


นางสาวพัชรอร กล่าวว่า ได้เริ่มศึกษาโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปี2561 ทั้งจังหวัดแพร่ และสุโขทัย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาในเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค ทำการเกษตรของประชาชน การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสามารถบริหารจัดการน้ำที่ดี เป็นความจำเป็นช่วยลดความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้ยั่งยืน โดยมีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว5ครั้ง ในวันนี้ครั้งสุดท้ายรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อสรุปผลและนำเสนอมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

นายกองโท พยุงศักดิ์ สุวรรณโน นายอำเภอศรีสัชนาลัย กล่าวว่าตนได้รับราชการมาที่นี้กว่า30ปี เห็นสภาพแม่น้ำยม  เวลาน้ำหลากมารวดเร็วไม่มีที่กักเก็บไว้ซึ่งระยะทางน้ำไหลผ่านกว่า80กม.มีปัญหามากคือน้ำแล้ง ขาดน้ำใช้เพื่อการเกษตร น้ำกินใช้กระทบทุกพื้นที่ แหล่งน้ำดิบผลิตประปาที่มีที่เดียวคือแม่น้ำยม ต้องใช้กระสอบทรายทำทำนบชั่วคราวเพื่อกักน้ำไว้เป็นช่วงๆ เมื่อกรมชลประทาน มาสำรวจเป็นโอกาสดีช่วยเหลือชาวบ้านได้จริง ช่วงแล้ง2-3ปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาแย่งน้ำ โดยครม.สัญจร ท่านนายกรัฐมนตรี  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มารับฟังปัญหา ปรับโครงการจากเขื่อนยางเป็นอาคารบังคับน้ำกักเก็บน้ำไว้ในแม่น้ำยม และสามารถผันน้ำเข้าในแก้มลิง กระจายน้ำเข้าพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ตนเป็นห่วงปีนี้น้ำในลำน้ำไม่ค่อยมี กลัวปัญหาแล้งหนักกว่าทุกปี ถ้าโครงการสำเร็จโดยเร็วจะช่วยได้มาก แก้ผลกระทบได้หลายตำบลยังเดือดร้อน ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่จะมีเรื่องปลาว่ายน้ำมาวางไข่ ได้มีมาตรการแก้ไขร่วมกับกรมประมง และบางรายอาจเปลี่ยนอาชีพให้มาทำเกษตร

“ชาวบ้านรอการแก้ไขปัญหาลุ่มน้ำยมมาหลายรัฐบาล จนมาเกิดผลสัมฤทธิ์ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งพวกที่ต่อต้านไม่เคยมาช่วยเหลือประชาชน” นายอำเภอศรีสัชนาลัย กล่าว

ด้านนายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ได้นำสื่อมวลชนดูพื้นที่สร้างอาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย พบปะเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบเวนคืนในโครงการ ว่ากรมชลประทาน พยายามทำแหล่งกักเก็บน้ำตลอดในลุ่มน้ำยม และลำน้ำสาขาตอนบนหลายสาขา เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ตัดยอดน้ำก่อนเข้ามาแม่น้ำยม โดยปริมาณน้ำลุ่มน้ำยมเกือบ3พันล้านลบ.ม.ขนาดใหญ่อันดับ3 ของลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งอาคารบังคับน้ำ 4แห่ง จะเก็บได้60ล้านลบ.ม.ในช่วงแล้ง และช่วงน้ำหลากจะแบ่งน้ำไว้ได้ด้วย ระยะเวลาก่อสร้าง3-4ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ นำข้อมูลไปวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม เริ่มก่อสร้างภายในปี2566 ผลกระทบประชาชนไม่มาก ในส่วนผลกระทบพันธุ์ปลาในฤดูวางไข่ จะทำบันไดปลาโจนทุกแห่ง ที่มีความเหมาะสมกับระบบนิเวศ รวมทั้งกรมประมง สามารถผลิตพันธุ์ปลาได้ปีละหลายล้านตัว

“พื้นที่8หมื่นกว่าไร่ รับประโยชน์จาก4โครงการ งบก่อสร้างกว่า4พันล้านบาท ทั้งนี้จะเดินหน้าพัฒนาระบบชลประทาน ให้มีประสิทธิภาพขยายพื้นที่รับประโยชน์ได้อีกทั้งในช่วงฤดูและ ช่วงน้ำหลาก พร้อมกับวิเคราะห์พื้นที่สร้างเขื่อน อ่างขนาดกลาง ขนาดเล็ก ในลุ่มน้ำสาขา เพื่อหน่วงน้ำตอนบนก่อนไหลเข้าแม่น้ำยม ประกอบกับการจัดการควบคุมบริหารน้ำตามช่วงเวลาที่เหมาะสม และนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เช่นการสูบน้ำ ด้วยระบบไฮโดรโฟ โซลาเซลล์ เพื่อกระจายน้ำไปยังแก้มลิง นำน้ำหลากไปกักเก็บน้ำไว้แหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ประชาชนได้มีน้ำใช้อย่างพอเพียง”นายสุรชาติ กล่าว

นายณรงค์ หอมหวาน เป็นเกษตรกรสวนผลไม้ กล่าวว่าชาวบ้านทุกราย อยากได้แหล่งน้ำ ที่ผ่านมา มีปัญหาหนักมาก ปลายปีไม่มีน้ำใช้โดยเฉพาะการเกษตร เดือดร้อนทุกปี ตนยินดีเสียสละที่ดินทำโครงการ ซึ่งขอให้มาสร้างโดยเร็วเพราะปีนี้ยิ่งแล้งมากขึ้นน่ากลัว

สำหรับโครงการบันไดการจัดการน้ำลำน้ำยม อาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น อ.ลอง จ.แพร่ ความจุ18.35ล้านลบ.ม. ก่อสร้างในช่องลัด ระยะเวลา3ปี พื้นที่ชลประทาน38,196ไร่ ค่าก่อสร้าง1,837ล้านบาท

อาคารบังคับน้ำบ้านหาดอ้อน อ.วังชิ้น จ.แพร่ ความจุ25.80ล้านลบ.ม. ระยะเวลาสร้าง3ปี พื้นที่ชลประทาน32,582ไร่ ค่าก่อสร้าง1,931.47ล้านบาท

อาคารบังคับน้ำบ้านบานชื่น อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ความจุ9.35ล้านลบ.ม.ก่อสร้าง3ปี พื้นที่ชลประทาน3,541ไร่ ค่าก่อสร้าง1,272.94ล้านบาท

อาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย อ.ศรัสัชนาลัย จ.สุโขทัย ความจุ9.35ล้านลบ.ม.ระยะเวลาก่อสร้าง4ปี พื้นที่ชลประทาน29,518ไร่ ค่าก่อสร้าง1,143.53ล้านบาท

นอกจากนี้โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูระบายน้ำวัดพระธาตุแหลมลี่ ซึ่งถือเป็นพระธาตุหนึ่งใน8หมื่น4พันพระธรรมธาตุพระพุทธเจ้า โดยเจ้าอาวาสวัด กล่าวว่ามีตำนานคำทำนายเขียนไว้เป็นภาษาล้านนา 4 บรรทัด ว่าในกาลครั้งหน้าจะมีเจ้าพระยา เอาดินออกจะสร้างหัวสะพาน ลำน้ำยม ความลึก18วา ขุดลงไปได้กว้าง32วา สร้างสะพานข้าม สร้างประตูเวียง มีน้ำล้อมรอบเป็นเหมือนสระอโนดาษ  ซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อว่ามาตรงกับโครงการของกรมชลประทาน ที่จะมาสร้างทำนบกั้นน้ำ สอดคล้องคำทำนายทุกประการ

นายวิฑูยร์ สกุลบุญแก้ว นายกเทศมนตรี อ.ลอง จ.แพร่ กล่าวว่าลำน้ำยม ไม่มีเขื่อนจึงเกิดปัญาหาน้ำหลาก น้ำแล้งทุกปี ทั้งอ.ลอง อ.วังชิ้น ไปจนถึงจ.สุโขทัย เวลาน้ำหลากมาท่วมหมดแล้วก็นั่งมองน้ำผ่านหายไป พอช่วงหน้าแล้งประชาชนลำบากมากไม่มีน้ำทำการเกษตร น้ำผลิตประปา ต้องทำฝายกั้นน้ำปีละ2รอบ และตอนนี้น้ำไหลมาน้อยไม่พอใช้ ชาวบ้านต่างรอคอยรัฐบาล มาสร้างทำนบประตูระบายน้ำในลุ่มน้ำยม ถ้าได้ประตูระบายน้ำ 6ตำบลจะได้รับประโยชน์มากมาย สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เมืองประวัติศาสตร์ สอดคล้องกับตำนานพระธาตุแหลมลี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุ8หมื่น4พันองค์ ที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล รวมทั้งมีผลไม้รสเลิศ

นายธนะชัย วิริยะสกุลวานิช เจ้าของลานมัน ที่ได้รับผลกระทบ ว่าเราอยากเห็นประตูระบายน้ำให้เกิดขึ้นให้ได้พื้นที่20-30ไร่ ของตนโดนผลกระทบ แต่ถ้าไม่เสียสละ จะเกิดความเจริญขึ้นไม่ได้ สิ่งนี้จะอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน เราคิดประโยชน์ไปข้างหน้า เพราะชาวบ้านลำบากมากหน้าแล้งไม่มีน้ำ การเกษตร แห้งหมด น้ำประปา ไม่มีน้ำ หลายหมู่บ้าน จำเป็นจริงๆ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘เชียงของ’อ่วม! ‘ฝนตกหนัก’น้ำระบายไม่ทัน ท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ห้วยซ้อ ‘เชียงของ’อ่วม! ‘ฝนตกหนัก’น้ำระบายไม่ทัน ท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ห้วยซ้อ
  • ลาม‘เชียงราย’ ฝนกระหน่ำหนัก น้ำท่วม15อำเภอ ลาม‘เชียงราย’ ฝนกระหน่ำหนัก น้ำท่วม15อำเภอ
  • ‘น่าน’ประชุมด่วน วางแนวทางแก้ ดินโคลน-น้ำท่วมกระทบ‘โรงพยาบาลเวียงสา’ ‘น่าน’ประชุมด่วน วางแนวทางแก้ ดินโคลน-น้ำท่วมกระทบ‘โรงพยาบาลเวียงสา’
  • ตำบลสะตอท่วมแล้ว! หลัง\'ฝนตกตราดทั้งคืน\' น้ำล้นคลอง-เอ่อท่วม4หมู่บ้าน ตำบลสะตอท่วมแล้ว! หลัง'ฝนตกตราดทั้งคืน' น้ำล้นคลอง-เอ่อท่วม4หมู่บ้าน
  • \'พระราชันย์\'ท้าสึก! ปัดมีสัมพันธ์สวาท\'สีกากอล์ฟ\' แค่โอนเงินช่วยน้ำท่วม 'พระราชันย์'ท้าสึก! ปัดมีสัมพันธ์สวาท'สีกากอล์ฟ' แค่โอนเงินช่วยน้ำท่วม
  • \'น่าน\'อ่วม! ฝนตกหนักน้ำหลากท่วมหลายพื้นที่ ถนนสาย 101 รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ 'น่าน'อ่วม! ฝนตกหนักน้ำหลากท่วมหลายพื้นที่ ถนนสาย 101 รถเล็กไม่สามารถผ่านได้
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved