วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : เสน่ห์อีสาน เล่าขานไม่รู้จบ

วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : เสน่ห์อีสาน เล่าขานไม่รู้จบ

วันอังคาร ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย
  •  

พานั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาท่องเที่ยวทางตัวอักษรไปแล้วเกือบทุกภาค สัปดาห์นี้ผู้เขียนขอพาคุณผู้อ่านมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานกันบ้าง โดยขอยกบางช่วงบางตอนจากหนังสือชุมชุนดั้งเดิม ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ ของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเขียนสรุปใจความสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นภาคอีสานจากอดีตไว้อย่างดีมาก


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในบริเวณที่ราบสูงมีเทือกเขาล้อมรอบ สภาพคล้ายแอ่งกระทะ เทลาดจากที่สูงทางตะวันตกลงสู่ที่ต่ำทางด้านตะวันออก แบ่งเป็น 2 แอ่งคือ แอ่งสกลนคร ประกอบด้วยพื้นที่ราบเชิงภูเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มต่ำที่อยู่ใกล้มาทางแม่น้ำโขง แหล่งน้ำสำคัญ คือ แม่น้ำชี และแม่น้ำสงคราม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในสังคมเกษตรกรรม เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องมือ เครื่องประดับ และอาวุธ มีการเขียนสีบนภาชนะ เพื่ออุทิศแด่ผู้ล่วงลับ เรียกว่า วัฒนธรรมบ้านเชียง ตามชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบัน ณ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

แอ่งโคราช เป็นที่ราบกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ มีลำน้ำสำคัญ คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ เป็นช่วงที่นับวัฒนธรรมทางศาสนาของรัฐทวารวดีจากภาคกลาง และจากวัฒนธรรมเขมรโบราณ จากหลักฐานโบราณสถาน ศิลาจารึก และโบราณวัตถุในหลายพื้นที่ หลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ได้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากดินแดนล้านช้างอย่างต่อเนื่องในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ มีชาวญวนที่หนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งในเวลาต่อมา แล้วยังมีพ่อค้าชาวจีน อินเดีย เข้ามาค้าขาย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของผู้คนที่เข้ามาผสมผสานทางเชื้อชาติกับชนดั้งเดิม หล่อหลอมกลายเป็นคนอีสานในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม หากศึกษากลุ่มประชากรในภูมิภาคนี้พบว่าเป็นกลุ่มคนในตระกูลภาษาไท-กะใด ประกอบด้วยไทลาว ไทโย้ย ไทญ้อ กะเลิง หรือข่าเลิง ไทโคราช ไทพวน ผู้ไท และแสก กลุ่มรองลงมา

คือ กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก เป็นกลุ่มที่พูดภาษามอญ-เขมร ประกอบด้วย เขมรถิ่นไทย กูย โซ่ หรือกะโส้ บรู และญัฮกูร หรือชาวบน

ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นมาก มีการวิจัยมาแล้วสรุปว่ามีไม่ต่ำกว่า 50 ประเภท จำแนกเป็น

ด้านอาคารสถาปัตยกรรม ได้แก่ ปราสาทหินฮูปแต้ม พระธาตุ หรือธาตุ สิมอีสาน หอไตร หอแจกหอระฆัง หอกลอง

ด้านหัตถกรรมและช่างฝีมือ ได้แก่ ขันกะหย่อง ผ้าทอ เครื่องปั้นดินเผาเครื่องจักสาน เชี่ยนหมาก เกวียนอีสาน

ด้านความเชื่อความศรัทธา ได้แก่โฮงฮด ผ้าผะเหวดพระไม้ บุญฮีตสิบสองด้านการละเล่นการแสดง ได้แก่ หนังประโมนัย แคน โปงลาง เซิ้งกระติบ หมอลำ ฟ้อนภูไท การสู่ขวัญ บั้งไฟ

ด้านอาหารการกิน ได้แก่ ปลาแดก (ปลาร้า) ส้มตำ ลาบ

รวมทั้งด้านวรรณกรรมภาษาและด้านเครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย

จะเห็นได้ว่าภาคอีสานมีเรื่องราวของบ่งบอกถึงวิถีชีวิตที่สนุกสนาน และภูมิปัญญามากมาย ผู้คนวัฒนธรรมวิถีชีวิต ทุกอย่างล้วนมีเสน่ห์เกินกว่าจะหยุดความอยากรู้ไว้แค่นี้

สัญญาเลยว่า หากเมื่อไหร่ที่โรคโควิดซาไปแล้ว การเดินทางพบปะผู้คนทำได้อย่างคล่องตัว และปลอดภัยต่อสังคมมากขึ้นตามมาตรการของรัฐบาล ผู้เขียนจะลงพื้นที่จริงไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งภาพปัจจุบันมาฝากกัน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘กกต.’ยันคดี‘ฮั้วเลือก สว.’ทำตามขั้นตอน ไม่เร่งรีบปัดโดน‘ดีเอสไอ’บีบ

แชร์อุทาหรณ์! ร้านเสริมสวย'กัดสีผม'จนหัวเหวอะ เตือนภัยต้องทำกับช่างผู้เชี่ยวชาญ

ร้องทุจริต‘เลือกตั้งเทศบาล’แล้ว 352 เรื่อง ‘กกต.’หวังประชาชนใช้สิทธิ์ 70%

ชงครม. 13 พ.ค. ไฟเขียวงบ 4.5 พันล้าน แจก 7,200 ทุน ODOS เฟสใหม่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved