ขณะที่หลายประเทศและองค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังหาทางรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่นั้น การแก้ไขปัญหาอันตรายจากการสูบบุหรี่ก็ยังถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกไม่อาจละเลยได้ เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตผู้คนบนโลกไปกว่า 7 ล้านรายในแต่ละปี ทั้งที่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ในเดือนตุลาคมปีนี้ ประเทศสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control : FCTC) ขององค์การอนามัยโลกจึงมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมภาคีสมาชิก (conference of party) หรือ COP ครั้งที่ 9 ซึ่งแต่เดิมต้องถูกจัดขึ้นเมื่อปลายปี 2563 แต่ด้วยการระบาดหนักของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องเลื่อนมาจัดในปีนี้ผ่านระบบออนไลน์แทน
ประเด็นสำคัญของการประชุม COP ทุกครั้งที่ผ่านมาคือให้แต่ละประเทศมารายงานความคืบหน้าการควบคุมยาสูบตามแนวทาง MPOWER (Monitor, Protect, Offer, Warn, Enforce, and Raise) ซึ่งเป็นแนวทางดั้งเดิมของ WHO แต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับแนวทางการลดอันตราย (Harm Reduction) ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ อาทิ บุหรี่ไฟฟ้า และยาสูบแบบไม่เผาไหม้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่อาจจะช่วยเซฟชีวิตผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน และในจำนวนนั้น กว่า 1.6 ล้านคนคือผู้สูบบุหรี่ในภูมิภาคเอเชียที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ และในปีนี้คาดการณ์ว่า WHO ก็ยังคงจะละเลยต่อแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบต่อไป
เมื่อเร็วๆ นี้ จึงมีการจัดงานสัมมนาออนไลน์ Asian Harm Reduction Forum (AHRF) ครั้งที่ 4 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ผู้กำหนดนโยบายและเครือข่าย
ผู้บริโภคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวทางการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ หรือ Tobacco Harm Reduction ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมมาตรการควบคุมบุหรี่แบบดั้งเดิมของ WHO โดยการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่ติดนิโคติน ทำให้ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยง่าย การอนุญาตให้ผู้สูบบุหรี่มีทางเลือกในการรับนิโคติน แต่ลดอันตรายจากควันซึ่งมาจากการเผาไหม้ของมวนบุหรี่ที่เป็นสาเหตุของการก่อโรคร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิต แต่ยังได้รับสารนิโคตินตามที่ร่างกายต้องการ ก็จะทำให้ผู้สูบบุหรี่สามารถลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ลงได้ นอกเหนือจากแนะนำให้เลิกสูบแต่เพียงอย่างเดียว ในการประชุม AHRF ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณสุขจากหลายๆ ประเทศได้เรียกร้องให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเดินตามรอยประเทศญี่ปุ่นในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ จนสามารถนำไปสู่การลดลงของยอดขายบุหรี่ได้ถึง 42% ในเวลาเพียง 5 ปี
นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจากประเทศไทย ซึ่งเข้าร่วมประชุมออนไลน์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยออกคำสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2557 ทำให้ความก้าวหน้าเรื่องการควบคุมยาสูบและการลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ของบ้านเรายังห่างไกลกับญี่ปุ่น สวีเดน หรือนอร์เวย์มาก ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นสามารถลดอัตราผู้สูบบุหรี่หรือยอดขายของบุหรี่ลงได้อย่างเห็นได้ชัด ตัวเลขการสูบบุหรี่ของบ้านเรากลับไม่เปลี่ยนแปลงมากเท่าใดนัก
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี