วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : รณรงค์ยุติความรุนแรง  สื่อต้องทำงานบนความรับผิดชอบ

สกู๊ปพิเศษ : รณรงค์ยุติความรุนแรง สื่อต้องทำงานบนความรับผิดชอบ

วันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ผ่านมาแล้ว 25 พฤศจิกายน ของทุกปี ที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัว ส่วนครม.ของไทยเห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนทุกปีเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงเช่นเดียวกัน

วันก่อนมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เข้าร่วมประชุมผ่านระบบZoom เรื่อง “ยุติความรุนแรงในครอบครัว...สื่อเติมเชื้อหรือดับไฟ” มี รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ ท่านคณบดีใหม่ถอดด้ามคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส. เป็นประธานเกริ่นนำว่า สสส. เห็นความสำคัญเรื่องการยุติความรุนแรงในครอบครัว จึงร่วมกับมสส.จัดงานนี้ขึ้น เพราะจากการสำรวจข้อมูลหลายครั้งพบว่า ปัจจัยกระตุ้นสำคัญของการใช้ความรุนแรงมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติดซึ่งแอลกอฮอล์ถือเป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกัน เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด 2.9 เท่า อุบัติเหตุทางถนนมากกว่าร้อยละ 20 มาจากการดื่มแล้วขับ ซึ่งเพิ่มสูงถึงร้อยละ 40 ในช่วงเทศกาล เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 9 หมื่นล้านบาทต่อปี และเป็นสาเหตุหลักของความรุนแรงในครอบครัว จึงอยากให้สื่อมวลชนได้มีบทบาทร่วมลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย


ด้านนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ระบุว่า ได้สำรวจสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวช่วงการระบาดของโควิด-19 จำนวน 1,692 ตัวอย่าง ในกทม.และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 17-23 ต.ค.2564คนไทยนั้นเครียดเลยแสดงออกถึงความรุนแรงที่พบมากที่สุดร้อยละ 53.1 พูดจาส่อเสียด เหยียดหยามด่าทอ ร้อยละ 20.2 มีการทำร้ายร่างกาย ข้อมูลยังระบุชัดเจนร้อยละ 41.5 ว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นก่อนโควิด-19 ระบาด มิหนำซ้ำร้อยละ 75 ระบุว่ามีการกระทำความรุนแรงซ้ำ 2-3 ครั้ง สาเหตุหลักมาจากแอลกอฮอล์ ส่วนผลกระทบต่อครอบครัว พบว่าร้อยละ 82 มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 80.2 มีผลต่ออารมณ์ ที่น่าตกใจคือการแก้ไขปัญหาเมื่อถูกกระทำรุนแรงร้อยละ 52.2 จะใช้การตอบโต้กลับ ร้อยละ 33.2 พูดคุยไกล่เกลี่ย มีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมาย มีมากถึงร้อยละ87 ที่ไม่ขอความช่วยเหลือเพราะเชื่อว่าแก้ปัญหาเองได้ร้อยละ 75.6 มองเป็นเรื่องส่วนตัวและร้อยละ 61.8มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลบอกว่าการเสนอความรุนแรงนั้นสื่อหนังสือพิมพ์รายวันดีขึ้น แต่ที่น่ากังวลคือโทรทัศน์ยังมีการนำเสนอฉากข่มขืน การใช้ความรุนแรงกับคู่รัก สร้างมายาคติให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนสื่อออนไลน์ก็เช่นจากการเก็บข้อมูลมิวสิกวีดีโอพบว่ามี 19 เพลง เนื้อคุกคามทางเพศกดทับผู้หญิง ภาคีจะร่วมกับหลายฝ่ายณรงค์เรื่องนี้ต่อไป

ส่วน ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อเสนอต่อสื่อมวลชนว่าสื่อต้องทำงานเพิ่มอีก 2 มิติคือ ต้องไม่มองแค่ความรุนแรงทางตรงที่ปรากฏอยู่ในฉากละครแต่ต้องมองให้ลึกในเชิงโครงสร้างความรุนแรงในครอบครัว และจะต้องมองความรุนแรงบนฐานของจากเพศสภาพมากกว่าเพศหญิงเพศชายในปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นสื่อจะผลิตภาพซ้ำให้ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเพียงแค่เรื่องส่วนตัวทั้งๆ ที่ความรุนแรงเป็นผลจากนโยบายของรัฐที่ปกป้องผู้หญิงน้อยเกินไป การใช้ความรุนแรงในครอบครัวถือเป็นความผิดทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว สื่อต้องไม่ยอมรับให้ความรุนแรงในครอบครัวกลายเป็นความชอบธรรม ต้องทำงานด้วยความรับผิดชอบไม่ตำหนิผู้เสียหาย รู้เรื่องกฎหมาย มีการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเสมอหน้า มองปัญหารอบด้านและให้ข้อมูลช่องทางในการช่วยเหลือด้วย

ขณะที่นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ สื่อมวลชนอาวุโส อดีตบอร์ดสสส. สะท้อนว่าสื่อถูกตั้งคำถามว่าขายความรุนแรงเพื่อความอยู่รอดจริงหรือ ประสบการณ์ที่เคยทำงานในหนังสือพิมพ์รายวันก็ยอมรับว่าในอดีตเจ้าของสื่อคิดอย่างนั้นจริงๆเพราะมองว่าคนอ่านชอบและทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันถือว่าดีขึ้น ขณะที่สื่อโทรทัศน์และทั้งสื่อออนไลน์บางส่วนในปัจจุบันยังคงขายความรุนแรงในรูปแบบต่างๆอยู่เช่นรายการบางสถานีนำเสนอข่าวความรุนแรงในครอบครัวสามีภรรยามาทะเลาะกันออกอากาศคนดู ก็สนใจ เรทติ้งก็พุ่งสูงขึ้นดูได้จากรายได้บริษัทมีกำไรมากขึ้น แต่เชื่อว่าในอนาคตผู้บริโภคจะเป็นคนกำหนดเนื้อหาและคุณภาพของสื่อ ถ้าสื่อยังขายความรุนแรงนอกจากจะทำร้ายเหยื่อซ้ำแล้วจะเป็นการปลูกฝังความคิดการใช้ความรุนแรงให้กับประชาชนไปด้วยโดยไม่รู้ตัว

ทางด้านสื่ออาวุโสอย่างนางกรรณิกา วิริยะกุล บก.บห. นสพ.ไทยโพสต์ เห็นว่าสื่อมวลชนส่วนใหญ่ตระหนักในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่สื่อจะต้องรับผิดชอบทั้งหมดหรือไม่เพราะผู้บริโภคยุคปัจจุบันต่างกับในอดีตเดิมเสนอข่าวจากการแถลงข่าวที่เชื่อถือได้แต่ปัจจุบันต้องส่องจากเฟซบุ๊คว่าใครทำอะไรคำถามคือเราจะเอาความเข้มข้นทางวิชาการหรือจะเอาใจวัยรุ่น ไทยโพสต์ยืนยันว่าจะยังคงความเข้มข้นก็หวังว่าทุกฝ่ายจะช่วยให้สื่อหลักที่ไม่ทำตามกระแสให้อยู่ได้ ส่วนกฤษณ์ชนุตม์ เจียรรัตนกนก บก.ข่าวไทยรัฐทีวี บอกว่าทำงานอยู่บนความรับผิดชอบอยู่แล้วหากเป็นคดีสะเทือนขวัญก็ต้องนำเสนอเพื่อตักเตือนสังคม นอกจากนี้ยังมีทีมดูแลถ้อยคำการพาดหัว มีกรรมการจริยธรรม 7 คนมากำกับเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

ด้านนายพิธพงษ์ จตุรพิธพร ผู้ประกาศข่าวทีวี ช่อง 7 ระบุว่านโยบายของสถานีถ้าเป็นข่าวความรุนแรงในครอบครัวจะพยายามไม่นำเสนอยกเว้นคดีสำคัญและจะเน้นประเด็นการดำเนินคดี การนำเสนอภาพหรือข่าวหน้าจอจะถามความสมัครใจก่อนและให้ข้อมูลช่องทางการช่วยเหลือร้องเรียนด้วย ส่วนนายเอกพล บันลือ บก.สำนักข่าว The Standard กล่าวว่า ไม่ค่อยเสนอข่าวความรุนแรงระหว่างบุคคลอยู่แล้วแต่จะเน้นวิเคราะห์ ถอดบทเรียนในประเด็นที่สังคมสนใจ ที่สำคัญผู้บริโภคคือคนกำหนดบทบาทของเราว่าอะไรเหมาะสมหรือออกนอกแนวทางที่วางไว้

บทสรุปวันนั้นตรงกันว่าสื่อต้องช่วยกันดับไฟความรุนแรงไม่ใช่เป็นผู้เติมเชื้อไฟ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ASEAN Energy Storage & Smart Energy Expo 2025  มหกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านพลังงาน สกู๊ปพิเศษ : ASEAN Energy Storage & Smart Energy Expo 2025 มหกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านพลังงาน
  • สกู๊ปพิเศษ : เทศบาลนครสงขลา จัดสวนดอกไม้ทางเข้า หาดสมิหลา  รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ปีใหม่ 2568 สกู๊ปพิเศษ : เทศบาลนครสงขลา จัดสวนดอกไม้ทางเข้า หาดสมิหลา รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ปีใหม่ 2568
  • สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์  มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์ มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง
  • สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าพัฒนา ‘โครงการพระราชดำริฝนหลวง’  ตามพระบรมราชโองการ สืบสาน รักษา ต่อยอด สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าพัฒนา ‘โครงการพระราชดำริฝนหลวง’ ตามพระบรมราชโองการ สืบสาน รักษา ต่อยอด
  • สกู๊ปพิเศษ : อ.ส.ค.เดินหน้ารุกพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทย  ตั้งเป้า ปี’67 ปั้นเกษตรกรโคนมสู่ Smart Farmer เพิ่ม 2.3 พันราย สกู๊ปพิเศษ : อ.ส.ค.เดินหน้ารุกพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทย ตั้งเป้า ปี’67 ปั้นเกษตรกรโคนมสู่ Smart Farmer เพิ่ม 2.3 พันราย
  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved