วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิจัย มทร.ล้านนา ยกระดับผ้าพื้นถิ่น สร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม

นักวิจัย มทร.ล้านนา ยกระดับผ้าพื้นถิ่น สร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม

วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : นักวิจัย มทร.ล้านนา ภูมิปัญญา
  •  

นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวถึงวัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ ด้วยนวัตกรรมสู่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ว่า ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้สนับสนุนให้อาจารย์ และนักวิจัยลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหา และสถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการผ้าและสิ่งทอพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 11 กลุ่ม ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำพูน และอุตรดิตถ์ ทำให้ทราบปัญหา และนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิต จนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีความหลากหลาย การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่การดำเนินการดังกล่าวยังขาดมิติที่เชื่อมการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานสินค้าประเภทผ้าและสิ่งทอ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นการเกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ในผลิตภัณฑ์


จากการวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติของคณะวิจัยพบปัญหา ได้แก่ งานต้นน้ำคือกลุ่มปลูกฝ้ายมีต้นทุนการผลิตที่สูง กระบวนการสกัดสีย้อมเส้นด้ายฝ้าย มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากใช้เวลานาน ส่วนงานกลางน้ำ พบว่า ต้นทุนการทอเส้นด้ายเป็นผืนผ้าสูง วัตถุดิบขาดคุณภาพ (แข็ง หยาบ) ไม่เหมาะสมที่จะนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มผู้ประกอบการทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าผืนเป็นเสื้อสำเร็จรูป โดยผ้า 1 ผืน ต้นทุนสูง แต่ขายราคาถูก ซึ่งทำให้มีรายได้ที่ไม่สูง ในกระบวนการผลิตและแปรรูปมีเศษวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการ ส่วนงานปลายน้ำพบว่า ด้านบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการมากกว่า 50% ไม่มีบรรจุภัณฑ์กรณีของกลุ่มที่มีบรรจุภัณฑ์ หีบห่อไม่สวยงามและทันสมัย ส่วนด้านการตลาด พบว่า มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การตั้งราคาของแต่ละกลุ่มไม่สอดคล้องกับต้นทุนของสินค้า ทำให้ประสบปัญหาทางการเงินจนเกิดภาวะขาดทุน ซึ่งช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์โดยกรณีออนไลน์ มีปัญหาเรื่องการอัพเดตข้อมูลผลิตภัณฑ์และการจัดวางรูปแบบ สื่อ ส่วนกรณีออฟไลน์ พบว่าการตกแต่งหน้าร้าน ยังขาดข้อมูลข่าวสารเพื่อร่วมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดห่วงโซ่อุปทานการค้าที่เป็นธรรม

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ดังกล่าว การศึกษาจึงมุ่งเน้นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้้ำ
โดยต้นน้ำเป็นการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการผลิตวัตถุดิบลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตพัฒนากระบวนการย้อม การพัฒนาผืนผ้าที่มีคุณลักษณะเหมาะสมแก่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ขณะที่กลางน้ำการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ของใช้และของที่ระลึก และปลายน้ำ คือการพัฒนารูปแบบแนวทางการจำหน่ายสินค้าตลอดจนถึงการพัฒนาแนวทางในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมกลุ่มผู้ประกอบการผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติตลอดห่วงโซ่อุปทาน

นายสุริยนต์กล่าวด้วยว่า หลักการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า และสิ่งทอ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการขายสินค้าหัตถกรรม เพราะผู้ซื้อมักจะไม่ชอบความจำเจ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพสินค้าหัตถกรรมแต่ละชนิด ย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า โดยสินค้าที่มีประโยชน์ทางด้านการใช้สอย จะต้องมีรูปแบบใหม่สวยงามและจะต้องมีความคงทนด้วย ส่วนสินค้าที่เป็นของที่ระลึก จะต้องเน้นถึงวัสดุใช้สอยในท้องถิ่นนั้นๆ แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ คุณค่าความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ความประณีต พิถีพิถันในการผลิต ซึ่งสินค้าประเภทที่ใช้ในด้านการตกแต่งและเครื่องประดับชนิดต่างๆ จะต้องเน้นทั้งในด้านความงดงามของศิลปะ และรูปแบบซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม รูปแบบให้มีความแปลกใหม่มีการนำเอาเทคนิคการผลิตสมัยใหม่ รวมทั้งเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี และต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป จึงนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ของใช้และเครื่องประดับ ภายใต้แบรนด์ Lanna Cotton Craft ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นการผนึกกำลังในทางการตลาด เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ซึ่งจะส่งผลดีด้านยอดขายและจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของแบรนด์ โดยให้โอกาสกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 11 กลุ่ม เข้าร่วมนำสินค้าที่ผลิตตามงานต้นแบบเข้ามาจำหน่าย เป็นการสร้างเสริมโอกาสให้ผู้ประกอบการเติบโตอย่างมีศักยภาพและมีความสามารถในการทำธุรกิจมากขึ้น

ทางด้านตลาดออฟไลน์ ได้ทดสอบการจำหน่ายในงานแฟร์ที่จังหวัดจัดขึ้น งานจัดแสดงสินค้า ที่กรุงเทพมหานคร งานบ้านและสวน งาน Crafts Bangkok 2020 โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ตลาดจริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ที่เป็นตลาดเฉพาะสินค้าจากธรรมชาติเท่านั้น ผลการทดสอบตลาดพบว่าลูกค้าให้ความสนใจและซื้อผลิตภัณฑ์ของ Lanna Cotton Craft โดยมียอดจำหน่ายรวมถึง 1,550,720 บาท

นายสุริยนต์ กล่าวด้วยว่า ทีมวิจัยยังคำนึงถึงการต่อยอดผลิตภัณฑ์ดาวเด่น ให้มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้เกิดการสื่อสารการตลาดและหาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'มาดามหยก'ปลื้มปชช.นับหมื่นคน พร้อมใจเดินขึ้นดอยสุเทพฯ ร่วมถวายเครื่องสักการะ และสรงน้ำพระบรมธาตุฯ

'กุนซืออิ๊งค์'มาแล้ว! เผยท่าทีไทยต่อสหรัฐฯปมกำแพงภาษี

'เบสท์ ชนิดาภา'แชร์อุทาหรณ์ ถูกมิจฉาชีพหลอกสูญเงิน 1.2 ล้านบาท

'แทมมี่'จัดใหญ่! ศึก100พลัสไทยเทนนิสลีก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved