วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษ กสม.’  จัดงาน‘สมัชชาสิทธิมนุษยชน’1-2กันยาฯนี้

‘เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษ กสม.’ จัดงาน‘สมัชชาสิทธิมนุษยชน’1-2กันยาฯนี้

วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) กำหนดจัดงาน “สมัชชาสิทธิมนุษยชน : เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษ กสม.” ขึ้น ระหว่างวันที่ 1-2 ก.ย. 2565 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ย่านหลักสี่ กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและการกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติ

โดยการจัดงานครั้งนี้ จะมีการขับเคลื่อน5 ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่ 1.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2.สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3.สถานะบุคคล 4.สถานการณ์โรคโควิด-19 กับกลุ่มเปราะบาง และ 5.ความหลากหลายทางเพศ ซึ่งในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของ กสม. เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ กสม. ได้ระดมความเห็นและนำเสนอสภาพปัญหาใน 2 ประเด็นย่อยได้แก่ สถานการณ์โรคโควิด-19 กับกลุ่มเปราะบาง และความหลากหลายทางเพศ


“ในเบื้องต้นยังมีความท้าทายในแง่การเข้าถึงสวัสดิการและการเยียวยาโดยรัฐ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่น่าห่วงใย เช่น เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ส่วนประเด็นความหลากหลายทางเพศ ก็ยังมีข้อท้าทายในเรื่องการรับรองสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศตามกฎหมาย” น.ส.ปิติกาญจน์ ระบุ

นอกจากสองประเด็นดังกล่าวแล้ว กสม. ยังได้รวบรวมข้อท้าทายเบื้องต้นร่วมกับภาคีเครือข่ายในประเด็นสำคัญอีก 3 ประเด็น ได้แก่ 1.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีการติดตามสถานการณ์สำคัญ ได้แก่ 1.1 การป้องกันและปราบปรามการทรมาน จากสถิติเรื่องร้องเรียนระหว่างปี 2554-2565 พบว่ามีการร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายจากการซ้อมทรมานและทำร้ายร่างกายระหว่างถูกควบคุมตัวจำนวน 115 เรื่อง

แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวดำรงอยู่มายาวนานและไม่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลาย แม้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) แล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่ก็ยังไม่มีบทบัญญัติเฉพาะที่ว่าด้วยเรื่องการทรมานอยู่ในระบบกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ตามที่วุฒิสภาส่งร่างแก้ไขกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้ว

ซึ่งจากความคืบหน้าดังกล่าว กสม. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เท่ากับว่ากฎหมายดังกล่าวจะได้ออกมาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของประชาชนในเร็ววัน 1.2 การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร พบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เช่น เสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีหน่วยงานปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน หรือกรณีนายจ้างนำประวัติอาชญากรของผู้ร้องที่เคยถูกดำเนินคดีอาญาในขณะที่ยังเป็นเยาวชนและพ้นโทษแล้ว มาประกอบการพิจารณาและปฏิเสธการเข้าทำงาน

หรือปัญหาบุคคลผู้ได้รับประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทิน แต่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากร ซึ่ง กสม. เคยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการคัดแยกทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้พ้นผิดให้กลับคืนสู่สังคมแล้ว 2.ประเด็นสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม ยังคงพบปัญหาและข้อจำกัดจากกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ ที่ยังไม่ยอมรับสิทธิชุมชนและสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเพิกถอนสิทธิของชุมชนในการจัดการป่าที่เคยมีอยู่เดิม

ขณะที่นโยบายการพัฒนาของรัฐยังมุ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรม สร้างภาระ ผลกระทบทางนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพแก่ชุมชนท้องถิ่นที่ต้องเผชิญปัญหาการถูกแย่งชิงทรัพยากร และเกิดกรณีการฟ้องคดีไล่รื้อที่อาศัยประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ที่ดินและทรัพยากรตามประเพณีด้วย

และ 3.ประเด็นสถานะบุคคล ยังพบอุปสรรคในกระบวนการให้สถานะจากทั้งตัวผู้ยื่นคำขอสัญชาติและสถานะบุคคล รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และกระบวนการยื่นคำขอที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและหนังสือสั่งการหลายฉบับ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักทะเบียนอำเภอและจังหวัดก็มีจำนวนไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา บางคนมีทัศนคติเชิงลบต่อบุคคลไร้สัญชาติ และยังคงมีรายงานการทุจริตอันเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสัญชาติด้วย

นอกจากนี้ ยังพบอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นซึ่งแม้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อพิสูจน์และรับรองคนไทยพลัดถิ่นมาแล้ว 10 ปี แต่การแก้ไขปัญหาพิสูจน์รับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นยังมีความล่าช้าส่งผลให้ผู้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานได้

สำหรับงานสมัชชาสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ภาคีเครือข่ายจะได้นำเสนอข้อมติทั้ง 5 ประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญที่ได้ร่วมกันสะท้อนสถานการณ์ปัญหาพร้อมแนวทางแก้ไข พร้อมกันนี้จะมีการประกาศเจตนารมณ์รวมพลังขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ซึ่งผู้ที่สนใจยังสามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดประเด็นการพูดคุยและสาระในงานได้ทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ “สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ได้อีกช่องทาง!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ในหลวงทรงห่วงใย พระราชทานกระเช้าสิ่งของ แก่ผู้บาดเจ็บเหตุปะทะไทย-กัมพูชา ในหลวงทรงห่วงใย พระราชทานกระเช้าสิ่งของ แก่ผู้บาดเจ็บเหตุปะทะไทย-กัมพูชา
  • ‘นฤมล’ ยกระดับความปลอดภัย หลังเหตุปะทะชายแดนตึงเครียด เตรียมศูนย์พักพิงรับผู้เรียน-ประชาชนอพยพ ‘นฤมล’ ยกระดับความปลอดภัย หลังเหตุปะทะชายแดนตึงเครียด เตรียมศูนย์พักพิงรับผู้เรียน-ประชาชนอพยพ
  • 3 มหาวิทยาลัย เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับเหตุปะทะชายแดนไทย - กัมพูชา 3 มหาวิทยาลัย เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับเหตุปะทะชายแดนไทย - กัมพูชา
  • ข้าราชบริพารหน่วยราชการในพระองค์ พร้อมใจบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล ข้าราชบริพารหน่วยราชการในพระองค์ พร้อมใจบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล
  • ‘วัดพระธรรมกาย-มูลนิธิฯ’จัดพิธีถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 179 ‘วัดพระธรรมกาย-มูลนิธิฯ’จัดพิธีถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 179
  • วัดพระธรรมกายจัดพิธี \'ถวายสังฆทาน 323 วัด\' เพื่อพุทธศาสนาในชายแดนใต้ วัดพระธรรมกายจัดพิธี 'ถวายสังฆทาน 323 วัด' เพื่อพุทธศาสนาในชายแดนใต้
  •  

Breaking News

เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved