วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
sacit ชูหัตถกรรมน้ำต้น-แกะสลักไม้-ดุนโลหะชาวล้านนา ส่งต่อมรดกภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

sacit ชูหัตถกรรมน้ำต้น-แกะสลักไม้-ดุนโลหะชาวล้านนา ส่งต่อมรดกภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

วันศุกร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565, 17.13 น.
Tag : sacit หัตถกรรม น้ำต้น แกะสลักไม้ ดุนโลหะ ล้านนา ภูมิปัญญา
  •  

sacit ชูหัตถกรรมน้ำต้น-แกะสลักไม้-ดุนโลหะชาวล้านนา ส่งต่อมรดกภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

16 กันยายน 2565 นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit กล่าวว่า sacit มีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญอีกด้าน คือ การส่งเสริมคุณค่าบุคคลผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญ มีทักษะฝีมือ ในงานศิลปหัตถกรรมไทยพื้นบ้าน อนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สั่งสมสืบทอดจากบรรพบุรุษ สะท้อนถึงศาสตร์และศิลป์เชิงช่างในสาขาต่างๆ  ให้ดำรงคงอยู่โดยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพราะเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าเป็นผู้ที่สืบสานและรักษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่มาตั้งแต่อดีต ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้สร้างสรรค์มีอายุมากขึ้นและอาจขาดทายาทผู้สืบสานภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย sacit จึงได้มีกิจกรรมเฟ้นหาและเชิดชูเกียรติบุคคลเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันนำมาเชิดชูแล้วกว่า 438 ราย และได้ดำเนินการรวบรวมชีวประวัติ ผลงาน และองค์ความรู้ในการทำงานศิลปหัตถกรรมของผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติแต่ละประเภท โดยเฉพาะในงานหัตถกรรมที่กำลังจะสูญหาย หรือเหลือผู้ทำน้อยรายให้คงอยู่ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยสืบต่อไป


ทั้งนี้ การนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทยที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ได้แก่ งานน้ำต้น , งานดุนโลหะ และงานแกะสลักไม้ เป็นต้น

“น้ำต้น” หรือ "คนโท” เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตชาวล้านนามาช้านาน นอกจากจะใช้เป็นภาชนะใส่น้ำ ยังเป็นภาชนะใช้ใส่ดอกไม้บนแท่นบูชาและในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งเป็นเครื่องประกอบยศของชนชั้นสูงในสมัยโบราณ ปัจจุบันครูสมทรัพย์ ศรีสุวรรณ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2563 ผู้อนุรักษ์ และสืบสานงานภูมิปัญญาการปั้นน้ำต้นของชาวล้านนาที่เกือบจะสูญหายไปจากแผ่นดินให้กลับมาคงอยู่ได้ในปัจจุบัน ตั้งแต่การเตรียมดิน การนวดดินเหนียว นำมาขึ้นรูปบนแป้นหมุนไม้ที่ยังคงใช้แรงคนหมุน และตกแต่งลวดลายด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เขาควาย”  ตกแต่งผิวดินภายนอกให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆมาขูดขีด สลักลาย พิมพ์ลาย กดลาย ให้เกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์น้ำต้นโบราณ ซึ่งทุกกระบวนการล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมานับหลายร้อยปี

“งานดุนโลหะ” หรือ ภาษาถิ่นล้านนาจะเรียก ดุนลาย ว่า ต้องลาย หรือ ต้องครัว สร้างสรรค์ โดยครูดิเรก สิทธิการ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2554 และนายพิชิต นะงอลา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 ทั้งสองท่านยังคงเอกลักษณ์งานดุนโลหะตามขนบและลวดลายแบบดั้งเดิม และมีฝีมือที่ละเอียดลออ รวมถึงยังได้พัฒนารูปแบบ ลวดลาย วัสดุในการทำงานดุนโลหะสลักเงินให้มีความทันสมัย เหมาะกับยุคและความต้องการของตลาดมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตให้หาง่ายและทันสมัยขึ้น อย่างเช่น ทองแดง อลูมิเนียม ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อเพิ่มสีสันเพิ่มมิติให้กับงานนั้น ๆ มากขึ้น รวมถึงลวดลายได้มีการนำลวดลายไทยและล้านนาแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย ออกจำหน่าย ขยายตลาดให้มากขึ้น

สำหรับผลงานของนายพิชิต นะงอลา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 อีกหนึ่งผู้สืบทอดภูมิปัญญางานดุนโลหะจากครูดิเรก นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีเอกลักษณ์ที่ความชัดเจนของลวดลาย ละเอียด อ่อนช้อย งดงามรอบด้านในรูปแบบลอยตัว เช่น ผลงานที่ชื่อว่า “ไตรภูมิ” ที่นำโลหะทั้ง 3 ชนิด (ทองเหลือง ทองแดง และอะลูมิเนียม) มารวมไว้ในชิ้นงานเดียว จนได้มีโอกาสนำผลงานดุนโลหะ “ปลาอานนท์” ไปอวดโฉมปรากฏสายตาชาวโลกให้เป็นที่ประจักษ์ในความงดงามและคุณค่าจากภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับจินตนาการอันกว้างไกลด้วยฝีมือคนไทยที่งาน Revelations 2019 ณ Grand Palais กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ผ่านมาอีกด้วย

“งานแกะสลักไม้” สร้างสรรค์โดยครูเพชร วิริยะ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2564 หรือที่รู้จักกันในนาม “สล่าเพชร” เป็นช่างฝีมือผู้เปี่ยมด้วยทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านการแกะสลักไม้ และยังถือเป็นบรมครูแห่งวงการงานแกะสลักช้างไม้ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้เปลี่ยนภาพจริงลงสู่เนื้อไม้ นำภูมิปัญญาที่สั่งสมมาพัฒนาต่อยอด ฝึกฝน และค้นคว้าจนถ่ายทอดงานแกะสลักช้างไม้เสมือนจริง เลียนแบบท่าทางของช้าง ตลอดจนถึงการแสดงอารมณ์ผ่านรูปลักษณ์อากัปกิริยาต่าง ๆของช้าง ทั้งช้างหนึ่งตัว สองตัว สามตัว ไปจนถึงลักษณะท่าทางของช้างเวลาอยู่รวมกันเป็นโขลง จนเป็นที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นสล่าผู้มากฝีมือในการแกะสลักช้างได้เสมือนจริงจนเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางมาจนถึงทุกวันนี้

sacit มีเป้าหมายสำคัญในการสืบสานองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทยจากผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่และสังคมไทย โดยมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในรูปแบบ sacit Archive ที่ครอบคลุมงานศิลปหัตถกรรมไทยกว่า 3,000 รายการ ในกลุ่มเครื่องทอ เครื่องจักสาน เครื่องไม้ เครื่องดิน เครื่องโลหะ เครื่องกระดาษ เครื่องหนัง เครื่องรัก รวมถึงเครื่องอื่นๆ อาทิ งานเทริดมโนราห์ งานกระจกเกรียบ เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นักออกแบบ นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย หรือนำข้อมูลองค์ความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและผลิตภัณฑ์ช่วยสร้างโอกาส สร้างเครือข่าย สร้างรายได้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและเวิร์คช้อปต่าง ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในงานศิลปหัตถกรรมไทยร่วมกันระหว่างช่างฝีมือและคนรุ่นใหม่ เช่น นิทรรศการเชิดชูผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย หรือการสาธิตกระบวนการทำงานหัตถกรรมของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่เข้าชมได้เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของคนไทย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญ และหันมาร่วมอนุรักษ์และสืบสานงานช่างฝีมือเหล่านี้ไว้ไม่ให้สูญหาย และเกิดเป็นสังคมงานคราฟต์ หรือ Social Craft Network ต่อไป

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มท.จัดประกวดยิงใหญ่  ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’ มท.จัดประกวดยิงใหญ่ ‘ผ้าลายสิริวชิราภรณ์’
  •  

Breaking News

'มาดามหยก'ปลื้มปชช.นับหมื่นคน พร้อมใจเดินขึ้นดอยสุเทพฯ ร่วมถวายเครื่องสักการะ และสรงน้ำพระบรมธาตุฯ

'กุนซืออิ๊งค์'มาแล้ว! เผยท่าทีไทยต่อสหรัฐฯปมกำแพงภาษี

'เบสท์ ชนิดาภา'แชร์อุทาหรณ์ ถูกมิจฉาชีพหลอกสูญเงิน 1.2 ล้านบาท

'แทมมี่'จัดใหญ่! ศึก100พลัสไทยเทนนิสลีก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved