วันอาทิตย์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ชวนชมปรากฎการณ์ดาวพฤหัสบดี ใกล้โลกสุด 59 ปีอังคารหน้า ดูได้ด้วยตาเปล่า

ชวนชมปรากฎการณ์ดาวพฤหัสบดี ใกล้โลกสุด 59 ปีอังคารหน้า ดูได้ด้วยตาเปล่า

วันศุกร์ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565, 19.52 น.
Tag : ดาวพฤหัสบดี ใกล้โลก โลก ดูได้ด้วยตาเปล่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  •  

วันที่ 23 กันยายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความ เกี่ยวกับปรากฎการณ์ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ในคืนวันอังคารที่ 27 ก.ย.นี้ ว่า ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดีจะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาใกล้โลกทุกปี และครั้งนี้ยังถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนต.ค.2506

วันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก ดูได้ด้วยตาเปล่า ทุกภูมิภาคทั่วไทย หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน สังเกตได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์กาลิเลียน 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด คัลลิสโต ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งคืนดังกล่าวยังมีโอกาสเห็นเหตุการณ์ขณะที่ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี ในช่วงเวลาประมาณ 21:48 - 00:04 น. รวมถึงยังคงเห็นดาวเสาร์ปรากฏสว่างถัดจากดาวพฤหัสบดีไปทางทิศตะวันตกอีกด้วย

ทั้งนี้ วันที่ 27 ก.ย.65 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ชวนส่องแทบเมฆ และดวงจันทร์กาลิเลียนของดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์ บริเวณ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังสามารถรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ตั้งแต่เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สดร.ชวนจับตาดูดาวอังคาร โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดวันที่ 1 ธ.ค.นี้ สดร.ชวนจับตาดูดาวอังคาร โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดวันที่ 1 ธ.ค.นี้
  • โควิดโลกใกล้สงบ WHOถกปรับลดระดับต.ค. โควิดโลกใกล้สงบ WHOถกปรับลดระดับต.ค.
  •  

Breaking News

'ชมรมชาวใต้ศรีราชา'แถลงข่าวจัดงานบุญประเพณีสารทเดือนสิบ ประจำปี 2566

'คนเชียงกลาง'ร่วมใจถวายผ้าป่ามหากุศล'คนเชียงกลางไม่ทิ้งกัน' ปีที่ 8

ลูกยางหญิงไทยชนะโคลัมเบียแบบสูสี3-1เซ็ต

'DGA'เปิดผลงานรัฐบาลดิจิทัล ประหยัด คุ้มค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8 พันล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved