วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
กมธ.ที่ดินทำหนังสือด่วนถึงนายกฯ แนะยุติโครงการผันน้ำยวม แฉ EIA ขาดการมีส่วนร่วมของปชช.

กมธ.ที่ดินทำหนังสือด่วนถึงนายกฯ แนะยุติโครงการผันน้ำยวม แฉ EIA ขาดการมีส่วนร่วมของปชช.

วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 15.49 น.
Tag : กมธ.ที่ดิน โครงการผันน้ำยวม
  •  

กมธ.ที่ดินทำหนังสือด่วนถึงนายกรัฐมนตรีแนะยุติโครงการผันน้ำยวม แฉ EIA ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะที่กรมชลประทานยังคงเดินหน้าหาเอกชนร่วมทุน เผยงบประมาณบาน 1.7 แสนล้านบาท

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องข้อเสนอการแก้ไขปัญหาโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล โดยมีเนื้อหาสำคัญระบุ ว่าในคราวประชุม กมธ.ที่ดินฯ ครั้งที่ 110 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอต่อโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล) ของกรมชลประทาน เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง


ในหนังสือระบุว่า กมธ.พิจารณาแล้วเห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนขั้นตอนของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของโครงการไม่สอดคล้องและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง อีกทั้งเมื่อพิจารณารายงาน EIA ยังพบว่าพื้นที่ก่อสร้างโครงการและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว และมีทรัพยากรธรณีกลุ่มโลหะหนักที่มีผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน กมธ.จึงมีข้อเสนอเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

1.ระงับการพิจารณารายงาน EIA ของโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล และเร่งรัดให้มีการตรวจสอบการจัดทำรายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ และมีข้อร้องเรียนที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าอาจมีการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน สร้างความเสียหายต่อรัฐอย่างร้ายแรง

2.ยุติโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนฯ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาแต่อย่างใด ซึ่งหากมีการดำเนินโครงการนี้ นอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการลงทุนก่อสร้างแล้วยังเป็นการทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความเสี่ยงหากมีการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนต่างชาติ (PPP) ด้วย

ขณะที่กรมชลประทาน(ชป.) โพสข่าวในเพจรอบรั้วชลประทาน ระบุว่า วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ชป. หารือขับเคลื่อนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล โดยนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังการชี้แจงข้อสังเกตและประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการศึกษาวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนใกล้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ณ ห้องประชุมดงตาล ชั้น 4 อาคาร 99 ปี ม.ล.ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร

"สำหรับการหารือครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการประชุมหารือโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล (โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน) เมื่อวันพุธที่ 28 กันยายน 2565 ซึ่งที่ประชุมฯได้มีการตั้งประเด็นสอบถามและข้อสังเกตเพิ่มเติมจากผู้แทนหน่วยงานภายนอก จึงเห็นควรหารือเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจในการดำเนินโครงการฯ ต่อไปได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ได้เสนอแนะให้ที่ปรึกษาโครงการฯ พิจารณาทบทวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมความพร้อมตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ก่อนที่จะเสนอให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป” เพจรอบรั้วชลประทานระบุ

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน มีนาคม 2565 ได้มีการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ โครงการศึกษาวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (4Ps) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ซึ่งผู้แทนกรมชลประทานนำเสนอว่าการสำรวจพื้นที่โครงการพบว่ามีประมาณ 29 ครัวเรือนที่จะได้รับผลกระทบ โดยพัฒนาการร่วมทุนเป็นรูปแบบ Public Private People Partnership หัวใจของโครงการคือร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสำหรับโครงการนี้ กฟผ. ก็มีความสำคัญเพราะโครงการต้องสูบน้ำ และเอกสารการประชุมระบุว่ามูลค่าการลงทุน ค่าใช้จ่ายโครงการ งานดำเนินงานและบำรุงรักษา และค่าลงทุนโครงการ อยู่ที่ 172,200.34 ล้านบาท-170,620.36 ล้านบาท

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน
  •  

Breaking News

บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ

ไฟเขียว! สภาสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ'ทรัมป์'

ทัพอากาศพม่าแค้น! ‘โจมตีคาเรนนี’อย่างหนัก-หลังเครื่องบินถูกสอยร่วง

ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved