วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ศาลสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ศาลสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

วันศุกร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : ศาลสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย
  •  

ปัจจุบันข้อพิพาทในคดีทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีแนวโน้มจะสูงมากขึ้นทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง จนมีประเด็นข้อถกเถียงว่าควรมีศาลสิ่งแวดล้อมและวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยหรือไม่ 

สำหรับในประเด็นนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า ข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการโต้แย้งอยู่หลายศาลไม่ว่าจะเป็น ข้อพิพาททางแพ่ง ข้อพิพาททางอาญา ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมข้อพิพาทต่อหน่วยงานรัฐซึ่งอำนาจของศาลปกครอง รวมถึงข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาล
แรงงาน  จะเห็นได้ว่าข้อพิพาทหรือคดีทางสิ่งแวดล้อมนั้น เกี่ยวพันกับอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลายศาล ซึ่งแต่ละศาลนั้น ก็มีวิธีพิจารณาคดีใช้บังคับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิธีพิจารณาคดีแพ่งวิธีพิจารณาความคดีอาญา วิธีพิจารณาคดีปกครอง วิธีพิจารณาคดีแรงงาน รวมถึงข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม โดยหากได้มีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมหรือวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม แล้วก็ตาม อาจจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติกล่าวคือ ระบบการพิจารณาคดีข้อพิพาท ทางสิ่งแวดล้อมนั้นมีทั้งข้อพิพาททางแพ่งรวมถึงข้อพิพาททางอาญาซึ่งในประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหา ข้อพิพาททางปกครองและข้อพิพาทแรงงานซึ่งในประเทศไทยใช้ระบบไต่สวน โดยหากรวมวิธีพิจารณาความเป็นเล่มและฉบับเดียวกันแล้วหรือมีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมแล้วจะทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่สามารถแยกประเภทของข้อพิพาทและเขตอำนาจศาลกันได้อย่างชัดเจน และจะเกิดปัญหาในการตีความเรื่องเขตอำนาจศาล ซึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ก่อมลพิษโดยเฉพาะผู้ประกอบการมากกว่าที่จะเกิดประโยชน์กับผู้เสียหาย เนื่องจากผู้ก่อมลพิษคงอาศัยช่องว่างในการตีความเรื่องเขตอำนาจศาลเป็นช่องทางการประวิงคดี   


แม้ในต่างประเทศ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสวีเดนประเทศอินเดีย ประเทศจีน รวมถึงประเทศมาเลเซีย จะได้มีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมหรือ วิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่ผู้เขียนกลับมีความเห็นว่าการอำนวยความยุติธรรมนั้น ไม่ใช่แต่กรณี มีศาลเฉพาะทางหรือกฎหมายเฉพาะทางเพียงอย่างเดียว แต่การผลักดันให้นักกฎหมายและประชาชนมีความรู้และความเข้าใจทางด้านกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะหากมีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมรวมถึงวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมแต่ยังไม่ได้ทำการเตรียมความพร้อม ให้กับทรัพยากรบุคคลทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาข้อพิพาทหรือคดีทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกัน แม้ในประเทศไทยยังไม่ได้จัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม หรือวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม แต่หากได้ผลักดันและให้ความรู้ โดยบรรจุหลักสูตรกฎหมายสิ่งแวดล้อม ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเนติบัณฑิตฯ รวมถึงให้ความรู้ด้านสิทธิหรือข้อมูลต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม กับประชาชนนักศึกษากลับเห็นว่า จะทำให้ประสิทธิภาพรวมถึงการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยดีมากขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ต้องเสียงบประมาณในการจัดตั้งศาลหรืองบประมาณในการจัดจ้างบุคลากรของศาล

ในประเด็นนี้คงต้องรอศึกษากันยาวๆว่าศาลสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจะสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่และจะสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยหรือไม่

  •  

Breaking News

'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.

'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม

'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน

เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved