ที่พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล ตำบลทุ่งหว้า (อ่านว่าทุ่ง-ว่า) อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยาและแหล่งเรียนรู้จังหวัดสตูล โดยนายไพรัช สุขงาม ผอ.ททท.สำนักงานสตูล นำคณะสื่อมวลชนเข้าชมและเรียนรู้เรื่องราวกำเนิดของแผ่นดินสตูล และการก้าวไปเป็นอุทยานธรณีโลก Satun UNESCO Global Geopark เพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนโดยมี นายทรงภพ วารินสะอาด รองผอ.อุทยานธรณีโลกสตูล / ปลัดอบต.ทุ่งหว้า พาชมหลักฐานธรณีวิทยา บกและท้องทะเล ซากดึกดำบรรพ์สตูล ฟอสซิล ฟันกรามช้างสเตโกดอนที่พบที่นี่ (สามารถติดต่อเข้าชมได้ที่อบต.ทุ่งหว้าตามวันเวลาราชการค่ะ)
ก่อนที่จะนำคณะนั่ง “รถไม้แดงทุ่งหว้า” (อ่านว่าทุ่ง-ว่า) ไปทานข้าวเพื่อเติมพลังกันกับ “อาหารพื้นบ้านโฮมสเตย์” ที่ วิสาหกิจชุมชนทุ่งหว้าโฮมสเตย์โกดอน ที่นี่บริการอาหารวันนี้ด้วยเมนู แกงไก่กับหยวกกล้วย, ปลาทอดกระเทียม, แกงปลาย่างใบเม่า (รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม) น้ำพริกผักพื้นบ้าน ข้าวสวยร้อนๆ ทานกันชนิดเจริญอาหารกันทีเดียว ที่นี่เค้าคิด อาหารมื้อเที่ยงหัวละ 250 บาท อาหาร 5 อย่าง ที่พักโฮมสเตย์ก็มีนะคะคนละ 390 + อาหารมื้อเช้า ติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก ปุษยา ทิพมณี โฮมสเตย์บ้านแม่แป้น โทร. 08-0867-8875
หลังจากอิ่มหนำสำราญคณะเราก็มุ่งหน้าไปที่“ถ้ำเล สเตโกดอน” ก่อนลงเรือก็ต้องทำความเข้าใจในกฎกติกาและระบบความปลอดภัยกันก่อนจากไกด์และสต๊าฟ จากนั้นก็ลุยกันเลย
ถ้ำเล สเตโกดอน (Tham Le Stegodon) เป็นถ้ำอยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาวมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีลักษณะคดเคี้ยวมีระยะทางจากปากถ้ำจนถึงทางออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สิ่งที่โดดเด่นของถ้ำแห่งนี้ที่สำคัญคือการพบซากดึกดำบรรพ์ของช้าง และ แรดสมัยไพลสโตซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง สกุลสเตโกดอน ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำเล สเตโกดอน” ซากดึกดำบรรพ์ ดังกล่าวเป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกราม ซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์เชื่อกันว่าการพบเจอฟันกรามช้างสกุลสเตโกดอน เป็นจุดกำเนิดเรื่อง
“ถ้ำเล สเตโกดอน” เป็นถ้ำน้ำเค็มที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชื่อเดิม “ถ้ำวังกล้วย” ตั้งอยู่ที่บ้านคีรีวงศ์ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า เป็นถ้ำธารลอดที่มีน้ำทะเลถึงปากทางเข้า ความกว้างประมาณ 10-20 เมตร และมีเพดานถ้ำสูงประมาณ 10-20 เมตร อยู่ในเทือกเขาหินปูนยุคออร์โดวิเชียนที่วางตัวแนวเหนือถึงใต้ยอดเขาสูงประมาณ 290 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกติดกับป่าชายเลนต้องล่องเรือขึ้นบกได้ที่ท่าเรือท่าอ้อย จัดเป็นถ้ำที่มีชีวิต
การเดินทางในครั้งนี้ของคณะสื่อมวลชน นอกจากจะได้พบความงดงามหินงอก หินย้อยตามจินตนาการแล้ว ยังพบแมงมุมถ้ำ และเป็นความโชคดีของคณะในครั้งนี้ที่ได้พบกับสัตว์หายากอย่าง “ปูเขาหินปูนทุ่งหว้า” ซึ่งมีน้อยคนนักที่ได้พบไกด์ชาวบ้านบอกว่า มีเพียง 5 ตัวเท่านั้นที่พบอาศัยในถ้ำแห่งนี้ อาศัยบนเพดานถ้ำที่สูง สีแดงเข้มสวยงามมาก ปูเขาหินปูนทุ่งหว้า มีลักษณะโดดเด่น คือขาค่อนข้างยาว กระดองสีแดงสด จับปิ้ง และด้านท้อง และขาก็มีสีแดงสวยงามสร้างความตื่นตาให้ผู้พบเห็น
นายบรรจง เกตแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวถ้ำเลสเตโกดอน กล่าวว่า นักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาเป็นครอบครัว หรือเป็นคณะ ติดต่อสอบถามผ่านอบต.ทุ่งหว้า ได้เลย ที่นี่มีความสวยงามของธรรมชาติมีหินย้อยที่เสมือน หัวใจช้างปอดช้าง และฟอสซิล หินงอกหินย้อยมากมาย อยากจะเชิญชวนท่านที่ไม่ค่อยมาเที่ยวชมกันเยอะๆ ครับ
อุทยานธรณีสตูล มีพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสตูลได้แก่อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง อำเภอละงู และเกาะอำเภอเมือง รวม 25,097 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาระดับนานาชาติ ด้านซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเล
มหายุคพาลีโซอิก (หรือประมาณ 542 ถึง 251 ล้านปีก่อน)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี