วันที่ 3 ธันวาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า
โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง
ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ
เมื่อระยะฟักตัวสั้นลงทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่ เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง
ในภาพรวมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย มากกว่า 90% มีภูมิต้านทานต่อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีน หรือโดยการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ติดเชื้อแล้ว มากกว่า 70 % ทำให้ได้รับเชื้อแล้วถึงแม้ว่าจะติดโรคได้ อาการจะน้อยลง
และในอนาคตภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และขยับเข้าตรงสายพันธุ์มากขึ้นจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี