วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘คณะเกษตรฯ ม.นครพนม’ประชุมเกษตรลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 1 ระดมนักวิชาการแพร่ความรู้

‘คณะเกษตรฯ ม.นครพนม’ประชุมเกษตรลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 1 ระดมนักวิชาการแพร่ความรู้

วันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 10.20 น.
Tag : เกษตรลุ่มน้ำโขงครั้งที่1 คณะเกษตรฯ ม.นครพนม
  •  

‘คณะเกษตรฯ ม.นครพนม’ประชุมเกษตรลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 1 ระดมนักวิชาการแพร่ความรู้

16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม ได้จัดการประชุมวิชาการเกษตรลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 1 (The 1st Agricultural Mekong Basin Conference) ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรเพื่อ BCG" โดย ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งลาวัลย์ เอี่ยมกุศลกิจ เป็นประธานในการเปิดการประชุมวิชาการดังกล่าว


ในงานประชุมวิซาการครั้งนี้ ได้มีการจัดบรรยายพิเศษ โดย ดร.จิตติมา เรืองรัตนากร CEO กลุ่มบริษัท นันทกรี จำกัด บรรยายในหัวข้อ "ปุ๋ยต่อคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรสู่ความมั่นคงในระดับอุตสาหกรรม และวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์เคมีด้วยเทคนิค Near Infrared Spectroscopy (NIRS)" และ ดร.กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธานกลุ่ม บริษัท นันทกรี จำกัด บรรยายพิเศษในหัวข้อ "วิกฤตการณ์ปุ๋ยเคมี และแนวทางการใช้ปุ๋ยเคมีอินทรีย์" ซึ่งกลุ่มบริษัท นันทกรี จำกัด เป็นผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีรายใหญ่ของประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ "มุกมังกร" ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านปุ๋ยทั้งในประเทศจีนและประเทศไทยมามากกว่า 20 ปี ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีเพื่อปรับปรุงดิน และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร อันเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

ดร.ชัชวาล แสงฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเกษตรและเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาต่างๆ ทางด้านการเกษตร ได้แก่ สาขาวิชาพืชศาสตร์,ประมง,เทคโนโลยีอาหาร,เครื่องจักรกลเกษตร และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านวิชาการระหว่างนักวิจัย นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในภาครัฐและเอกชนในหน่วยงาน และสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามข้อมูล ทิศทาง และการแลกเปลี่ยนในการพัฒนาทางด้านการวิจัย และพัฒนาทางวิชาการของประเทศ

ตลอดจนได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิจัย รับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิจัย ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ก่อเกิดนวัตกรรม การเรียนรู้ แนวคิดใหม่ๆในการพัฒนาและคิดค้นงานวิจัยสำหรับนักวิจัยมือใหม่ อาจารย์ นักวิชาการ และ นักศึกษา อีกทั้งเป็นช่องทางในการคัดสรรผลงานการวิจัยที่มีศักยภาพ นำไปประยุกต์ใช้กับชุมชน สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ในการประชุม  ยังมีการเสวนาวิชาการ หัวข้อ "นวัตกรรมเกษตรเชิงพื้นที่" ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาจ เภสัชชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพัฒน์ สุระนรากุล และ อาจารย์ ดร.คมศักดิ์ หารไชย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร ผาสุตะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งในงานประชุมวิชาการในหัวข้อดังกล่าว มีการบรรยายพิเศษเรื่องวิกฤตการณ์ปุ๋ยเคมี รวมถึงแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี  และเรื่องอนาคตพืชเศรษฐกิจ กัญชง กัญชา โดยมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เกษตรในทุกแขนงวิชา จำนวน 23 เรื่องประกอบในกิจกรรมด้วย โดยคาดหวังว่าเกษตรกรและนักวิชาการ ตลอดจนประชาชนจะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพต่อไป

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท นันทกรี จำกัด ได้มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับคณะเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อสร้างงานวิจัยในการพัฒนาคุณภาพพืชที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ยังผลต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอนในรูปแบบทวิศึกษา และสหกิจศึกษา และการเรียนการสอนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดย ดร.กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธานกลุ่มบริษัท นันทกรี จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯดำเนินกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพื่อนำผลงานวิจัยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมไทย จึงได้ริเริ่มที่จะสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับคณะเกษตรและเทคโนโลยี่ มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อบูรณาการงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นไปสู่การเรียนการสอน อีกทั้งเป็นการพัฒนางานวิจัยร่วมกับเกษตรกร และนักวิชาการในสังกัดคณะเกษตรฯ

ทางด้าน ดร.ถนอม ทาทอง คณบดีคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวว่า งานวิจัยครั้งนี้ทางคณะฯได้รับการสนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์เคมี”มุกมังกร” ตลอดงานวิจัยนี้สิ้นสุดลง เบื้องต้นได้นำไปทดลองใช้กับผลไม้ GI ประจำจังหวัดนครพนม คือ สับปะรดหวาน และ ลิ้นจี่  ตลอดจนพืชผัก รวมถึงกัญชง กัญชา เมื่อนำไปเทียบกับพืชชนิดเดียวกัน แต่ใช้ปุ๋ยที่ไม่เหมือนกัน ผลที่ได้รับคือความแตกต่างของผลผลิต

ดังนั้นคณะเกษตรฯจึงขอใบอนุญาตขายปุ๋ยได้ เลขที่ 201319370008/2566 โดยให้นักศึกษาเป็นเซลล์แมนจัดจำหน่าย ในราคา 1,300 บาท/50 กก. เพื่อเป็นการช่วยเหลือครอบครัวในทางอ้อมด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามสั่งซื้อได้ที่ 093-3236993 คุณนิคม ศรีหะมงคล และ 084-5162624 คุณสุนทร วะโรลม

ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 1 "นวัตกรรมเกษตรเพื่อ BCG" (Agricultural Innovation for BCG) ในครั้งนี้  คือ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

(S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม

ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การนำ BCG Model มาใช้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรจากเดิมที่ "ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย" (More for Less) ไปสู่การผลิตสินค้าพรีเมี่ยมที่ "ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก" (Less for More) เช่น การเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบโรงเรือน

(Green h ouse) และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการดึงสารสำคัญหรือคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ในสินค้าเกษตรและพืชสมุนไพร

BCG Model ยังสนับสนุนให้เกษตรกรนำทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรไทย และยังได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ได้คุณภาพและปริมาณคงที่ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพคงที่มาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ริเริ่มจัดโครงการจัดประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 1 "นวัตกรรมเกษตรเพื่อ BCG" (Agricultural Innovation for BCG) ซึ่งจะเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านวิชาการ ระหว่างนักวิจัย นักศึกษา นักวิชาการทั้งในภาครัฐและเอกชนฯ เพื่อให้เกิดเป็นเวทีวิชาการระดับชาติ ที่รวบรวมผลงานทางวิจัยอันทรงคุณค่า และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากงานวิจัยเป็นวงกว้าง

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘รพ.ราชทัณฑ์’ร่อนหนังสือแจง ยังไม่ได้ฟ้องศาลเพิกถอนมติ‘แพทยสภา’

ตกใจเจอตำรวจ! กลุ่มวัยรุ่นขี่จยย.กลับรถกระทันหัน กระบะทางตรงพุ่งชนซ้ำดับ

‘กกต.’ยันคดี‘ฮั้วเลือก สว.’ทำตามขั้นตอน ไม่เร่งรีบปัดโดน‘ดีเอสไอ’บีบ

แชร์อุทาหรณ์! ร้านเสริมสวย'กัดสีผม'จนหัวเหวอะ เตือนภัยต้องทำกับช่างผู้เชี่ยวชาญ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved