วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิจัย ม.อ. ค้นพบ ‘เอื้องแฝงบริพัตร’  กล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัย ม.อ. ค้นพบ ‘เอื้องแฝงบริพัตร’ กล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก

วันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : นักวิจัย ม.อ. เอื้องแฝงบริพัตร กล้วยไม้
  •  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยคณะวิทยาศาสตร์ ค้นพบกล้วยไม้อาศัยราชนิดใหม่ของโลก “เอื้องแฝงบริพัตร” ที่บริเวณน้ำตกบริพัตร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีลักษณะเด่นคือ ดอกมีสมมาตรรัศมี มีดอกจำนวนมากบริเวณต่อช่อ ดอกสีขาวครีมหรือสีเหลืองอ่อน โชว์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร PhytoKeys สามารถนำมากระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ พร้อมเตรียมต่อยอดศึกษาชีววิทยาการถ่ายละอองเรณูรวมทั้งการอยู่อาศัยร่วมกับรา


รศ.ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า “เอื้องแฝงบริพัตร” หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ “Aphyllorchis periactinantha” โดยลักษณะเด่นของกล้วยไม้ชนิดนี้คือ ดอกมีสมมาตรรัศมี ซึ่งได้ค้นพบที่บริเวณน้ำตกบริพัตร และยังมีรายงานพบกล้วยไม้ชนิดนี้ที่บ้านยางเกาะ จังหวัดสงขลาและพื้นที่อื่นในจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้อาศัยราสกุล (Aphyllorchis Blume) ลำต้นใต้ดินตั้งตรงมีรากสั้นๆ อวบน้ำจำนวนมาก ช่อดอกสูงได้ถึง 150 เซนติเมตร และมีดอกจำนวนมากบริเวณต่อช่อ ดอกสีขาวครีมหรือสีเหลืองอ่อน กลีบปากมีรูปร่างคล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันลดรูปไม่แผ่เป็นปีก ช่วงเวลาออกดอกและติดผล เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม กล้วยไม้ดังกล่าวจัดว่าเป็นพืชที่ไม่มีมูลค่า แต่สามารถนำมากระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรรมชาติวิทยาของพื้นที่อนุรักษ์ได้ โดยภายหลังการค้นพบในครั้งนี้ นักวิจัย ม.อ. ทำการศึกษาชีววิทยาการถ่ายละอองเรณูรวมทั้งการอยู่อาศัยร่วมกับรา และจะศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกล้วยไม้ชนิดนี้และชนิดใกล้เคียงตลอดจนการสำรวจพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม

“การศึกษากล้วยไม้เอื้องแฝงบริพัตร ทำให้นักวิจัยได้เข้าใจธรรมชาติวิทยามากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่พบกล้วยไม้ชนิดนี้เคยถูกรบกวนจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมาก่อน แต่หลังจากทาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทยเข้ามาบริหารจัดการพื้นใหม่ทำให้ระบบนิเวศฟื้นฟูด้วยตนเอง พื้นป่าจึงมีการสะสมของซากใบไม้ทับถมมากขึ้น เชื้อราและจุลินทรีย์เฉพาะถิ่นอื่นๆ ก็กลับมา ทำให้พบพืชอาศัยราที่มีความเฉพาะเจาะจงกับถิ่นอาศัยสามารถเจริญอยู่ได้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำความหลากหลายทางชีวภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องให้ความสำคัญของความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ” รศ. ดร.สหัช กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘รพ.ราชทัณฑ์’ร่อนหนังสือแจง ยังไม่ได้ฟ้องศาลเพิกถอนมติ‘แพทยสภา’

ตกใจเจอตำรวจ! กลุ่มวัยรุ่นขี่จยย.กลับรถกระทันหัน กระบะทางตรงพุ่งชนซ้ำดับ

‘กกต.’ยันคดี‘ฮั้วเลือก สว.’ทำตามขั้นตอน ไม่เร่งรีบปัดโดน‘ดีเอสไอ’บีบ

แชร์อุทาหรณ์! ร้านเสริมสวย'กัดสีผม'จนหัวเหวอะ เตือนภัยต้องทำกับช่างผู้เชี่ยวชาญ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved