15 มีนาคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) : ตรวจวัดได้ 34-67 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 27 พื้นที่ คือ ...
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
3.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
4.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
6.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
7.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
10.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
11.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
12.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
13.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
14.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
16.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
18.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
19.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
20.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
21.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
23.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
24.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
25.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
26.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
27.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำ
- ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร : ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน
ด้านเว็บไซต์ www.iqair.com เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก รายงานล่าสุดวันนี้พบว่า 'กรุงเทพมหานคร' ประเทศไทย อยู่ในอันดับ 10 ของโลก มีค่าฝุ่น PM2.5 ถึง 155 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความเข้มข้น PM2.5 ในเชียงใหม่ขณะนี้เป็น 12.6 เท่าของค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลก คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อทุกคน
อีกทั้งยังพบว่าพื้นที่นครพนม, จังหวัดนครพนม วันนี้ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงถึง 259 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับสีม่วง
คำแนะนำป้องกันตัวจากมลพิษทางอากาศให้ประชาชนสวมหน้ากากภายนอกบ้าน ,เปิดเครื่องฟอกอากาศ ,ปิดหน้าต่างของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศภายนอกบ้านที่สกปรก , หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกบ้าน