วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
กยท. นำหลัก'เชื้อรากำจัดเชื้อรา' แก้ปัญหาโรคใบร่วงยางพารา

กยท. นำหลัก'เชื้อรากำจัดเชื้อรา' แก้ปัญหาโรคใบร่วงยางพารา

วันจันทร์ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566, 15.29 น.
Tag :
  •  

กยท.น้อมนำพระราชดำริ ใช้หลักการธรรมชาติบำบัดใช้ “เชื้อรากำจัดเชื้อรา” แก้ปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวนยางของเกษตรกรสามารถกลับมากรีดได้ตามปกติ มั่นใจจะทำให้การระบาดลดลงอย่างแน่นอน พร้อมเดินหน้าจับมือเกษตรกรจัดทำแปลงสาธิตในทุกจังหวัด เพื่อขยายผลสู่สวนยางของเกษตรกรทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรมให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ 

                นายขจรจักษณ์  นวลพรหมสกุล   รองผู้ว่าการด้านบริหาร การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)  เปิดเผยว่า  กยท.ได้น้อมนำพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัช กาลที่ 9  และพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว   มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราจนประสบผลสำเร็จ สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่เคยระบาดสูงสุดถึงประมาณ 1 ล้านไร่ ขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดเหลือประมาณ 630,000 ไร่ และมีแนวโน้มการระบาดลดลงอย่างต่อเนื่อง


                สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2560 ในสวนยางพาราประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย พบโรครวมกันมากกว่า 2 ล้านไร่ จากนั้นเริ่มระบาดเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ตอนล่าง เริ่มจากสวนยางพาราในจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2562 และแพร่กระจายขึ้นมาระบาดในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ตอนบน และภาคตะวันออกตามลำดับ การระบาดรุนแรงต่อเนื่องจนถึงปี 2564-2565 มีสวนยางพาราทั่วประเทศได้รับผลกระทบรวมพื้นที่ประมาณ 1,000,000 ไร่ คิดมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท
                อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปี 2565  กยท.ได้นำแนวพระราชดำริมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ ทำให้การระบาดลดลง  โดยใช้หลักการธรรมชาติบำบัด  ใช้ “เชื้อรากำจัดเชื้อรา”  คือ เชื้อไตรโคเดอร์มา  ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ มาฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคร่วงชนิดใหม่คือ เชื้อรา Colletotrichum sp.  ด้วยการใช้อัตราปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม เชื้อราไตรโคเดอร์สด 1 กิโลกรัม และรำ 4 กิโลกรัม ใช้หว่านในสวนยางพาราที่เป็นโรคใบร่วง 1 ไร่ หรือถ้าเกษตรกรต้องการฉีดพ่นให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์สด 1 กิโลกรัมผสมน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 200 ลิตร ฉีดพ่นในสวนยางพาราที่เป็นโรคใบร่วง 1 ไร่ โดยหว่านหรือฉีดพ่นให้ครอบคลุมบนใบยางพาราที่ร่วงหล่นทั่วทั้งสวน ทุก 3 เดือน

                “การแก้ปัญหาระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ดังกล่าว  กยท.ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรมส่งเสริมการ เกษตรในการเพาะเชื้อไตรโคเดอร์มาพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเพาะเชื้อใช้เอง โดยไม่ต้องซื้อ  และกรมพัฒนาที่ดิน ในเรื่องสารเร่ง พ.ด. เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา บวกกับปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ทำให้ต้นยางมีความสมบูรณ์ แข็งแรง  โรคต่างๆก็จะเข้าทำลายได้ยาก นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนลดลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าปุ๋ยเคมีไม่ดี  แต่เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก  ซึ่งจะได้ประโยชน์ถึง 3 อย่าง คือ 1.ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น 2.ต้นยางแข็งแรง และ 3.ลดต้นทุนการผลิตเพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับเชื้อไตรโคเดอร์มาและน้ำหมักชีวภาพ เกษตรกรจะลงทุนแค่ 300 บาทต่อไร่เท่านั้น" นายขจรจักษณ์ กล่าว

                รองผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อว่า  กยท.ตั้งเป้าว่า จะหยุดการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ให้ได้  ทั้งนี้ล่าสุด กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “โครงการการป้องกันและควบคุมโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา : การขยายผลสู่การปฏิบัติในแปลงเกษตรกร” ใน 4 พื้นที่ คือ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่จังหวัดสงขลา  พื้นที่ภาคใต้ตอนกลางที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภาคใต้ตอนบนที่จังหวัดชุมพร  และภาคตะวันออกที่จังหวัดระยอง   เพื่อให้พนักงาน กยท.  เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา  รับทราบพื้นที่การระบาด ผลกระทบจากการระบาดของโรค พร้อมทั้งได้มีการสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา และการนำไปใช้ป้องกันและควบคุมโรคในสวนยาง เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติในสวนยางของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการและบริบทในแต่พื้นที่ยิ่งขึ้น ช่วยบรรเทาความรุนแรงและควบคุมการแพร่ระบาดให้เหลือน้อยลงเป็นโรคยางปกติทั่วไปหรือค่อยๆหมดไปในที่สุด  

                นอกจากนี้ กยท. ยังได้มีการจัดทำแปลงสาธิตในการกำจัดโรคใบร่วงชนิดใหม่ในทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างน้อยจังหวัดละ 5 แปลง โดยมีศูนย์วิจัยยางเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและการดูแลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อใช้เป็นแปลงตัวอย่างในการขยายผลไปแก้ปัญหาการระบาดในสวนยางอื่นๆ  ซึ่ง กยท. ตั้งเป้าหมายในปีงบประมาณ 2566 มีพื้นที่สวนยางที่จะขยายผลจำนวน 16,200 ไร่ เป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรสามารถกรีดยางได้ตามปกติ เนื่องจากสวนยางพาราที่เป็นโรคใบร่วงชนิดใหม่นั้น จะไม่สามารถกรีดยางได้ ทำให้เกษตรกรไม่มีรายได้ และไม่มีเงินใช้ดำรงชีวิตและดูแลสวนยาง

                "หลังจากที่เกษตรกรนำแนวทางการแก้ปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ดังกล่าว ไปใช้ในแปลงสวนยางสาธิต พบว่า ไม่มีเชื้อรา Colletotrichum ที่เป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว เกษตรกรสามารถกลับมากรีดยางได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากเดิมที่กรีดไม่ได้เลย และคาดว่าจะสามารถกรีดได้ตามปกติคือ กรีดยาง 2-3 วัน เว้น 1 วัน ได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางกลับมามีรายได้เช่นเดิม” รองผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย

               

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มกอช.ย้ำมาตรฐานล้งทุเรียนต้องขออนุญาตก่อนส่งออก มกอช.ย้ำมาตรฐานล้งทุเรียนต้องขออนุญาตก่อนส่งออก
  • ‘ซีพีเอฟ’คิกออฟ‘กองทุนปลากะพงขาว’ ช่วยเกษตรกรกำจัด‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อเลี้ยงหอยแครง ‘ซีพีเอฟ’คิกออฟ‘กองทุนปลากะพงขาว’ ช่วยเกษตรกรกำจัด‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อเลี้ยงหอยแครง
  • \'เลขาธิการ มกอช.\'ย้ำมาตรฐานใหม่\'ล้งทุเรียน\'บังคับใช้ 10 ก.ค.นี้ ต้องขอใบอนุญาตก่อนส่งออก 'เลขาธิการ มกอช.'ย้ำมาตรฐานใหม่'ล้งทุเรียน'บังคับใช้ 10 ก.ค.นี้ ต้องขอใบอนุญาตก่อนส่งออก
  • 2 รมต.เกษตรฯควง\'ธรรมนัส\'ลุย\'สกลนคร-ร้อยเอ็ด\' Kick off โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 2 รมต.เกษตรฯควง'ธรรมนัส'ลุย'สกลนคร-ร้อยเอ็ด' Kick off โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย
  • ก.เกษตรฯหนุนสินค้าเกษตรท้องถิ่นมูลค่าสูง ก.เกษตรฯหนุนสินค้าเกษตรท้องถิ่นมูลค่าสูง
  • ก.เกษตรฯดันปลานิลแปลงใหญ่พื้นที่ชลบุรีต้นแบบ ก.เกษตรฯดันปลานิลแปลงใหญ่พื้นที่ชลบุรีต้นแบบ
  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved