วันอังคาร ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ชาวอุดร 116 คนยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนออกประทานบัตรเหมืองโปแตช

ชาวอุดร 116 คนยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนออกประทานบัตรเหมืองโปแตช

วันพุธ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566, 20.52 น.
Tag : เหมืองโปแตช ประทานบัตร ศาลปกครอง ชาวอุดร
  •  

ชาวอุดร 116 คนยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนการออกประทานบัตรเหมืองโปแตช

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566  ที่ศาลปกครองจังหวัดอุดรธานี กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีได้รวมตัวกันกว่า 200 คนและได้เดินทางไปยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองจังหวัด เพื่อขอให้ศาลปกครองจังหวัดมีคำสั่งและคำพิพากษา ยกเลิกเพิกถอนการออกประทานบัตร รวมถึงกระบวนการ และขั้นตอนทั้งหมดเกี่ยวกับการออกประทานบัตรเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี


ทั้งนี้นางมณี  บุญรอด ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 116 คนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องศาลปกครองโดยมอบอำนาจให้ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ดำเนินการฟ้องหน่วยงานรัฐ จำนวน 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  คณะรัฐมนตรี  คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี  สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านเหมืองแร่ฯและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 116 ราย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้  1.พิพากษาให้ ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี ทั้ง 4 แปลง ของบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นประทานบัตรที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวเสีย 2.พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนการขั้นตอนที่มีการดำเนินการเพื่อพิจารณาประกอบการออกประทานบัตร ทั้งหมด โดยให้มีผลนับแต่วันที่จัดทำเอกสาร

3.พิพากษาให้เพิกถอนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ของของบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ทั้ง 4 แปลง ที่ได้ให้ความเห็นชอบโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 7 และรับรองโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8 เนื่องจากได้ใช้ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนไปใช้ในการดำเนินการดังกล่าว และไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

4.พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และการทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการออกประทานบัตรของหน่วยงานราชการ

นายสมยศ นิคำ อายุ 70 ปี สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า สาเหตุที่ฟ้องร้องเพราะว่า 4-5ปีที่ผ่านมา พวกตนได้พยายามต่อสู้ในเรื่องการไต่สวนให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเคยมายื่นฟ้องยังศาลปกครองครั้งหนึ่งแล้ว แต่มาในตอนนี้ทางบริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องพยายามรื้อฟื้นการทำเหมืองขึ้นมาใหม่ เคยพยายามยื่นเรื่องร้องเรียนไปเพื่อให้กระบวนการนั้นได้กลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่คือ การใช้กระบวนการตาม พ.ร บ.เหมืองแร่ปี 2560 ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่

นายสมยศกล่าวว่า จนมาถึงตอนนี้ คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติอนุมัตไฟเขียวให้มีการสัมปทานเหมืองแร่ได้ ซึ่งพวกตนกังวลใจ แต่ก็ยังต้องต่อสู้ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เพราะที่กลุ่มอนุรักษ์ฯต่อสู้ด้วยข้อมูลที่แท้จริงมาโดยตลอด

ด้านนายอนุวัฒน์ อบโอ อายุ 37 ปี ทนายความจากจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า หลังจากที่ยื่นคำฟ้องไปแล้วกระบวนการขั้นต่อไปของทางศาลเองก็คือเจ้าหน้าที่ศาลจะตรวจคำฟ้องว่าครบถ้วนหรือไม่และประเด็นคำฟ้องที่ยื่นไปทางศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ อีกประการหนี่งก็คือทางเราเองได้ส่งให้ทางศาลปกครองส่งคำร้องต่าง ๆ ให้แก่ทางหน่วยงานราชการเพื่อทำหนังสือโต้แย้งและจะต้องทำหนังสือโต้ตอบเอกสารไปจนกว่าจะเป็นที่พอใจในกรณีที่ทางศาลต้องการข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างพิจารณา

นายวีรวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า อยากจะขอให้ทางศาลอนุมัติคุ้มครองชั่วคราวเพื่อไม่ให้โครงการเหมืองแร่โปแตชเดินหน้าต่อไปได้เนื่องจากกระบวนการที่เรามองปกติแต่อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ดังนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชาวบ้านไปมากกว่าเดิมจึงมีเหตุผลที่จะขอคุ้มครองชั่วคราว และกระบวนการอีกอย่างคืออยากจะให้ศาลลงพื้นที่ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า"เดินเผชิญสืบ"ตามที่ชาวบ้านกล่าวว่าพื้นที่นั้นไม่มีความเหมาะสมอย่างไรหรือสภาพหนองน้ำ และเนินแถวนั้นเป็นอย่างไร

ขณะที่ น.ส.สิริวจี ทรัพย์สมาน ตัวแทนกลุ่มเยาวชน ได้อ่านคำประกาศโดยมีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า พวกตนจะไม่เลือกพรรคการเมือง ที่เอาเหมืองแร่โปแตช ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ได้รวมตัวกันคัดค้านโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2544 ในนาม “กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี” โดยใช้กระบวนการต่อสู้ผ่านอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย คือ 1.นิติบัญญัติที่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่าด้วยเรื่องสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วม ขณะที่ระดับท้องถิ่นคือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ก็มีมติไม่เห็นชอบโครงการ 2.อำนาจบริหาร โดยกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยื่นข้อเรียกร้องคัดค้านโครงการฯ ตั้งแต่ระดับนายก อบต. กระทั่งถึงนายกรัฐมนตรี 3. อำนาจตุลาการ ซึ่งกลุ่มชาวบ้าน ใช้ช่องทางการต่อสู้ผ่านกระบวนการยุติธรรม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'กำนันบอย\'นำชาวบ้านบุกยื่นหนังสือผู้ว่าฯกาญจน์คัดค้านขอประทานบัตรเหมืองแร่โรงโม่หิน 'กำนันบอย'นำชาวบ้านบุกยื่นหนังสือผู้ว่าฯกาญจน์คัดค้านขอประทานบัตรเหมืองแร่โรงโม่หิน
  • สืบสานพิธี\'บุญกุ้มข้าว\' ระดมทุนต่อสู้เหมืองโปแตช สืบสานพิธี'บุญกุ้มข้าว' ระดมทุนต่อสู้เหมืองโปแตช
  •  

Breaking News

ยะลาฝนถล่มหนัก! เตือนปชช.ระวังถนนลื่น หลังรถตกข้างทางจุดเดิมรายวัน

เซ่น‘ส่วยสติ๊กเกอร์’!ล็อกเป้าเชือด-เด้ง 6 ตำรวจทางหลวง สอบย้อนหลัง 2 ปี 50 ด่านชั่ง

เช็คอาการ‘บิ๊กตู่’ปมมีชื่อเป็นแคนดิเดตโหวตชิงนายกฯ หากพรรคอันดับ 1-2 ชวดตั้งรัฐบาล

อ่วมหนัก! เตรียมแจ้งข้อหา 'แอม ไซยาไนด์' รวมเกือบ 80 ข้อหา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved