เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 10 พ.ค.66 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายชิติวัฒน์ ชูรัตน์หิรัญโชติ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ พบซากโลมาอิรวดี หรือโลมาหัวบาตร ลอยอยู่ในคลองตาเพิ่ม หมู่ที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ ก่อนที่จะลากมาเกยตื้นบริเวณท่าเรือคลองตาเพิ่ม
เมื่อไปตรวจสอบบริเวณท่าเรือคลองตาเพิ่มพบซากโลมาชนิดอิรวดี หรือโลมาหัวบาตร ขนาดความยาวสังเกตุด้วยสายตาประมาณ 2.5 เมตรอายุประมาณ 4-5 เดือนเศษ เสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกล่าว 2-3 วัน ส่วนเพศยังไม่สามารถระบุได้เนื่องจากจะต้องรอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบซากโลมา บริเวณครีบด้านข้างพบบาดแผลเป็นเป็นวงขนาดใหญ่ บริเวณใต้ท้องใกล้อวัยวะเพศพบเป็นแผลฉีดขาดขนาดใหญ่ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าบาดแผลเกิดจากอะไร มีเลือดไหลนองตลอด บริเวณเนื้อที่หางเริ่มเปลื่อยยุยคาดน่าจะเกิดจากเน่าเปื่อย
จากการสอบถามนายชิติภัทร ชูรัตน์หิรัญโชติ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า ทราบว่าเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาตนได้รับแจ้งจากลูกบ้านว่าพบกลิ่นเหม็นคล้ายซากศพออกมาจากป่าโกงกางข้างบ้าน จึงเดินสำรวจดูจนมาพบซากปลาโลมาลอยติดอยู่ จึงได้โทรศัพท์มาแจ้งกับตนก่อนที่จะนำเรือออกตรวจสอบดูจนมาพบว่าเป็นซากโลมา ก่อนที่จะนำเชือกที่อยู่ในเรือมาคล้องเกี่ยวหางลากเข้าฝั่งเพื่อตรวจสอบพร้อมโทรศัพท์ไปแจ้งยังนายขจิตเวช แก้วน้อย นายอำเภอพระสมุทรเจดีย์ เพื่อประสานเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอพระสมุทรเจดีย์ให้มาตรวจสอบซากปลาโลมาว่าเสียชีวิตสาเหตุอะไร
ผู้ใหญ่บ้านยังกล่าวต่ออีกว่า บริเวณนี้คาดว่ายังมีฝูงโลมาจำนวนมากและมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเคยพบเห็นฝูงโลมาว่ายน้ำออกหากินบริเวณปากอ่าวไทยใกล้ฐานทัพเรือกรุงเทพฯ ป้อมพระจุลจอมเกล้าและบริเวณท่าน้ำหน้าวัดขุนสมุทรจีน ซึ่งซากโลมาชนิดนี้จากการสอบถามผู้ที่มีความรู้ว่าเป็นพันธุ์ที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งจะพบได้บริเวณชายฝั่งทะเล ได้แก่ จ.จันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาครและอีกหลายจังหวัดที่ติดพื้นที่ชายทะเล ซึ่งโลมาดังกล่าวจะออกหากินแบบเป็นฝูง
สำหรับ โลมาอิรวดี หรือโลมาหัวบาตร มีครีบหลังเป็นโลมาชนิดหนึ่งรูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180-275 เซนติเมตร มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย - 003