วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ความเสมอภาค? 'หมอธีระวัฒน์'ยกบทความ 'ประวัติศาสตร์อัปยศ วิจัยทางการแพทย์'

ความเสมอภาค? 'หมอธีระวัฒน์'ยกบทความ 'ประวัติศาสตร์อัปยศ วิจัยทางการแพทย์'

วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 10.39 น.
Tag : อัปยศ ประวัติศาสตร์ หมอธีระวัฒน์ วิจัยทางการแพทย์
  •  

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า ประวัติศาสตร์อัปยศ วิจัยทางการแพทย์

หนึ่งในการวิจัยทดลองทางการแพทย์ที่จัดว่า”ชั่วช้าสามานย์” คือการเอาคนอเมริกันดำที่ติดเชื้อโรคซิฟิลิสและศึกษาต่อเนื่องเพื่อดูว่าโรคทำให้เกิดอะไรขึ้น ทั้งที่มียารักษาซิฟิลิสแล้วคือเพนนิซิลิน


การศึกษานี้คือ the Tuskegee study of untreated syphilis in the African American male ซึ่งเป็นการศึกษาในมนุษย์ที่ทอดระยะยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ โดยไม่ได้ให้การรักษาอย่างใดทั้งสิ้น...

เริ่มตั้งแต่ปี 1932 โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ United States, Public Health Service (USPHS) วางแผนการศึกษาวิจัย เพื่อจะดูว่าเมื่อติดเชื้อซิฟิลิสแล้วไม่ได้ให้การรักษาจะเกิดอะไรขึ้น โดยชักชวนคนอเมริกันดำ 400 คนใน Tuskegee Macron county Alabama และเปรียบเทียบกับอีก 200 คนที่ไม่ได้มีการติดเชื้อ

การชักชวนเชิญชวนประกอบไปด้วย การให้คำสัญญาว่าเป็นการเข้าโครงการที่มีการรักษาฟรีเป็นพิเศษ ซึ่งความจริงแล้วคือการเจาะน้ำไขสันหลังโดยไม่ต้องใช้ยาชา และดูผลกระทบที่เกิดขึ้นทางระบบประสาท จากการที่เชื้อซิฟิลิสเข้าไปในร่างกายและเข้าไปในสมอง

ทั้งนี้ ไม่มีใครในกลุ่มที่ถูกหลอกมานี้รู้ว่าโครงการศึกษานี้ผลลัพธ์จะเกิดอะไรขึ้น

ผู้ติดเชื้อทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการรักษาโดยการให้โลหะหนัก (heavy metals) ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไร แม้จนกระทั่งถึงในปี 1940 ซึ่งพบว่าเพนนิซิลินสามารถใช้รักษาโรคนี้ได้อย่างชะงัดและปลอดภัย

ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ถูกปฏิเสธที่จะได้รับยาปฏิชีวนะดังกล่าวมาตลอด แม้จวบจนในปี 1950 ซึ่งเพนนิซิลินมีการใช้และสามารถหาได้อย่างกว้างขวางในสหรัฐ อเมริกา และถือเป็นการรักษามาตรฐานของโรคซิฟิลิส

หน่วยงาน USPHS ที่ทำการวิจัยยังทำการขัดขวาง อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้มีการรักษาหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน...รายงานการวิจัยได้ถูกตีพิมพ์ฉบับแรกในปี 1936 และหลังจากนั้นมีการตีพิมพ์ผลงานทุกสี่ถึงหกปีจนกระทั่งถึงปี 1970 ในปี 1969

คณะกรรมการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC ได้ตัดสินใจให้ยังคงมีการศึกษาต่อ

ในปี 1972 เมื่อข้อมูลการศึกษาต่างๆเหล่านี้ ปรากฏในสื่อมวลชนทำให้หน่วยงานของรัฐ Department of Health, Education and Welfare (HEW) สั่งห้ามการวิจัยนี้

ณ ขณะนั้นเองกลุ่มผู้ติดเชื้อยังมี 74 ราย ที่ยังคงมีชีวิตอยู่และอย่างน้อย 28 ราย ซึ่งโดยแท้จริงแล้วอาจจะมากกว่า 100 ราย ได้เสียชีวิตไปจากซิฟิลิส โดยตรงซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ หลังจากที่เริ่มมีการติดเชื้อ

คณะกรรมการสืบสวนที่ตั้งขึ้นจากหน่วยงาน HEW ในเดือนสิงหาคม 1972 สรุปว่า การศึกษาดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม โดยที่ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลินต้องนำมารักษาผู้ติดเชื้อ

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองทำให้มีการผ่านกฎหมายในการทำวิจัยของประเทศในปี 1974 โดยกำหนดไว้ชัดเจนว่าการศึกษาในมนุษย์ของหน่วยงานของรัฐบาลกลางจะต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติก่อน

ในปี 1992 มีการชดเชยค่าเสียหายประมาณ 40,000 ดอลลาร์ต่อผู้ที่ยังรอดชีวิตอยู่ ภายใต้เงื่อนไขสัญญารอมชอม ในการฟ้องร้องและประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คือบิล คลินตัน ได้ออกมากล่าวขอโทษต่อสาธารณชน และต่อผู้ที่ยังรอดชีวิตที่ยังเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อยนิดในเดือนเมษายน 1997

บทเรียนของการศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการปกปิดข้อมูลที่แท้จริง ไม่ให้กลุ่มที่ร่วมทำการวิจัยได้รับทราบและมีการเบี่ยงเบนประเด็น และการให้คำมั่นสัญญาจนกระทั่งผู้เข้าร่วมวิจัยลังเลที่จะปฏิเสธ นอกจากนั้นการวิจัยนี้ถือเป็นการเอาเปรียบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชนที่มีความเหลื่อมล้ำในด้านเศรษฐานะและความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และสร้างภาพกลุ่มแพทย์และพยาบาลที่เข้ามาดูแลกลุ่มผู้อยู่ในการวิจัยเหล่านี้เป็นเสมือนผู้มาช่วยชีวิตบริบาลรักษา

ข้อมูลที่ให้แก่คนติดเชื้อ

เหล่านี้เป็นการหลอกลวงและไม่มีการอธิบายใดๆทั้งสิ้นเกี่ยวกับโรคติดเชื้อซิฟิลิส การดำเนินของโรคว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งหมอและพยาบาลรับทราบและรับรู้มาตลอดและไม่ยอมให้การรักษาใดๆทั้งสิ้น

และยังใช้คำว่าเป็นโรคเลือดเสีย เลือดเลว หรือเลือดไม่ดี (bad blood) ซึ่งเป็นคำรวมของภาวะหรือโรคอะไรก็ได้ ตั้งแต่เลือดจางไปจนกระทั่งถึงมะเร็งของเม็ดเลือดขาว

และไม่เคยมีการบอกแก่ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ว่าแท้จริงเป็นโรคซิฟิลิส และยังหลอกลวงว่าการเจาะน้ำไขสันหลัง (spinal tap) เพื่อที่จะเอามาทำการศึกษา เป็นการให้การรักษาสำหรับโรคหรือความทุกข์ทรมานที่เป็นอยู่

ในการสอบสวนนั้นกลุ่มผู้วิจัยได้อธิบายว่า ที่ไม่ให้

เพนนิซิลินเพราะอาจจะไม่ได้เป็นการช่วยตัวโรคที่เป็นอยู่แล้วและเกิดความเสียหายต่อระบบประสาทไปแล้ว และนอกจากนั้นอาจจะมีปฏิกิริยาต่อยาปฏิชีวนะ

เพนนิซิลินทำให้เกิดไข้ หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ และนำไปใช้เป็นข้ออ้าง โดยยังกล่าวว่า ผลของการให้ยาเพนนิซิลินนั้นในระยะกลางระยะยาว อาจเกิดผลร้ายก็ได้ เพราะยาเพิ่งออกมาในขณะนั้นพอดี

ดังนั้น การไม่รักษาน่าจะมีประโยชน์มากกว่า ทั้งๆที่ในคนที่ติดเชื้อซิฟิลิสอื่นๆในประเทศสหรัฐฯนั้น ต่างก็ได้รับการรักษาด้วย

เพนนิซิลินทั้งหมด

ข้ออ้างต่างๆเหล่านี้จนกระทั่งข้อแก้ตัวที่อ้างว่า การรักษาไม่รู้จะได้ผลหรือเปล่าในขณะที่โรคยังอยู่ในระยะฟักตัว ทำให้ไม่มีการรักษาใดๆเกิดขึ้น จวบจนกระทั่งการ ทดลองนี้จบลงในปี 1972 และงบในการทดลองวิจัยก็ยังคงไม่ถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้

นอกจากนั้นการทดลองนี้ยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ออกมาจากทางรัฐอลาบามาในปี 1927 ที่กำหนดไว้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งรวมทั้งซิฟิลิสด้วย จะต้องมีการแจ้งให้ทางการรับทราบ ดังนั้น USPHS จงใจที่จะฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐและยังทำให้โรคซิฟิลิสมีโอกาสแพร่ไปติดภรรยาของกลุ่มผู้ชายที่อยู่ในการทดลองนี้

จากนั้นยังมีประเด็นที่สำคัญก็คือ รายงานในการติดตามกลุ่มที่อยู่ในการทดลองนี้ถูกปกปิด จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากซิฟิลิสที่แน่นอนนั้นไม่เป็นที่ทราบชัด

มีการประเมินคร่าวๆว่ามีผู้รอดชีวิตอยู่เป็นจำนวนระหว่าง 76 ถึง 111 ราย และจำนวนผู้ที่กำลังจะเสียชีวิตจะอยู่ระหว่าง 28 ถึง 101 ราย

ความมีอคติของกลุ่มแพทย์และพยาบาลที่ทำการทดลองวิจัยต่อกลุ่มชนผิวดำ มีผลต่อการประพฤติและปฏิบัติด้วยความอยุติธรรม...

ประเด็นสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดจริยธรรมและความมีศีลธรรมในสังคมแพทย์ นั่นก็คือรายงานการดำเนินของโรคในขั้นตอนต่างๆจากการติดเชื้อซิฟิลิสนั้นปรากฏในวารสารทางการแพทย์อยู่ตลอดระยะเวลา 40 ปี โดยไม่เคยมีการตั้งคำถามหรือการต่อต้านการทดลองวิจัยนี้จากประชาคมแพทย์

บทเรียนอัปลักษณ์ชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงการดูถูกเหยียดหยาม ชนที่ถือว่าเป็นกลุ่มน้อยและมีสถานะทางสังคมต่ำต้อย และมีการพยายามออมชอมเพื่อไม่ให้ครอบครัวคนที่เสียชีวิตและคนที่ทุพพลภาพฟ้องร้องเอาผิดกับรัฐบาลกลาง โดยการชดเชยให้แก่ผู้รอดชีวิตรายละ 40,000 ดอลลาร์เท่านั้น

นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางจริย ธรรมในการศึกษาวิจัยในมนุษย์ได้กล่าวไว้ว่า การศึกษา Tuskegee นี้ เป็นตราบาปแก่สังคมของคนอเมริกันและวงการแพทย์ เป็นสัญลักษณ์ของการเหยียด ดูถูก เชื้อชาติเผ่าพันธุ์และการจงใจที่จะละเลยไม่ให้มีการทำการรักษาที่ถูกต้อง ปล่อยให้เสียชีวิตไปอย่างน่าอนาถ

ข้อมูลในบทความนี้เรียบเรียงมาจากคุณแครอล ไฮน์เซลมาน ในวารสาร social worker ปี 2003

สุดท้าย แน่นอนสำหรับคนทั้งโลกรวมถึงคนไทยทั้งประเทศ ต้องมีความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการรักษา โดยไม่ถือชนชั้น ความมี ความจน และต้องรักษาโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดผลสอบ‘ฝีดาษลิง’ ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์ เปิดผลสอบ‘ฝีดาษลิง’ ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์
  • ‘หมอธีระวัฒน์-รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข ‘หมอธีระวัฒน์-รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข
  • \'หมอธีระวัฒน์\'ประกาศเลิกพูดถึง white clot กับวัคซีน ยืนยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ 'หมอธีระวัฒน์'ประกาศเลิกพูดถึง white clot กับวัคซีน ยืนยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ
  • ใครมีอาการเหล่านี้?! \'หมอธีระวัฒน์-อ.ปานเทพ\'แจ้งคืบหน้าภาวะลองโควิด-ผลกระทบวัคซีน ใครมีอาการเหล่านี้?! 'หมอธีระวัฒน์-อ.ปานเทพ'แจ้งคืบหน้าภาวะลองโควิด-ผลกระทบวัคซีน
  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved