วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
อนามัยโลกชง  ใช้โอมิครอนสายพันธ์ุXBB  หัวเชื้อผลิตวัคซีนรับโควิด

อนามัยโลกชง ใช้โอมิครอนสายพันธ์ุXBB หัวเชื้อผลิตวัคซีนรับโควิด

วันเสาร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : อนามัยโลก โอมิครอน XBB โควิด19
  •  

อนามัยโลกชง

ใช้โอมิครอนสายพันธ์ุXBB

หัวเชื้อผลิตวัคซีนรับโควิด

ศูนย์จีโนมฯเผย “องค์การอนามัยโลก-องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ”เสนอบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิดใช้โอมิครอน สายพันธุ์ XBB มาเป็นหัวเชื้อผลิตวัคซีน “โมโนวาเลนต์” และแนะนานาชาติควรเปลี่ยนมาใช้วัคซีนโควิดสายพันธุ์ XBB ชนิดโมโนวาเลนต์ ซึ่งเป็นทางเลือกในการป้องกันติดเชื้อโควิดที่จะระบาดในปี’67

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) เสนอให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 เปลี่ยนมาใช้โอมิครอนสายพันธุ์เดียว XBB เป็นหัวเชื้อหรือต้นแบบผลิตวัคซีนโมโนวาเลนต์ พร้อมแนะนำให้ประเทศต่างๆ ควรเตรียมตัวเปลี่ยนมาใช้วัคซีน XBB เพื่อทันต่อการป้องกันการติดเชื้อและการเกิดอาการรุนแรงหากติดเชื้อกลายพันธุ์ในปี 2567 แทนการใช้วัคซีน 2 สายพันธุ์ (ไวรัสอู่ฮั่น+โอไมครอน BA.4/BA.5) หรือวัคซีนไบวาเลนต์ ซึ่งมีการนำมาใช้ช่วงปี 2566 สำหรับคำแนะนำของ WHO และ FDA บ่งชี้ชัดเจนว่า วัคซีนโควิด สายพันธุ์ XBB ชนิดโมโนวาเลนต์น่าจะเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโควิด-19 ที่จะระบาดในปี 2567


นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA) ยังแถลงว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ให้เห็นว่า วิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ชะลอตัวหรือลดลง วัคซีนโควิด-19 ในอนาคตควรเป็นวัคซีนสายพันธุ์เดียว หรือวัคซีนโมโนวาเลนต์ (covid-19 monovalent vaccine) ที่กำหนดเป้าหมายไปที่โอมิครอน XBB.1.5, XBB.1.16 หรือ XBB.2.3 เนื่องจากปัจจุบันพบสายพันธุ์ย่อย XBB มากกว่า 95% ของสายพันธุ์ไวรัสที่หมุนเวียนระบาดอยู่ในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2566

สายพันธุ์ XBB หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้มากกว่าสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนที่ระบาดมาก่อนหน้า และปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 95% ของผู้ป่วยโควิดทั่วโลก

ทั้งนี้ ในสหรัฐฯพบสายพันธุ์ XBB 8 สายพันธุ์คิดเป็นกว่า 98% ของผู้ป่วยทั้งหมดในปัจจุบัน โดยมี 3 สายพันธุ์หลักโอไมครอน XBB.1.5 จำนวน 40% และ XBB.1.16 ประมาณ 18% และ XBB.2.3 ประมาณ 6% ตามลำดับ

ศูนย์จีโนมฯยังระบุด้วยว่า สำหรับประเทศไทยพบสายพันธุ์โอไมครอนจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) ระหว่าง 1 พฤษภาคม-15มิถุนายน 658 ราย เป็นสายพันธุ์โอมิครอน XBB ประมาณ 95.6% XBB.1.5 ประมาณ 17.5% XBB.1.16 ประมาณ 35.6% XBB.1.9 ประมาณ 13.5% XBB.2.3 ประมาณ 4.7%

โอมิครอน XBB.1.16 XBB.1.9 และ XBB.2.3 คาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นมาและแทนที่ XBB.1.5 ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2566

การประเมินประสิทธิผลของวัคซีนสองสายพันธุ์ (covid-19 bivalent vaccine) ล่าสุดในผู้ใหญ่พบว่าป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด ลดลงจาก 62% ใน 2 เดือนแรกหลังฉีดวัคซีนเหลือเพียง 24% ใน 4 เดือนหลังจากฉีดวัคซีน ดังนั้น ประชาชนกลุ่มเปราะบางจึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น

ศูนย์จีโนมฯระบุด้วยว่า คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกให้ผู้ผลิตวัคซีนโควิด เปลี่ยนไปผลิตวัคซีนสายพันธุ์ XBB แบบโมโนวาเลนต์ในปี 2566-2567 มาจากข้อมูลที่พบว่า สายพันธุ์ XBB เป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นของไวรัสโควิดทั่วโลกขณะนี้ คุณสมบัติเด่นคือแพร่เชื้อได้มากกว่าและหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า

“หมายความว่าผู้ที่เคยได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้าโอมิครอน XBB ยังจะไวต่อการติดเชื้อและมีอาการป่วยจากสายพันธุ์ XBB ได้ วัคซีนสายพันธุ์ XBB ชนิดโมโนวาเลนต์จะมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีนรุ่นเดิมในการป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน และป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต”

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังแนะนำให้ประเทศต่างๆ ควรเริ่มวางแผนปรับเปลี่ยนไปใช้วัคซีนสายพันธุ์ XBB ชนิดโมโนวาเลนต์ในฤดูกาล 2566-2567 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ผลิตวัคซีนมีเวลาพอในการผลิต

สอดคล้องกับ คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารขององค์การอาหารและยา (FDA) ที่ออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า หลักฐานที่มีอยู่บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดปีนี้ควรกำหนดให้สายพันธุ์ XBB เป็นหัวเชื้อหรือต้นแบบผลิตวัคซีนในปี 2566-2567 ทั้งยังแนะนำให้ผู้ผลิตวัคซีนโควิดเปลี่ยนไปผลิตวัคซีนสายพันธุ์ XBB แบบวัคซีนโมโนวาเลนต์สำหรับฤดูกาล 2566-2567

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ใช้สายพันธุ์เก่ามาเป็นหัวเชื้อร่วมกับสายพันธุ์ใหม่ ในการผลิตวัคซีนไบวาเลนต์ แม้ผลกระทบยังไม่ชัดเจน แต่มีหลักฐานในหลอดทดลองบ่งชี้หากใช้สายพันธุ์เดิมฉีดกระตุ้นซ้ำๆจะทำให้การสร้างแอนติบอดีของเม็ดเลือดขาวต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปเล็กน้อยลดประสิทธิภาพ จึงควรใช้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่เท่านั้นในการผลิตวัคซีนในอนาคต

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'หมอธีระ\'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย 'หมอธีระ'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย
  • ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป
  • \'สภาทนายความ\'หารือ\'กปว.\'เร่งแก้ไขปัญหาให้ผู้เอาประกันภัยโควิด-19 'สภาทนายความ'หารือ'กปว.'เร่งแก้ไขปัญหาให้ผู้เอาประกันภัยโควิด-19
  • สถานการณ์เปลี่ยน!‘โควิด 19’ควรฉีดวัคซีนอีกหรือไม่ เตือน‘กลุ่มเสี่ยง’ยังจำเป็น สถานการณ์เปลี่ยน!‘โควิด 19’ควรฉีดวัคซีนอีกหรือไม่ เตือน‘กลุ่มเสี่ยง’ยังจำเป็น
  • บทเรียนสำคัญ!‘หมอยง’ไล่เรียงวิวัฒนาการไวรัสก่อโรค‘โควิด’ และ‘ที่มา’การตั้งชื่อ บทเรียนสำคัญ!‘หมอยง’ไล่เรียงวิวัฒนาการไวรัสก่อโรค‘โควิด’ และ‘ที่มา’การตั้งชื่อ
  • ป่วยโควิดพุ่ง  รอบ7วันป่วย664คน-ตาย4  สายพันธุ์JN.1ยึดเมืองไทย ป่วยโควิดพุ่ง รอบ7วันป่วย664คน-ตาย4 สายพันธุ์JN.1ยึดเมืองไทย
  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved