7 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ(สสจ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ จากเห็ดในประเทศไทย ปี พ.ศ.2566( ข้อมูล 1 ม.ค. – 28 มิ.ย.66) พบผู้ป่วยรวม 684 คิดเป็นอัตราป่วย 0.01 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 8 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 1.03 และในภาพรวมเขตสุขภาพที่ 1 ( ข้อมูล 1 ม.ค. – 24 มิ.ย.66 ) พบผู้ป่วย จำนวน 446 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 9.72 ต่อแสนประชากร และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.67 ส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ พบเห็ดพิษที่พบได้บ่อยในช่วงนี้ ได้แก่ เห็ดระโงกหิน และ เห็ดระโงกดำพิษ มีความคล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาว(กินได้) เห็ดถ่านเลือด มีความคล้ายคลึงกับเห็นถ่านใหญ่ และเห็ดหมวกจีน คล้ายคลึงกับเห็ดโคน
นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง สสจ.อำนาจเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ปี พ.ศ.2566(สัปดาห์ที่ 1 – 25) พบว่า เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 37 ราย แยกเป็นแต่ละอำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จำนวน 13 ราย , อำเภอหัวตะพาน จำนวน 15 ราย ,อำเภอปทุมราชวงศา จำนวน 3 ราย ,อำเภอเสนางคนิคม จำนวน 1 ราย และ อำเภอลืออำนาจ จำนวน 6 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ซึ่งรายแรกเกิดขึ้น ที่อำเภอหัวตะพาน เป็นเพศหญิง อายุ 55 ปี รับประทานเห็ดไคปิ้ง 3 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน คลื่นไส้บ่อยๆ และเสียชีวิตวันที่ 28 มิ.ย.66 ส่วนรายที่ 2. ที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เพศหญิง อายุ 40 ปี ไม่มีโรคประจำตัว รับประทานเห็ดรวม โดยทานร่วมกับแอลกอฮอล์ 6 ชั่วโมงต่อมา มีอาการอาเจียนมากว่า 20 ครั้ง แน่นหน้าอก ปวดเมื่อย ถ่ายเหลว และเสียชีวิตวันที่ 2 ก.ค.66 ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษาตัว 3 ราย อาการปกติดี และกลับบ้านแล้ว 34 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง ปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 39 ราย คิดเป็นอัตราป่วย10.3 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 5.12
นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง สสจ.อำนาจเจริญ กล่าวถึงการปฐมพยาบาลรักษาผู้ป่วยที่บริโภคเห็ดพิษเบื้องต้นว่า หากพบผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษ ให้ดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือ(เกลือ 3 ช้อนชา ต่อน้ำอุ่น 1 แก้ว) แล้วล้างคอให้อาเจียนออกมามากที่สุด เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ หลังจากนั้น ให้รับประทานผงถ่าน โดยบดละเอียด 2 ถึง 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 แก้ว ผสมกับน้ำให้ข้นเหลว เพื่อดูดสารพิษของเห็ดในทางเดินอาหาร แล้วรีบนำผู้ป่วยไปหาหมอหรือส่งโรงพยาบาล พร้อมนำเห็ดที่เหลือจากรับประทานไปด้วย เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยรักษาอาการและส่งตรวจสอบชนิดของเห็ดทางห้องปฏิบัติการต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี