วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาด รุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาด รุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่?

วันจันทร์ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 10.36 น.
Tag : โควิด โควิดวันนี้ โควิดระบาด โควิด19 การระบาดเชื้อ โควิดEG.5.1 XBB.1.16
  •  

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีการระบาด โอมิครอน EG.5.1 ไปทั่วโลกเป็นอันดับ 3 ใน 4 อันดับหลัก คือ XBB.1.16, XBB.1.5, EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1), และ XBB.1.9.1


ความชุกของ โอมิครอน EG.5.1 ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันโดยตรวจจากจำนวนรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ปรากฏในฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID) ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดคือ ประเทศจีน 985 ราย หรือประมาณ 7.228% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศจีน

ในอาเซียนสูงสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ 58 ราย หรือประมาณ 1.567% จากโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ที่พบในประเทศสิงคโปร์

ส่วนประเทศไทยพบ 6 ราย หรือประมาณ 0.336% จากโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

ทั่วโลกพบว่าโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 42 %

ในประเทศจีนพบว่าโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 45 %

ประเทศสิงคโปร์พบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ถึง 77 %

สำหรับประเทศไทยโชคดีพบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 เพียง 1 % ทำให้โอกาสที่โอมิครอน EG.5.1 จะมาแทนที่ XBB.1.16 มีน้อย

ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ประเมินจากสองปัจจัยหลักคือ ความสามารถในการติดต่อ (increased transmissibility) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถของส่วนหนามของไวรัสเข้าจับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ และความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (evade immunity)

โดยมีหลายปัจจัยที่ทำให้โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในแต่ละประเทศมีค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของสายพันธุ์ย่อยที่แพร่ระบาดในประเทศนั้นๆ อายุเฉลี่ยของประชากร อัตราผู้เข้าฉีดวัคซีนครบโดส รวมทั้งการรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น วินัยของประชาชนในการใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การตรวจ ATK ประสิทธิภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขในการเข้าถึงประชากรทุกครัวเรือน ฯลฯ

โอมิครอน EG.5.1 แม้จะจะมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้สูงกว่า XBB.1.16 แต่ความสามารถของส่วนหนามของ EG.5.1 เข้าจับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้น้อยกว่า XBB.1.16 ทำให้พบว่าโอมิครอน EG.5.1 จากทั่วโลกมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดเฉลี่ยสูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 42 % หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.42-เท่า ในขณะที่ประเทศไทยพบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1.16 เพียง 1 % หรือ 1.01 เท่า

ดังนั้นจึงพอสรุปได้จากรหัสพันธุกรรมของโอมิครอน EG.5.1 ว่าจะไม่ระบาดรุนแรงแตกต่างไปจาก XBB.1.16 อย่างมีนัยสำคัญ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'หมอธีระ\'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย 'หมอธีระ'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย
  • กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี\'เดลตาครอน\'ระบาด กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี'เดลตาครอน'ระบาด
  • ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น
  • ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป
  • ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด
  • ‘โควิด’กลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ชี้อย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้ ‘โควิด’กลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ชี้อย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
  •  

Breaking News

ประเดิมคนแรก! 'กกต.-ดีเอสไอ'แปะหมายหน้าประตูห้อง'สว.อลงกต'

ชาวนาบุรีรัมย์ถือฤกษ์ดี ‘วันพืชมงคล’ เริ่มไถนาเพาะปลูกข้าว-เชื่อผลผลิตเจริญงอกงามดี

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved