วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สพฐ. ปลูกฝังพลังเชิงบวกเพื่อความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน

สพฐ. ปลูกฝังพลังเชิงบวกเพื่อความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน

วันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : ความรุนแรงในโรงเรียน สพฐ. ความปลอดภัย
  •  

ในปัจจุบัน สังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาในหลายด้านย่อมมาพร้อมความเสี่ยงในด้านความปลอดภัย ทั้งภัยคุกคามจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและภัยจากมนุษย์ด้วยกัน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายที่จะต้องเฝ้าระวัง แจ้งเตือน และหาแนวทางป้องกันดูแลให้เกิดความปลอดภัยแก่คนในชาติมากที่สุด

หนึ่งในนั้นคือการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อมองจากนโยบายเร่งด่วนปี 2566 พบว่าได้ให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษามาเป็นอันดับต้น ๆ โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัย เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ในการสร้างคุณภาพของเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นพลเมืองสำคัญของชาติ


สพฐ. มองเห็นภัยที่อาจจะเกิดแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ในการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน จึงขอให้สถานศึกษาเตรียมความพร้อมใน 3 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา การเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย และการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน

และสำหรับในด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียนตั้งแต่เดินทางเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียนจนออกจากโรงเรียนถึงบ้าน พร้อมทั้งเข้มงวดกวดขันให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยยาเสพติด/สารเสพติดทุกชนิด รวมถึงสมุนไพรควบคุม (กัญชา) และปลอดอาวุธทุกชนิด ในขณะที่ประตูโรงเรียน รั้วโรงเรียน ต้องมีความแข็งแรงไม่ชำรุด มีการสำรวจและซ่อมบำรุงระบบป้องกัน ระบบแจ้งเตือน ระบบอาณัติสัญญาณเตือนภัยให้สามารถพร้อมใช้งาน และขจัดมุมอับหรือจุดเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อนักเรียน สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น ต้องปลอดภัย ไม่ชำรุด แข็งแรงได้มาตรฐาน รวมถึงห้องน้ำห้องสุขาที่สะอาดถูกสุขลักษณะอนามัย 

นอกจากนั้น ในด้านการให้บริการและดูแลด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ ต้องจัดรายการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าครบถ้วนตามหลักโภชนาการและเพียงพอสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงวัย และต้องมีห้องพยาบาลเบื้องต้น มีเวชภัณฑ์ยา มีครูอนามัยโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้     

เช่นเดียวกับการป้องกันภัยธรรมชาติ สถานศึกษาต้องเฝ้าระวังและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติ โดยติดตามสถานการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงภัยจากโรคระบาดต่าง ๆ เช่น COVID-19 ที่สถานศึกษายังคงต้องเฝ้าระวัง โดยปฏิบัติตามมาตรการ 6-6-7 อย่างเคร่งครัด หากมีเหตุเกิดขึ้นให้ประสานกับสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ขณะที่การป้องกันภัยจากการพกอาวุธมาโรงเรียน ให้จัดทำข้อมูลและเฝ้าระวังกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีแนวโน้มใช้ความรุนแรงเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีมาตรการป้องกัน ตรวจสอบและควบคุมการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นอันตรายหรือสามารถนำมาใช้เป็นอาวุธได้ พร้อมทั้งติดตั้ง ‘emergency panic button’ หรือปุ่มแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณเตือนดังออกไปภายนอกอาคาร เพื่อความรวดเร็วในการเข้ามาช่วยเหลือจากผู้รักษาความปลอดภัยในโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะการเอาตัวรอดให้กับครูและผู้เรียน และฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติหรือภัยคุกคามทุกรูปแบบ

ทางด้านการเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Loss) สพฐ. ให้สถานศึกษาเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเด็กตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน โดยสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งต้องนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้ ตามองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ คือ จัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียน คัดกรองสุขภาวะทางจิต จำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กรณีพบว่ามีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา ให้รีบดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาทันที พร้อมทั้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ลงพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดปัญหาทางสุขภาพจิต โดยให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบสาธารณสุขและการให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะทางจิต เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพครูแนะแนวหรือครูที่ปรึกษาแกนนำที่ดูแลนักเรียนด้านจิตใจ ให้ได้รับการอบรมหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อการคุ้มครองเด็ก ให้สามารถเข้าถึงใจเด็กได้เป็นรายบุคคล

นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน ในช่วงการเปิดภาคเรียนที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถเปิดเรียนอย่างมีความสุขและปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน และสังคม ว่า สพฐ. มีแนวทางสร้างความปลอดภัย และดูแลคุ้มครองนักเรียนในทุกมิติ มีการพัฒนาความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน ทำให้ครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้พบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เจตคติซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบ้านกับนักเรียน ทำให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะเยี่ยมบ้าน และระยะหลังการเยี่ยมบ้าน โดยกลับมาทบทวนข้อมูล สรุปรายงาน และความเห็นของผู้เยี่ยมบ้าน เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูล และนำไปใช้ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไข ได้อย่างทันเวลาและถูกวิธี

ทั้งนี้ เมื่อมีมาตรการความปลอดภัยสำหรับสถานศึกษา เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างรอบด้านแล้ว การปลูกฝังเชิงบวกเกี่ยวกับความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่จำเป็นต้องมีการผลักดันอย่างจริงจัง เพื่อเป็นเกราะป้องกันเหตุที่แข็งแรง เกิดความปลอดภัยจากภายในสู่ภายนอก เกิดเป็นความตระหนักรู้ ซึ่งจะมีความยั่งยืนมากกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุ

ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงการปลูกฝังเชิงบวกเกี่ยวกับความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับรู้รับทราบว่า สพฐ. ได้จัดทำยุทธศาสตร์ให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการมาโรงเรียน โดยเรื่องแรก คือ เรื่องความไว้วางใจจากผู้ปกครองและนักเรียน โดยมีจุดเน้นใน 3 เรื่อง คือ 1. วิธีป้องกันความเสี่ยงภัยทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดภัยนั้นขึ้น 2. หากเกิดภัยขึ้นแล้วจะมีวิธีการเผชิญเหตุอย่างไร และ 3. เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วจะมีวิธีป้องกันเยียวยาอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ รวมถึงภัยจากสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆทั้งหมด เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หรือไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีกในอนาคต

 “สพฐ. ได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา และการจัดทำแผนเผชิญเหตุ เผยแพร่มา 2 ปีแล้ว เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด สพฐ. ได้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และ สพฐ. ยังได้ทำแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเวทีในการส่งต่อข้อมูล ทั้งที่เห็นเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และหลังจากที่ สพฐ. ได้เผยแพร่คู่มือแล้ว ก็ได้มีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็มีรายงานเข้ามาในระบบโดยตลอด เมื่อดูในแง่ของการตื่นตัวนั้นถือว่าดีขึ้นมาก ส่วนการเกิดเหตุต่าง ๆ พบว่ายังคงมีอยู่ แต่เหตุความรุนแรงเบาลง” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

นายอัมพร กล่าวทิ้งท้ายว่า ถึงแม้จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่เราก็จะทำการปลูกฝังเรื่องความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษาต่อไปเรื่อย ๆเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญมากขึ้น ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง เกิดความตระหนักรู้มากขึ้น ก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงและสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาได้อย่างยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘สพฐ.’เดินหน้าใช้หลักสูตรใหม่‘ปฐมวัย-ประถมต้น’ 4,400 โรงเรียน ‘สพฐ.’เดินหน้าใช้หลักสูตรใหม่‘ปฐมวัย-ประถมต้น’ 4,400 โรงเรียน
  • สพฐ.เผยภาพรวมสอบเข้า ม.1 ม.4 เรียบร้อยดี ดูรายชื่อรร.ที่ว่าง 11 เม.ย. สพฐ.เผยภาพรวมสอบเข้า ม.1 ม.4 เรียบร้อยดี ดูรายชื่อรร.ที่ว่าง 11 เม.ย.
  • ศธ.คุมเข้ม! สอบเข้า ม.4 ทั่วประเทศ สพฐ.ยันเด็กต้องมีที่เรียนทุกคน ศธ.คุมเข้ม! สอบเข้า ม.4 ทั่วประเทศ สพฐ.ยันเด็กต้องมีที่เรียนทุกคน
  • \'สพฐ.\'เคาะวันสอบเข้า ม.1-ม.4 ใหม่!! เป็นวันที่ 5-6 เม.ย. พร้อมออกปฏิทินรับนักเรียน 'สพฐ.'เคาะวันสอบเข้า ม.1-ม.4 ใหม่!! เป็นวันที่ 5-6 เม.ย. พร้อมออกปฏิทินรับนักเรียน
  • เดินหน้าปรับสถานะสำนักใน สพฐ. ลดซ้ำซ้อน รับการเปลี่ยนแปลง เดินหน้าปรับสถานะสำนักใน สพฐ. ลดซ้ำซ้อน รับการเปลี่ยนแปลง
  • ‘สพฐ.’สั่งเลื่อนการสอบเข้า‘ม.1 และ ม.4’ หลังเกิด‘แผ่นดินไหว’ ‘สพฐ.’สั่งเลื่อนการสอบเข้า‘ม.1 และ ม.4’ หลังเกิด‘แผ่นดินไหว’
  •  

Breaking News

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'

มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved