วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'ปธ.ศาลฏีกา'แถลงผลสำเร็จการบริหารจัดการคดีศาลทั่วประเทศ เป็นที่น่าพอใจร้อยละ 85

'ปธ.ศาลฏีกา'แถลงผลสำเร็จการบริหารจัดการคดีศาลทั่วประเทศ เป็นที่น่าพอใจร้อยละ 85

วันศุกร์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566, 19.02 น.
Tag : ประธานศาลฎีกา นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ
  •  

ประธานศาลฎีกา แถลงผลการดำเนินงานตามนโยบาย “รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน” เผยผลสำเร็จการบริหารจัดการคดีศาลทั่วประเทศเป็นที่น่าพอใจร้อยละ85  พร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งเน้นบริการประชาชนเป็นหลักสำคัญ

วันที่ 22 ก.ย.66 ที่ห้องประชุมสัญญาธรรมศักดิ์ อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา แถลงสรุปผลการดำเนินงานภายใต้นโยบาย “รักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน” ในวาระดำรงตำแหน่ง นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 65- ก.ย.2566


นายโชติวัฒน์ กล่าวว่า  ได้วางแผนดำเนินการและเร่งขับเคลื่อนนโยบายให้สำเร็จตามเป้าหมาย มุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคลากรศาลยุติธรรมเพื่อร่วมกันอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายสูงสุดคือการ “รับใช้ประชาชน” ให้สามารถเข้าถึงการบริการของศาลยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน โดยการดำเนินตามนโยบายทั้ง 3 ด้าน ปรากฏผลดังนี้

1. “รักศาล” ตั้งแต่เดือนต.ค.2565 เป็นต้นมา ได้ออกตรวจเยี่ยมศาลและหน่วยงานในสังกัดศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามให้คำแนะนำและวางแนวทางในการบริหารจัดการคดี โดยเลือกลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศาลยุติธรรมในภาค 9 เป็นลำดับแรก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และเป็นพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจการทำงานให้แก่บุคลากร จากนั้นได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจนครบทุกภาค จึงได้เห็นถึงการพัฒนาระบบงานของศาลยุติธรรม และความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการคดี ซึ่งเมื่อพิจารณาอัตราคดีแล้วเสร็จและการบริหารจัดการคดีที่ค้างพิจารณาเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่าอัตราการพิจารณาคดีแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยศาลที่สามารถบริหารจัดการคดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่เรียกว่าศาลสีเขียวนั้น จากเดิมสถิติวันที่ 1 ต.ค.65มีจำนวน 70 ศาล จนเมื่อวันที่ 31 ส.ค.66 ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 146 ศาล และภายในปีงบประมาณนี้มีอีกหลายศาลที่มีแนวโน้มเป็นศาลสีเขียวได้

ส่วนกลุ่มศาลที่มีแนวโน้มจะกลับเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน หรือศาลสีเหลือง เดิมมีจำนวน 25 ศาล ก็เพิ่มขึ้นเป็น 48 ศาล สำหรับกลุ่มศาลที่มีคดีค้างพิจารณาเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องเร่งดำเนินการและติดตามกำกับดูแล หรือศาลสีแดง เดิมมี 171 ศาล ขณะนี้จำนวนลดลงเหลือ 81 ศาล

โดยเมื่อติดตามอัตราคดีแล้วเสร็จ ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นทั่วประเทศดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยพิจารณาคดีแล้วเสร็จถึงร้อยละ 85.03 ของคดีที่ค้างมาและรับใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งการบริหาร ส่งผลให้คดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้วเสร็จไปโดยไม่ล่าช้า และประชาชนผู้มีอรรถคดีได้รับการคุ้มครองเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างรวดเร็ว ขณะที่การมุ่งเสริมสร้างประสิทธิภาพงานของศาลยุติธรรม เราพร้อมพัฒนาบุคลากรผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรมต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมและข้าราชการศาลยุติธรรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ตลอดจนจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมต่าง ๆนอกจากนี้ชมรมคู่สมรสตุลาการศาลยุติธรรมยังมอบทุนการศึกษาแก่บุตรของข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างในหน่วยงานสังกัดศาลยุติธรรมด้วย

2. “ร่วมใจ” ในโอกาสที่ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศาล ประธานศาลฎีกาเน้นย้ำเสมอถึงการร่วมโครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชน โดยสำนักงานศาลยุติธรรมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการทำงาน ให้ศาลทุกแห่งทั่วประเทศมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม รวดเร็ว โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ศาลทั่วประเทศ มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงการนี้จึงนับได้ว่าส่งเสริมให้บุคลากรมีเป้าหมายในการทำงานเพิ่มขึ้น และเป็นการแข่งขันที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ “ประชาชน”
 อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการพิจารณาคดีก็เป็นข้อสำคัญต่อการอำนวยความยุติธรรม ประธานศาลฎีกาจึงได้ออกข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ รองรับการบังคับใช้กฎหมายใหม่ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ทั้งข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2566 ให้สอดรับกับหลักการตามพ.ร.บ.มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 เพื่อปกป้องสังคมจากผู้กระทำความผิดที่มีแนวโน้มจะก่ออาชญากรรมในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก โดยมุ่งฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำความผิดควบคู่ไปกับการคุ้มครองและเคารพในสิทธิของบุคคลดังกล่าวอย่างเหมาะสม

ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาในเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ โดยประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย และทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าในการดำเนินการ  สามารถตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ.2566 เพื่อกำหนดหลักการในการดำเนินคดีความผิดทางพินัยในชั้นศาล โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจนเกินสมควร รวมถึงการคุ้มครองและแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ คำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลชั้นต้น พ.ศ. 2566 เพื่อให้การบริหารจัดการคดีและการประสานงานกับคู่ความในคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปโดยรวดเร็ว เรียบร้อย และเป็นแนวทางเดียวกัน

3. “รับใช้ประชาชน” ปัจจุบันศาลยุติธรรมได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน และนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาให้บริการทางคดีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่คู่ความ โดยการจัดทำโครงการเชื่อมโยงข้อมูลคดีบุคคลล้มละลายของศาลล้มละลายกลางกับศาลยุติธรรมทั่วประเทศ  ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการบริการด้านคดีและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนด้วย โดยพัฒนาระบบการสืบค้นข้อมูลบุคคลล้มละลายผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม หรือซีออส (CIOS) ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการดำเนินคดี  โดยหากพบว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ฟ้องคดีจะได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในช่องทางที่เหมาะสมต่อไป พัฒนาระบบยื่นคำคู่ความและเอกสารในคดีแรงงานผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม เพื่อให้บริการประชาชนในการยื่นฟ้องคดีแรงงานสำหรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และมีความประสงค์จะยื่นฟ้องนายจ้าง  และการพัฒนาระบบยื่นคำร้องขอจัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบ e-Filing สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก ให้สามารถยื่นคำร้องขอจัดการมรดกได้ด้วยตนเอง ใน 2 กรณี คือ กรณีทายาททุกคนยินยอม(ไม่คัดค้าน) ให้ผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการมรดก  และกรณีที่มีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการมรดก

การพัฒนาระบบจัดทำหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด และหมายบังคับคดีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ โดยเปิดให้ประชาชนหรือคู่ความสามารถยื่นขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดและหมายบังคับคดีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Filing  และสามารถนำไปยื่นเพื่อติดต่อทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดทำระบบตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งพิมพ์ออกของสำนักงานศาลยุติธรรมโดยสามารถตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งพิมพ์ได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://validation.coj.go.th/  ซึ่งเป็นการรองรับระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบพัฒนาระบบสารสนเทศสำนวนคดีศาลชั้นต้นระยะ 3 (CIMS3) เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติคดี ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนสร้างฐานข้อมูลคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของทุกศาลทั่วประเทศ เพื่อมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการบริหารจัดการคดีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชน

การพัฒนาระบบยื่นคำคู่ความและเอกสารในคดีความผิดทางพินัยผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม เพื่อรองรับการยื่นฟ้องคดีความผิดทางพินัยจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยพนักงานอัยการสามารถ ยื่นคำฟ้องและเอกสารในคดีความผิดทางพินัยผ่านระบบ e-Filing ได้ ซึ่งจะช่วยให้การยื่นฟ้อง และการพิจารณาพิพากษาคดีมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ประธานศาลฎีกายังให้ความสำคัญต่อการสร้างโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและบริการของศาลยุติธรรม ด้วยการจัด “โครงการ Justice by Design : กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้” และ “โครงการ e-Hearing Design Lab : ร่วมออกแบบกระบวนการบันทึกคำเบิกความพยานด้วยภาพและเสียงที่เป็นมิตรกับทุกคน” โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้ออกแบบบริการศาลยุติธรรมด้วยตนเอง ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมกำลังนำแนวคิด ข้อเสนอแนะของประชาชนมาปรับใช้และพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนให้ศาลในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ศึกษาและนำแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมของประชาชนไปปรับใช้ผ่านการประกวดศาลดีเด่นอีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่าศาลยุติธรรมพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้า ทุ่มเทในการทำงานเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม เสมอภาค และทั่วถึง ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพของศาลยุติธรรมและนโยบายที่ถือความต้องการของประชาชนผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง.

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ปธ.องคมนตรี-ปธ.ศาลฎีกา\'เปิดโครงการเยาวชนไทย หัวใจเดียวกันรุ่นที่ 9 จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ 'ปธ.องคมนตรี-ปธ.ศาลฎีกา'เปิดโครงการเยาวชนไทย หัวใจเดียวกันรุ่นที่ 9 จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้
  • ‘ปธ.ศาลฎีกา’ประกาศชื่อผู้สอบได้เป็น‘ผู้ช่วยผู้พิพากษา’ ‘ปธ.ศาลฎีกา’ประกาศชื่อผู้สอบได้เป็น‘ผู้ช่วยผู้พิพากษา’
  • ข่าวเท็จ! \'ศาลยุติธรรม\'ปัดข่าวสั่งไต่สวน\'ราชทัณฑ์\'เอื้อ\'ทักษิณ\'ชั้น 14 ข่าวเท็จ! 'ศาลยุติธรรม'ปัดข่าวสั่งไต่สวน'ราชทัณฑ์'เอื้อ'ทักษิณ'ชั้น 14
  • ประธานศาลฎีกาแถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายประจำปีงบประมาณ 67 ประธานศาลฎีกาแถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายประจำปีงบประมาณ 67
  • \'ปธ.ศาลฎีกา\'เปิดงานใช้ระบบคำสั่ง-คำร้องออนไลน์ศาลเยาวชนฯ 'ปธ.ศาลฎีกา'เปิดงานใช้ระบบคำสั่ง-คำร้องออนไลน์ศาลเยาวชนฯ
  • สังคมไทยเปลี่ยน ศาลเยาวชนและครอบครัวปรับตัวก้าวสู่บริบทใหม่ของสังคม สังคมไทยเปลี่ยน ศาลเยาวชนและครอบครัวปรับตัวก้าวสู่บริบทใหม่ของสังคม
  •  

Breaking News

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

‘ปธ.กมธ.กิจการสภาฯ’โร่แจงสร้าง'โรงหนัง4D'ต้องการฉายประวัติศาสตร์การเมืองให้ปชช.

หยุดยาว นทท.ไทยทะลัก! ‘ลงเกาะหมาก-กูด’ ที่พักเต็มแน่นทุกห้องเกิน 5 พันคน

ส่งกำลังใจ! ภรรยา'ด้งเด้ง'เผยอาการล่าสุด หัวใจหยุดเต้น 2 ครั้ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved