วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘สังศิต’เลคเชอร์หากบทบาท‘สทนช.’ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่‘แล้ง’เหมือนเดิม

‘สังศิต’เลคเชอร์หากบทบาท‘สทนช.’ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่‘แล้ง’เหมือนเดิม

วันจันทร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 08.08 น.
Tag : เอลนีโญ่ แล้ง สังศิต สทนช. กนช.
  •  

‘สังศิต’เลคเชอร์หากบทบาท‘สทนช.’ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่‘แล้ง’เหมือนเดิม

2 ตุลาคม 2566 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “บทบาท สทนช.ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่ แล้งเหมือนเดิม” ดังนี้...


บทบาท สทนช.ไม่ปรับเปลี่ยน 117 ล้านไร่ แล้งเหมือนเดิม

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ผิดพลาด ! พื้นที่เกษตรถูกจำกัด ?

บทบาท สทนช.เป็นเพียงสำนักงานเลขานุการของ กนช. โดยมีหน้าที่และอำนาจ ตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ 2561 คือ

(1) รับผิดชอบงานธุรการของ กนช. และคณะอนุกรรมการ

(2) กลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อ กนช. เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 17 (1) (2) (3) และมาตรา 24

พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ สทนช. มีหน้าที่เพียงจัดทำนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำฯ เพื่อเสนอให้ กนช.พิจารณา และเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และเป็นสำนักธุรการให้กับ กนช.( คณะ กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) อันมี ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กนช. เท่านั้น

ฉะนั้นการจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ จึงเป็นบทบาท อำนาจและหน้าที่ ของ กนช.ไม่ใช่ อำนาจ หน้าที่ของ สทนช. ที่จะกำหนดนโยบายได้เองตามที่หน่วยงานทั่วไปเข้าใจมา โดย ตลอด

แม้แต่คณะจัดทำยุทธศาสตร์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(2566-2570) ยังเข้าใจ ผิดว่า เป็นอำนาจ ของ สทนช. ดังจะเห็นได้จากการที่ระบุว่า “การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งประเทศอย่าง เป็นระบบเป็น “พันธกิจ” ของ สทนช. ตามที่ปรากฎในเอกสารยุทธศาสตร์ฯ (2566-2570) ทั้งที่แท้จริงแล้วส ทนช.เป็นเพียง “หน่วยงานที่กลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อ กนช เท่านั้น”

ความเข้าใจผิด คลุมเครือ คลาดเคลื่อน ต่อบทบาท อำนาจหน้าที่ ของ สทนช. ที่ผ่านมาหลายปี ประกอบกับ การยึดกุม การจัดทำแผนฯ/โครงการรวมทั้งงบประมาณ ของหน่วยงานต่างๆ ด้วยระบบ (AI)Thai Water Plan ซึ่งถูกรวบอำนาจการตัดสินใจไว้ ที่ ตึกจุฑามาศ อันเป็นที่ตั้งของ สทนช.เพียงแห่งเดียว!! ทำให้ องค์กร ปกครองท้องถิ่น ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ 7,850 แห่ง พลาดโอกาส การจัดหาแหล่งน้ำ สร้างฝายแกนดิน ซีเมนต์ กว่า 80 % เนื่องจาก ความไม่สอดคล้องของระบบ Thai Water plan กับสภาพปัญหาความเป็นจริง ในพื้นที่ ที่ AI ในระบบ Thai Water Plan ไม่สามารถ จะล่วงรู้ได้ เพราะระบบ AI ไร้หัวจิตหัวใจและไม่ได้รับรู้ ความทุกข์ยากของเกษตรกรไทยแต่อย่างใด

ฝายแกนดินซีเมนต์ ที่ อ.เชียงม่วน จังหวัดพะเยา และ ที่ เทศบาลตำบลนาน้อย จังหวัดน่าน หรือ แม้กระ ทั่งฝายฯ ที่จังหวัดแพร่ และที่มีอยู่กว่า 600 แห่งทั่วประเทศในขณะนี้ หาก อปท. กับประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อย ไม่ลุกขึ้นมาช่วยเหลือตัวเองแล้ว ความทุกข์ยากของพวกเขาก็ไม่มีวันที่จะถูกขจัดให้หมดไปได้เหมือนในขณะนี้

ความท้าทายของประเทศไทยและรัฐบาลในขณะนี้ คือ การจัดหา กัก เก็บน้ำ และกระจายแหล่งน้ำขนาดเล็กให้ ทั่วพื้นที่นอกเขตชลประทาน 117 ล้านไร่ หรือ 78 % ของพื้นที่เกษตร 149.2 ล้านไร่ซึ่งยังต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก!? และเกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้มากกว่า2ครั้งหรือทำได้ตลอดปี

ดังเช่นที่ฝายแกนดิน ซีเมนต์ เทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่ง มีการสร้างฝายแกนดินซิเมนต์จำนวน ถึง 103 ตัวและสามารถกระจายน้ำเพื่อการเกษตรได้เต็มพื้นที่ 63,000 ไร่ เกษตรกรสามารถทำนา ทำไร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจได้ตลอดปี และ ได้พ้นจากการเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก และ ในพื้นที่เทศบาลตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา หรือ อปท. หลายแห่ง ในจังหวัดขอนแก่น ก็เช่นเดียวกัน

การจะบรรลุ ความท้าทายนี้ได้ รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนะวิธีคิด การบริหาร ขั้นตอนการดำเนินงาน ของ สทนช. เสียใหม่เพื่อให้เป็นไปตามกรอบของพรบ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ได้จริง

คณะกรรมาธิการฯ แก้จน ลดเหลื่อมล้ำ ของวุฒิสภา เสนอปลดล็อค ตั้ง “คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ปัญหาความยากจนด้านบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน (เขตพื้นที่น้ำฝน)”

พรบ.ทรัพยากรน้ำ ปีพ.ศ. 2561 กำหนดให้บทบาท/หน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการ น้ำ ทั้งในการเสนอแผนฯ/ ออกข้อบัญญัติเพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ซึ่งระบุไว้ในมาตราสำคัญ และอยู่ใน อำนาจ หน้าที่ของประธานฯ กนช.ทั้งสิ้น ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 (1) (2)(4)(6)(15) เป็นต้น

แต่ที่ผ่านมาบทบาท อำนาจหน้าที่ ของ อปท. ที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของ กนช.กลับถูก อำนาจของ สทนช. ครอบงำ/สกัด ออกจากพื้นที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างสิ้นเชิง

การสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ โดย อบจ.แพร่ / เทศบาลตำบลเชียงม่วน พะเยา/ เทศบาลตำบลนาน้อย น่าน และที่ อื่นๆ ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับการ สนับสนุนเท่านั้น หากแต่ยังถูกคุกคามและขัดขวางการดำเนินงานมาโดย ตลอด ซึ่งเท่ากับว่า สทนช. มิได้ปฏิบัติตามหน้าที่ และตามพระราชบัญญัติน้ำ หลายมาตรา อาทิเช่น ...

ม.23 (6) ให้คําแนะนําและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการดําเนินงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำตามที่ได้รับการร้องขอ

(2) กลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อ กนช. เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ รกฤษฎีตามมาตรา 17 (1) (2) (3) และมาตรา 24 และอีกหลายกรณี

แม้จะมีผู้แทนกรมส่งเสริมท้องถิ่นอยู่ในกรรมการลุ่มน้ำด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่มีพลังพอที่ฝ่าแนวคิดแบบเดิม จะเห็นได้จากการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ทุกแห่ง จะได้รับสัญญาณ จากตึกจุฑามาศ บนถนนวิภวดี ว่าสทนช.จะไม่ให้สนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องพึ่งพา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นพลังสำคัญ ในการสร้างฝายแกนดินซิเมนต์โดยอยู่นอกเส้นทางของ สทนช. โดยสิ้นเชิงจึงจะสำเร็จได้ เช่น การสร้างฝายแกนดินซิเมนต์ที่เทศบาลตำบลเชียงม่วน หรือ ที่จังหวัดแพร่ เป็นต้น

แผนฯ โครงการการสร้างฝายแกนดินซิเมนต์ จึงไม่ได้รับการพิจารโดยช่องทางนี้ .. โครงการที่ผ่านมักเป็นโครงการขนาดใหญ่ และใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากทั้งสิ้น !!? ( ผ่าน AI) ได้ง่าย !!?

ที่สำคัญ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำ มักไม่ทราบว่า ใน พรบ.น้ำนี้ รัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย เป็น ผู้รักษาการตามพระราบัญญัตินี้..

ซึ่งสามารถออกกฎระเบียบใช้กับหน่วยงานของมหาดไทย(อปท) ในการบริหารจัดการน้ำได้

(มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ >> “และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของตน”(พรบ.ทรัพยากรน้ำ 2561)

ซึ่ง สทนช. ไม่เคยให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเสนอแผนงาน โครงการฯ โดยใช้มาตราดังกล่าว

การที่จะบรรลุความท้าทายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายใต้การบัญชาการของท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ สมควรที่จะต้องมีการเริ่มต้นสิ่งใหม่ คือ

ประการแรก ปรับทัศนะ วิธีคิดและ ปรับปรุง แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีเสียใหม่ ( เฉพาะ ประเด็น บริหารจัดการน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานหรือเกษตรน้ำฝน)

โดยการปรับปรุงแก้ไข แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ใหม่โดยให้ คณะบุคคล ในข้อ 2 โดยมาตรา 5 และมาตรา 17(15) มีส่วนร่วมในการจัดวางยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาแล้ง ในพื้นที่ตนเอง แล้ว เสนอตามลำดับ เพื่อให้ กนช.เห็นชอบต่อไป

เพราะเหตุใดจึงต้องปรับแผนฯ แก้ไขแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เพราะเหตุว่า ในแผนแม่บทฯดังกล่าว เป็นยุทธศาสตร์ “แบบความคิดที่ยอมจำนน” ส่งผลให้พื้นเกษตรนอกเขตชลประทาน 117 ล้าน ไร่ ทั่วประเทศ มีผลผลิตต่ำ และมีรายได้น้อยกว่า เกษตรกรในเขตชลประทานมาก

ประการที่สอง ในแผนแม่บทฯ ด้านที่ 2 ด้านความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีเป้าประสงค์ ระบุกว้างๆว่า จะ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำและระบบส่งน้ำปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ให้ปลูกพืชได้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี!! ซึ่งชาวบ้านก็ ทำเกษตรปีละ 1 ครั้งอยู่แล้วในพื้นที่นอกเขตชลประทาน (เพราะต้องอาศัยแต่น้ำฝน ที่ได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง)

หากไม่มีการปรับเปลี่ยน ทัศนะ วิธีคิด ของสทนช.การกำหนดยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทฯเช่นนี้ ซึ่ง เป็นความอับจนทางปัญญาของฝ่ายจัดทำยุทธศาสตร์นี้ จะส่งผลเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกว่า 100 ล้านไร่ ทั่วประเทศ เกษตรกรนับแสนครัวเรือนต้องยากจน และต้องทนต่อภาวะขาดแคลนน้ำหลังหน้าฝนตลอดทั้งปีต่อไป

ฉะนั้น คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาจึงใคร่ขอเสนอให้ท่าน ประธานฯกนช.(ท่านสมศักดิ์) มอบหมายให้ สทนช. พิจารณาปรับแก้ไข แผนแม่บท ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ เกษตรนอกเขตชลประทาน โดยบรรจุนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์ เป็นแนวทางแก้ปัญหาแล้งระยะเร่งด่วน (คณะทำงานฯ) ให้เสร็จสิ้นโดยไว (เบื้องต้นอาจเป็นแผนฯเฉพาะหน้าในวิกฤติเอลนิโญ่)

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เตือน‘ชาวใต้’! สทนช.ยังมีพายุระลอก 2 คาด​พ้นกลาง ธ.ค.สถานการณ์​ฝนเบาลง เตือน‘ชาวใต้’! สทนช.ยังมีพายุระลอก 2 คาด​พ้นกลาง ธ.ค.สถานการณ์​ฝนเบาลง
  • สทนช.เตือน 7 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13-24 ต.ค. 67 สทนช.เตือน 7 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13-24 ต.ค. 67
  • ‘สทนช.’สรุปสถานการณ์‘น้ำ’ เตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-น้ำทะเลหนุนสูง ‘สทนช.’สรุปสถานการณ์‘น้ำ’ เตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-น้ำทะเลหนุนสูง
  • ‘สทนช.’อัปเดต‘สถานการณ์น้ำ’ทั้งประเทศ เตรียมรับมือ‘แม่น้ำโขง’ระดับน้ำสูงขึ้น ‘สทนช.’อัปเดต‘สถานการณ์น้ำ’ทั้งประเทศ เตรียมรับมือ‘แม่น้ำโขง’ระดับน้ำสูงขึ้น
  • เช็คด่วน!‘สทนช.’แจ้งพื้นที่เสี่ยงภัย ระวัง‘น้ำท่วมฉับพลัน-ดินโคลนถล่ม’ 24-30 ส.ค. เช็คด่วน!‘สทนช.’แจ้งพื้นที่เสี่ยงภัย ระวัง‘น้ำท่วมฉับพลัน-ดินโคลนถล่ม’ 24-30 ส.ค.
  • ครม.ไฟเขียวงบ 9,167.44 ล้าน ‘สทนช.’เสนอขอจัดการน้ำช่วงฤดูฝน ครม.ไฟเขียวงบ 9,167.44 ล้าน ‘สทนช.’เสนอขอจัดการน้ำช่วงฤดูฝน
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ จำนวน 18 นาย

'แรปเปอร์มะกัน'ไม่จบ! เหยียดแรงยันห้องน้ำไทย ลั่นประเทศนี้ไร้ระบบบำบัดน้ำเสีย

'ไพศาล'ชี้แพทย์ 3 รายโดนฟันจริยธรรม! เสี่ยงคดี 157 ละเมิดอำนาจศาล

เช็กเลยพื้นที่ไหนบ้าง!! ปลดล็อกวันนี้ขาย‘เหล้า-เบียร์’ 5 วันพระใหญ่ หนุนปีเที่ยวไทย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved