วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ติดตั้ง Sensor วัดสั่นสะเทือน7ตึกสูง  รพ.-ศาลาว่าการดินแดงรับแผ่นดินไหว

ติดตั้ง Sensor วัดสั่นสะเทือน7ตึกสูง รพ.-ศาลาว่าการดินแดงรับแผ่นดินไหว

วันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : Sensor วัดสั่นสะเทือน
  •  

กทม.เตรียมติดตั้ง Sensor วัดความสั่นสะเทือน 7 อาคารสูง รพ.ในสังกัดพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการโยธา (สนย.) ได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิดโดยจากเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 สนย.ได้ประสานสำนักงานเขตพื้นที่ร่วมตรวจสอบผลกระทบ ไม่พบอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ


ทั้งนี้ สนย.ได้ทดลองติดตั้งSensor ตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนและประเมินกำลังต้านทานการรับแรงแผ่นดินไหว ที่ด้านบนอาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.ดินแดง โดยกำหนด ค่าการแจ้งเตือนเป็น 0.015 m/s2 (1.5 milli-g) เป็นค่าความสั่นสะเทือนที่คนสามารถรู้สึกได้ โดยค่าความสั่นสะเทือนที่จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารจะมีค่าประมาณ 0.1-0.2 m/s2 ซึ่งจะมากกว่าค่าที่คนรู้สึกได้ประมาณ 10 เท่าและเครื่องมือตรวจวัดค่าความสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2566 เป็นค่า 0.023 m/s2 (2.3 milli-g)คนรู้สึกได้ โดยจะมีการติดตั้ง Sensorดังกล่าว เพิ่มในอาคารสูงของกทม.อยู่ระหว่าง สนย.ขอจัดสรรงบประมาณเพื่อติดตั้ง จำนวน 7 อาคาร ได้แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ อาคาร72 พรรษา 24 ชั้น, โรงพยาบาลกลางอาคารอนุสรณ์ 100 ปี 20 ชั้น (ยกเลิกเนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอทุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติดำเนินการเอง), โรงพยาบาลวชิระอาคารเพชรรัตน์ 19 ชั้น, คณะแพทยศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 24 ชั้น, โรงพยาบาลตากสิน อาคารพระเจ้าตากสิน 17 ชั้น และ อาคารธนบุรีมหาสมุทร 20 ชั้นและ ที่ศาลาว่าการกทม.ดินแดง อาคารธานีนพรัตน์ 35 ชั้น (ทดลองติดตั้งแล้ว)

สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯที่ผ่านมา สนย.ได้ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยและการควบคุมอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ ดังนี้ 1. ช่วงการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร นับตั้งแต่กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 และ พ.ศ. 2564 บังคับใช้ ซึ่งได้กำชับตรวจสอบอาคารที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างเคร่งครัด 2. ช่วงดำเนินการใช้อาคาร ในส่วน อาคารที่เข้าข่ายตามมาตรา 32 ทวิ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เช่น อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมชนโรงมหรสพ อาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรม หรือด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณีตรวจสอบสภาพอาคาร ซึ่งจะต้องรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร (แบบ ร.1) โดยสนย.วางแผนเข้าตรวจสอบทุกอาคารที่ได้รับ แบบร.1 พร้อมรณรงค์ส่งเสริมและให้คำแนะนำเจ้าของอาคารดูแลรักษาสภาพอาคารให้มีความปลอดภัยในการใช้งานอยู่เสมอหากพบมีความผิดปกติด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจะแจ้งให้จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเข้าตรวจสอบอาคารอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงทีก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยในปี 2566 ได้เข้าตรวจสอบแล้วมากกว่า 350 อาคาร

ด้านนายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) ได้เตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครพ.ศ.2564-2570 และแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม รวมทั้งจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยพร้อมยานพาหนะ อุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการกู้ภัยและช่วยชีวิตจากอาคารถล่มสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหากมีสถานการณ์แผ่นดินไหวและอาคารถล่มเกิดขึ้น สำหรับวิธีการเอาตัวรอดตามหลักวิชาการผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวจะต้องหาพื้นที่แข็งแรง เช่น เตียง โต๊ะ ตู้ และพยายามหลบบริเวณมุมของสิ่งเหล่านั้น เพราะหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว สิ่งของดังกล่าวจะเกิดการพาดระหว่างกัน เป็นลักษณะสามเหลี่ยมชีวิตที่มีลักษณะเป็นช่องว่างสามารถคลานได้ และเมื่อเหตุการณ์สงบแล้วพยายามออกจากอาคารให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบเหตุสาธารณภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 199 หรือ 1555 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘หมอตุลย์’ยื่นจม.ถึงประธานวุฒิสภา เสนอล่าชื่อยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้นรมว.วัฒนธรรม

ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในพิธีทบทวนคำปฏิญาณ-สวนสนามของลูกเสือ ปี 2568

‘อิ๊งค์’เก็บตัวงดภารกิจ รอเข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ 3 ก.ค.

(คลิป) ผ่าแผน! 'อุ๊งอุ๊งค์' ตกเก้าอี้นายกฯ ตะกายขึ้นแท่น 'รมว.วัฒนธรรม'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved