วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ระวัง! พบโอมิครอนลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ 'XDD' แพร่ระบาดเหนือกว่า EG.5.1

ระวัง! พบโอมิครอนลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ 'XDD' แพร่ระบาดเหนือกว่า EG.5.1

วันศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 13.31 น.
Tag : โอมิครอนระบาด โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน โควิด โควิด19
  •  

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโควิด-19 โดยระบุว่า พบสายพันธุ์ลูกผสมใหม่ “โอมิครอน XDD” (EG.5.1.1*/JN.1*) เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างโอมิครอน HK.3 (สายพันธุ์ลูกหลานของเอริส: EG.5.1) และโอมิครอน JN.1 (ลูกหลานของพิโรลา: BA.2.86) 

จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า XDD มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรปและในสหรัฐ อเมริกายังไม่พบ XDD ในประเทศไทย โดย XDD มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลัก เอริส (EG.5.1) ที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ถึง  163% หรือ 2.63 เท่า


ไวรัสโคโรนา 2019 มีการกลายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องโดยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงโปรตีนส่วนหนามเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือจากการฉีดวัคซีน
ไวรัสลูกผสม (hybrid) เป็นกระบวนการผสมและจับคู่ของไวรัสเพื่อเร่งความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันให้เกิดเร็วขึ้น กว่าการกลายพันธุ์ของแต่ละสายพันธุ์ไปอย่างปรกติ เมื่อไวรัสสองตัวที่ต่างสายพันธุ์กันติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน พวกมันจะสามารถสลับส่วนของยีนเพื่อสร้างไวรัสลูกผสมตัวใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะจากทั้งไวรัสพ่อและแม่หรือบางครั้งอาจมีลักษณะใหม่ที่ทั้งพ่อและแม่เดิมไม่มี

ล่าสุดนักวิชาการอิสสระ โจเซต ชเวนเมเกอร์ (Josette Schoenmakers) ชาวเนเธอร์แลนด์รายงานการพบโอมิครอน 2 สายพันธุ์ย่อยคือ HK.3 ซึ่งเป็นลูกหลานของโอมิครอน “เอริส(EG.5.1)” และ JN.1 ซึ่งเป็นลูกหลานของโอมิครอน “พิโรลา(BA.2.86)” เกิดการผนวกควบรวมสายจีโนมเข้าด้วยกัน (recombination) เกิดเป็นลูกผสมสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่ถูกเรียกว่า “XDD”
ลูกผสม HK.3/JN.1, หรือ XDD มีจุดเชื่อมต่อกัน 2 จุด, จุดที่หนึ่งระหว่างนิวคลีโอไทด์ตำแหน่งที่ 6541 - 7842, 

และจุดที่สองตำแหน่งที่ 25416 – 26270 โอมิครอนลูกผสม XDD ได้รับยีนสร้างโปรตีนหนามทั้งหมดมาจาก JN.1 โดยมียีน ORF9b, truncated ORF8, และยีนสร้างโปรตีนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับใช้สร้างส่วนหนาม (non-Spike structural proteins) จากโอมิครอน HK.3

ทำให้โอมิครอนลูกผสม XDD มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า สายพันธุ์หลัก เอริส (EG.5.1) ที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ถึง 163% หรือ 2.63 เท่า ในขณะที่ไม่พบความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสายตระกูล BA.2.86 และ JN.1 คือเพียงประมาณ 17% หรือ 1.17 เท่า เท่านั้น

คำว่า XDD เป็นส่วนหนึ่งของระบบการตั้งชื่อสำหรับไวรัสลูกผสมเหล่านี้ ระบบเริ่มต้นด้วย X ตามด้วยตัวอักษรตามลำดับ (เช่น XA, XB, XC, XD เป็นต้น) ตัวเลขจะใช้ก็ต่อเมื่อมีการสืบทอดที่ชัดเจน (เช่น XB.1)

ลูกผสมที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตคือ โอมิครอน XBB, เดลตาครอน-XBC, และล่าสุดคือ เอริส (Eris) x พิโรลา (Pirola) เกิดเป็นโอมิครอนลูกผสม XDD HK.3 ลูกหลานของ “อีริส” พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี 2566 โดยมีการเปลี่ยนแปลงพิเศษบริเวณโปรตีนส่วนหนามเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและยึดเกาะกับเซลล์ได้ดีขึ้น

JN.1 รุ่นลูกของ “พิโรลา” เป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่พบในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐ อเมริกา โดยมีความโดดเด่นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในโปรตีนส่วนหนามไปมากกว่า 30 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับโอมิครอน XBB.1.5

สิ่งที่ควรตระหนักแต่ไม่ต้องตระหนกคือกระบวนการผสมและจับคู่นี้เป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัส ไวรัสลูกผสม XDD ขณะนี้ได้รับการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโลก “จีเสส(GISAID)” จำนวน 40 รายจากประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ

ฝรั่งเศส ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมได้สำเร็จ 14 ราย เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นพบระบาดภายในประเทศ 0.067%

สเปน
8
0.047%

สหรัฐ
4
0.003%

สวีเดน
2
0.023%

สวิตเซอร์แลนด์
2
0.096%

ออสเตรีย
1
0.039%

เดนมาร์ก
1
0.018%

เยอรมนี
1
0.025%

เนเธอร์แลนด์
1
0.029%

โปแลนด์
1
0.145%

ประเทศอังกฤษ
1
0.004%

ยังไม่พบในประเทศไทย

ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลจากห้องปฏิบัติการและจากผู้ติดเชื้อมากนักว่าโอมิครอน XDD หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและยึดเกาะกับผิวเซลล์ได้ดีกว่าทั้ง“เอริส(EG.5.1)” และ “พิโรลา(BA.2.86)” หรือไม่ รวมทั้งก่อให้มีการติดเชื้อรุนแรงแตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญหรือเปล่า

หมายเหตุ

สายวิวัฒนาการของโอมิครอน:
รุ่นแรก (ตรวจพบเมื่อปี 2564)
สายพันธุ์: BA.1
ลักษณะเด่น: เป็นสายย่อยแรกที่ถูกตรวจพบของโอไมครอน

รุ่นที่สอง (ตรวจพบเมื่อปี 2565-2566)

สายพันธุ์: BA.2, BA.3, BA.4, BA.5, BA.2.86
ลักษณะเด่น: เกิดจาก BA.1, โดยที่แต่ละสายย่อยมีการกลายพันธุ์ 'เฉพาะตัว' เพิ่มเติม 10-30 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับไวรัสต้นตระกูลที่รู้จักใกล้ที่สุด

รุ่นแห่งอนาคต (ตรวจพบปี 2566-2567)

สายพันธุ์: XBB.1.9.2 (EG.5.1), XBB.1.22.1 (FY.3), XBB.1.16.1 (FU.1), XBB.1.9.2 (EG.2), XBB.1.9.2 (EG.5), XBB.1.18.1 (FE.1.1), XBB.1.9.1 (FL.2.2), XBB.1.22.1 (FY.2), BA.2.75.3 (FK.1), BA.2.75.5 (FR.1), BA.2.75.3 (DV.5), XDD (EG.5.1.1*/JN.1*)
https://github.com/sars.../lineage-proposals/issues/1024...
https://public.tableau.com/.../TrackingBA_2.../BA_2_86
SARS-CoV-2 evolution in the Omicron era
Nature Microbiology volume 8, pages1952–1959 (2023)
https://www.nature.com/articles/s41564-023-01504-w

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'หมอธีระ\'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย 'หมอธีระ'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย
  • กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี\'เดลตาครอน\'ระบาด กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี'เดลตาครอน'ระบาด
  • ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น
  • ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป
  • ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด
  • ‘โควิด’กลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ชี้อย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้ ‘โควิด’กลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ชี้อย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
  •  

Breaking News

‘สว.โชคชัย’ ท่องไม่รู้-ไม่เห็นหมายเรียก ‘คดีฮั้วสว.’ ขอดูรายละเอียดก่อน

'รุจิระ บุนนาค' เขียนบทความ 'ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย'

'ในหลวง-พระราชินี'เสด็จฯ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 (ประมวลภาพ)

ผีชิงไก่!ควงคว้าชัยล่าแชมป์ยูโรป้า ลีก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved