วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
แก้ปัญหา‘ยาเสพติด’ ต้องเปลี่ยนหลักคิด หนุนเปิดพื้นที่ปลอดภัย-ชุมชนมีส่วนร่วม

แก้ปัญหา‘ยาเสพติด’ ต้องเปลี่ยนหลักคิด หนุนเปิดพื้นที่ปลอดภัย-ชุมชนมีส่วนร่วม

วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 20.34 น.
Tag : มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด มศวส. สสส. ยาเสพติด
  •  

วงสัมมนาแนะแก้ปัญหา"ยาเสพติด"ต้องเปลี่ยนหลักคิด หนุนเปิดพื้นที่ปลอดภัย-ชุมชนมีส่วนร่วม

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด (มศวส.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสัมมนาแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ โดย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า หลักการสำคัญของการขับเคลื่อนงานป้องกันยาเสพติดในชุมชน ต้องมีฐานมาจาก


1.พลังสังคม คือ กลไกภาคประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนงาน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้มีศักยภาพ และเท่าทันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 2.พลังวิชาการ ที่ต้องพัฒนาข้อมูลเชิงวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ขยายผลการทำงาน และ 3.พลังนโยบาย คือ การนำบทเรียนจากการทำงานของกลไกภาคประชาชน และข้อมูลวิชาการ มาพัฒนาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ

ทั้งนี้ หากใช้แนวคิดเรื่อง “สงครามโรค” ที่แบ่งเป็น 3 ยุค มาเปรียบเทียบจะพบว่า ยุคที่ 1 คือการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ สงครามครั้งนี้มนุษย์เป็นฝ่ายชนะด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ซึ่งคลี่คลายลงเมื่อมีการฉีดวัคซีน ขณะที่ยุคที่ 2 จะรับมือยากกว่ายุคแรก เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ใจตนเอง เช่น กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เกิดจากพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารรสหวาน-มัน-เค็มจัด และไม่ค่อยออกกำลังกาย

และยุคที่ 3 ที่รับมือยากที่สุด คือโรคจากสังคมป่วย เช่น พ่อติดคุก แม่ติดยา ยายติดเหล้า แล้วเด็กจะอยู่อย่างไร สังคมป่วยคือสังคมที่ใช้ระบบทุนนิยม แล้วก็มียาเสพติดที่มีคนพยายามจะขาย มีสุรา มีบุหรี่ ล่าสุดยังมีบุหรี่ไฟฟ้าด้วย ซึ่งสงครามโรคยุคที่ 3 ยากสุด เพราะสังคมป่วย ไม่ใช่บุคคลป่วย การแก้ปัญหาจึงต้องใช้ทั้งสังคมไม่อาจใช้คนใดคนหนึ่งได้ อย่างตนไปลงพื้นที่ จ.น่าน พบว่า เยาวชนกลุ่มเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด คือกลุ่มที่มองว่าตนเองไม่มีที่ไป อยากรู้สึกภูมิใจและมีความสุข แต่ก็ไม่รู้จะสร้างคุณค่าไปเพื่ออะไร เพราะครอบครัวและชุมชนตัดสินไปแล้วว่าแย่

“ในเมื่อเขาไมได้ความสุขจากสิ่งที่เขาทำ เขาก็ไปหาความสุขที่เรียกว่าความสุขสำเร็จรูป ก็คือจากยา ปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่ปัญหายาเสพติด เพราะถ้าโลกนี้ไม่มียาบ้าเขาก็ติดเหล้า ไม่มีเหล้าเขาก็ติดบุหรี่ ไม่มีบุหรี่เขาก็ติดกัญชา ไม่มีกัญชาเขาก็ติดอะไรสักอย่างเพื่อเอาความสุขเข้ามาให้อยู่ไปในช่วงหนึ่งของชีวิต” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ไม่มีใครเกิดมาเพื่ออยากเป็นนักโทษ แต่เกิดจากการเจียระไนที่ผิดพลาดจากสังคม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะพ่อแม่ของผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาครัฐทั้งระบบราชการและฝ่ายการเมืองที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนโยบายสาธารณะด้วยเช่นกัน เพราะจากครอบครัวไทยประมาณ 22 ล้านครอบครัว จะมีเพียงจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่สามารถดูแลลูกได้ด้วยกำลังของครอบครัวตนเอง แต่อีกจำนวนมหาศาลไม่สามารถทำได้

และหากประเทศใดปล่อยให้ประชาชนที่ดูแลลูกตนเองไม่ได้แล้วต้องมาลุ้นกับโชคดี-โชคร้าย ประเทศนั้นก็ไม่ต้องมีรัฐบาล ไม่ต้องมีพรรคการเมือง ไม่ต้องมีข้าราชการ เมื่อประชาชนจ่ายภาษีไปแล้วย่อมคาดหวังว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตจะได้รับการดูแล รัฐต้องมีระบบหนุนเสริม (Empower) ให้พ่อแม่ ทั้งนี้ จากกระบวนการของบ้านกาญจนาฯ ที่กำหนดให้เยาวชนต้องเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวของตนเอง ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาจนถึงวันสุดท้ายก่อนถูกปล่อยตัว และตนกับเจ้าหน้าที่จะอ่านทั้งหมด หลายเรื่องน่าตกใจและน่าคิดว่า ประเทศเรายังมีรัฐบาลหรือมีหน่วยงานอยู่หรือไม่

โดยจากสถิติของบันทึกที่เด็กบ้านกาญจนาฯ เขียน พบว่า เยาวชนที่เข้าร่วมกลุ่มแก๊งไปก่ออาชญากรรม ส่วนใหญ่จุดเริ่มต้นมักมาจากการหลุดออกจากระบบการศึกษา มีน้อยคนที่เป็นสมาชิกแก๊งด้วยพร้อมกับยังเรียนอยู่ โดยพบว่า ในชั้น ม.2 เทอมที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เยาวชนกลุ่มนี้ต้องออกจากโรงเรียนมากที่สุด เมื่อถามว่าทำไมถึงถูกให้ออกจากโรงเรียน เยาวชนตอบว่าเพราะเรียนไม่เก่ง สรุปแล้วประเทศนี้ต้องการแต่แพทย์เท่านั้นหรือ แล้วถ้าไม่มีคนทำเตียงคนไข้ให้ แพทย์จะทำงานได้หรือไม่

หรือเยาวชนคนหนึ่งเขียนเล่าว่า ไม่สามารถรับสภาพที่บ้านได้ เดินเข้าบ้านทีไรพ่อก็จะเอาแต่พูดเรื่องความสำเร็จของตัวพ่อเอง พูดซ้ำๆ ซากๆ บอกว่ากว่าจะรวยขนาดนี้พ่อต้องผ่านอะไรมาบ้าง และคอยบอกว่าลูกทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ จนลูกไม่กล้าอยู่ใกล้พ่อ ส่วนเยาวชนอีกคนเขียนล่าว่า เข้าบ้านเจอพ่อกับแม่ทะเลาะกันทุกวัน จึงออกจากบ้านไป และจากที่คิดว่าไปไม่นาน แต่ออกจากบ้านแล้วกลับเจอเยาวชนที่มีชะตากรรมเดียวกันจำนวนมาก มีแม้กระทั่งที่เขียนว่า ตอนลั่นไกครั้งแรกยังไม่มีคนตาย แต่เพื่อนในแก๊งชื่นชม ดังนั้นการลั่นไกครั้งที่สองจะทำให้ผิดหวังไม่ได้

“คำถามที่เราควรตั้งคือเขาผ่านครอบครัวแบบไหน? เขาถูกเจียระไนโดยใคร? สังคมนี้ใช้เครื่องมือไหนเจียระไนเขา? ถึงรู้สึกว่าการลั่นไกครั้งที่หนึ่งไม่มีคนตายแต่มีคนปลื้ม การลั่นไกครั้งที่สองต้องมีคนตายเพราะคนที่ปลื้มผมจะผิดหวังไม่ได้ ตรรกะแบบนี้มันมาจากไหน? ใครเจียระไนเขา? แน่นอนไม่ใช่แค่ปัจเจกที่เจียระไน แต่มันคือระบบของประเทศนี้” ผอ.บ้านกาญจนาฯ ระบุ

ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ประธานมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด และผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาสิ่งเสพติดต้องใช้กลไกและอำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาที่มีความต่อเนื่อง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนกรอบความคิดของชุมชนที่มีต่อสิ่งเสพติด ซึ่งโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สสส. มีเป้าหมายการทำงานคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

“มีกลไกการทำงานคือ 1.ระบบความสัมพันธ์ที่ดี 2.ใช้ความเข้าใจ เปิดใจการการพูดคุย 3.เป็นการจัดการเชิงบวก 4.พื้นที่การเรียนรู้ที่พัฒนาคนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์ การออกแบบเพื่อยกระดับการเรียนรู้ร่วม ทั้งนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาชุดความรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานกับชุมชน เพื่อนำไปใช้ขยายพื้นที่ทำงานทั่วประเทศ ตลอดจนการขยายเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์” ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ กล่าว

นายสมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ในอดีตแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะเป็นลักษณะ “การใช้อำนาจบังคับ” กล่าวคือ ผู้มีอำนาจทางกฎหมายในการสั่งการ ตรวจเจอแล้วจับ ขณะที่ชุมชนมองว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องปัจเจก ที่หากจะแก้ไขต้องแก้ที่บุคคล หรือเรียกว่า “ตัวใครตัวมัน” ขณะที่แนวทางการทำงานของ สสส. ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการปัญหายาเสพติดที่รุนแรงขึ้น โดยให้ความสำคัญการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

“การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างหลายหลาย แต่มีหลักการสำคัญคือ มีพื้นที่ตรงกลาง เน้นรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา มอบโอกาส และสร้างความเข้าใจ มีกลไกที่ช่วยประสาน เชื่อมโยงภายในและภายนอกที่เหมาะสม สิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการฯ สำเร็จคือ การเปิดโอกาสให้ชุมชนดำเนินการตามศักยภาพของตัวเอง ทำให้ชุมชนมีอิสระในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายสมคิด กล่าว

ขณะที่ นายนเรศ สงเคราะห์สุข ที่ปรึกษาศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นโยบายเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งในไทยและอีกหลายชาติ เปลี่ยนแปลงได้ยาก จากแนวคิดแบบเดิมที่เป็นการทำสงครามกับยาเสพติดที่เน้นการปราบปรามอย่างรุนแรง เป็นแนวคิดใหม่ที่การสร้างพื้นที่ปลอดภัยแล้วช่วยกันแก้ปัญหาโดยไม่ผลักผู้ใช้ยาเสพติดออกไปจากสังคม แม้แนวคิดอย่างหลังจะถูกพูดถึงในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก เมื่อปี 2559 (UNGASS 2016) ได้แก่

1.ยาเสพติดถูกทำให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง กล่าวคือ นักการเมืองที่ใช้นโยบายแบบประชานิยม (Popular Policy) จะเห็นว่าการปราบปรามแบบเฉียบขาดรุนแรง ทำแล้วสะใจประชาชน โดยประชาชนก็จะรู้สึกว่านโยบายดังกล่าวได้ช่วยลูกหลานของตนเอง และนักการเมืองหรือผู้นำรัฐบาลก็จะได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเพราะช่วยปกป้องลูกหลานของประชาชน กับ 2.วิธีคิดหลักของสังคม หรือกระแสสังคม เช่น นำการใช้ยาเสพติดไปผูกติดกับศีลธรรมทางศาสนา มองว่าผู้ใช้ยาเสพติดเป็นคนชั่วคนเลว ซึ่งแม้แต่คนทำงานภาคประชาชนจำนวนมากก็ยังคิดแบบนี้

“การมองวิธีคิดของสครามยาเสพติด มันมองอย่างนี้ว่าอะไรคือศัตรู ใครก็ตามที่ไปใช้ยาคือศัตรู มันไม่แยกแยะ บางคนเข้าไปใช้มันมีเงื่อนไขของการใช้ บางคนลองนิดหน่อย บางคนต้องทำงาน ทีนี้ถ้าวิเคราะห์แบบนี้มันถูกไหม? แล้ววิธีจัดการคือต้องแยกเขาออกจากสังคม ทีนี้พอแยกออก มีวิสามัญฯ มีคนตาย พ่อแม่สูญเสีย โดนจับเข้าคุกแทนที่จะปรับพฤติกรรมได้ก็มาเรียนรู้เพิ่มเติมใหม่ เจ๋งขึ้น เป็นเครือข่ายการค้า คือยังไม่มีงานศึกษาที่เป็นรูปธรรมเพียงพอ แต่ผมอยากเชียร์ให้คนศึกษาอยู่ ว่าวิธีการอย่างนี้จริงๆ มันสูญเสียเยอะ” นายนเรศ กล่าว

- 006

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ศธ. จับมือ \'สตช.-มท.-ภาคีเครือข่าย\' ปูพรมปฏิบัติการตรวจร่วม \'นักเรียนปลอดภัย ห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้า ยาเสพติด\' ศธ. จับมือ 'สตช.-มท.-ภาคีเครือข่าย' ปูพรมปฏิบัติการตรวจร่วม 'นักเรียนปลอดภัย ห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้า ยาเสพติด'
  • ‘สสส.’ดึง‘อปท.’พัฒนาเครือข่ายสร้างสังคม‘ปลอดบุหรี่’ ตั้งเป้าลดผู้สูบ 9 ล้านคนในปี68 ‘สสส.’ดึง‘อปท.’พัฒนาเครือข่ายสร้างสังคม‘ปลอดบุหรี่’ ตั้งเป้าลดผู้สูบ 9 ล้านคนในปี68
  • \'สสส.-สกร.\'ดึงบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน\'เฉลิมราชกุมารี\'30 แห่ง ร่วมสร้างพื้นที่เติมสุข 'สสส.-สกร.'ดึงบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน'เฉลิมราชกุมารี'30 แห่ง ร่วมสร้างพื้นที่เติมสุข
  • ตาย2สาหัส1 เซ่นยาเสพติด‘ลาบูบู้’  ปปส.เตือนปชช.ระวัง ตาย2สาหัส1 เซ่นยาเสพติด‘ลาบูบู้’ ปปส.เตือนปชช.ระวัง
  • เปิดผลศึกษาพบวัยรุ่นสูบ‘บุหรี่ไฟฟ้า’เพียบ ‘หนุ่มไรเดอร์’แฉพิษภัย‘ติดเชื้อในกระแสเลือด’ เปิดผลศึกษาพบวัยรุ่นสูบ‘บุหรี่ไฟฟ้า’เพียบ ‘หนุ่มไรเดอร์’แฉพิษภัย‘ติดเชื้อในกระแสเลือด’
  • \'สสส.\'สานพลังภาคี สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต 48 ชุมชนไม่ขึ้นทะเบียนทั่วกรุงฯ 'สสส.'สานพลังภาคี สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต 48 ชุมชนไม่ขึ้นทะเบียนทั่วกรุงฯ
  •  

Breaking News

เริ่มแล้ว!!! การแข่งขันเรือใบ Trat Regatta 2025 ระดับนานาชาติครั้งแรกในจังหวัดตราด

'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'

ด่วน!เปิดชื่อ 55 สว. เรียกรับทราบข้อหาปม'คดีฮั้ว' แบ่งเป็น 3 ลอต

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved