น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยมี น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ปลัด อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. พร้อมผู้บริหาร อว. เข้าร่วม ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา ระหว่างการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว. ภายใต้การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)
น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายจะเป็น Hub ของยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยบอร์ดอีวีแห่งชาติได้ตั้งเป้าหมายจะผลิตรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษอย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดของประเทศไทยภายในปี พ.ศ.2573 หรือเรียกว่านโยบาย 30@30ดังนั้น เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล อว. จึงได้มีนโยบาย “อว.For EV” ใน 3 เสาหลัก ได้แก่ EV HRD หรือการผลิตกำลังคนให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป้าหมาย 150,000 คนใน 5 ปี EV Transformation หรือการเปลี่ยนรถ ICE เป็นรถ EV ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของ อว. เป้าหมาย 30% ภายในปี 2030 และ EV Innovation เพื่อยกระดับผู้ประกอบการด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านความร่วมมือจากทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐ และ ภาคเอกชน จำนวน 100 ราย โดยการจัดสรรทุนวิจัยจากกองทุน ววน. ประมาณ 3,000 ล้านบาทใน 5 ปี
“เพื่อให้เกิดความมั่นใจและแสดงความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนนโยบาย “อว. For EV” จึงได้มีพิธีลงนาม MOU ขึ้นโดยทุกหน่วยงาน ทุกองคาพยพของ อว.จะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV โดยมหาวิทยาลัยพะเยาจะเป็นหน่วยงานแรกที่เปลี่ยนมาใช้รถบัส EV จำนวน 30 คันคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกปีละ 3,000 ตัน และทุกมหาวิทยาลัยจะร่วมกันเพื่อนำไปสู่การเป็น Green Campus ทั้งประเทศ หากมาตรการ EV Transformation บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย 5,000 คัน ภายในปี 2573 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 500,000 ตัน” รมว.อว.กล่าว
รมว.อว. กล่าวต่อไปว่า ขอบคุณทุกหน่วยงานของ อว.ที่ช่วยกันดูแลโลก ดูแลประเทศของเรา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Go Green ของ อว. เพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ สิ่งที่ อว.จะเร่งดำเนินการคือการพัฒนาทักษะกำลังคน เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมกับการ Upskill กำลังคนในอุตสาหกรรมรถยนต์ควบคู่ไปด้วยกำลังคนที่ต้องการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย กำลังคนด้านการออกแบบ การผลิต การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการซ่อมบำรุง สถานีบรรจุและโครงสร้างพื้นฐานคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามีความต้องการกำลังคนอย่างน้อยปีละ 5,000 คน ซึ่ง อว. ได้วางแผนการผลิตกำลังคนเหล่านี้ให้เพียงพอแล้ว
“หลังจากนี้ตนจะให้มีการดำเนินงานโครงการ อว. For AI ด้านการศึกษาและ อว.For PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญและให้สอดคล้องกับ อว. For EV เพราะเรามีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์จากหลายหน่วยงานที่จะมาร่วมกันแก้ปัญหาให้กับประเทศ โดยขณะนี้จิสด้าได้ร่วมกับนาซ่าทำการศึกษาคุณภาพอากาศในประเทศไทย เพื่อนำมาช่วยในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศแล้ว“ น.ส.ศุภมาส ระบุ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี