เลขาธิการ TSPCA ลงพื้นที่ให้กำลังใจแก้ปัญหา‘ลิงลพบุรี’
23 พฤษภาคม 2567 ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย(TSPCA) และคณะ ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดลพบุรี เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาลิงลพบุรี โดยได้กล่าวขอบคุณชื่นชมและให้กำลังใจทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาลิงลพบุรีอย่างจริงจัง เพื่อลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพลิงที่ดี โดยเฉพาะคนลพบุรีทราบว่ามีหลายภาคส่วนร่วมกัน นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำโดยนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพสัตว์ป่าและคณะ ได้ลงพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงแนะนำในการดำเนินการจับและดูแลด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง NGOs สัตวแพทย์หญิง จุฑามาศ สุพะนาม ที่ช่วยเหลือรักษาลิงในพื้นที่ และที่สำคัญคือคนลพบุรีเองที่จะมีส่วนช่วยสำคัญในการแก้ปัญหาลิงลพบุรี ให้คลี่คลายเบาบางลง เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีอีกครั้ง
สำหรับขณะนี้ความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาทราบว่า มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU.) ที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาลิงลพบุรีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งก็มีการแก้ไขกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว
สมาคมฯ ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวมาตลอดและสนใจประเด็นปัญหา โดยจะมีการจัดประชุม (กลุ่มย่อย) เรื่อง การบูรณาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและสัตว์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาลิงลพบุรี ขึ้นเร็วๆ นี้ ขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมและจะเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน ในอันที่จะสร้างต้นแบบแห่งการแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง ต่อไป
ด้านนายพิชัย เกียรติวินัยสกุล ประชาชนในพื้นที่ลพบุรี กล่าวว่าตนได้อาศัยอยู่ในบริเวณข้างพระปรางค์สามยอด กว่า 50 ปี รู้และเข้าใจสภาพปัญหาลิงลพบุรี สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาลิงลพบุรี เริ่มต้นจากระดับนโยบาย ต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานร่วมกับภาคเอกชน NGOs มูลนิธิในพื้นที่ รวมทั้งสื่อมวลชนและนิสิตนักศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะกรณีลิงและต่อเนื่อง และมีการประเมินผลของการปฏิบัติงานอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง และมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ และตรวจสอบการดำเนินงาน สำหรับระดับปฏิบัติการ ควรมีการสำรวจจำนวนประชากรของลิงที่แท้จริง การกำหนดสถานที่และเวลาให้อาหารลิงอย่างน้อย 3 มื้อ มีเจ้าหน้าที่ให้อาหารและดูแลความสะอาด และที่สำคัญควรมีการทำหมันลิงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหาสถานที่ระบายลิงออกจากพื้นที่ในพื้นที่แออัด มีการจัดตั้งสถานพยาบาลรักษาลิงเจ็บป่วย ป้องกันโรคระบาดอาจเกิดจากลิงนำพามาสู่คน และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวไทยและต่างประเทศที่มาลพบุรี และต้องการให้อาหารลิงต้องปฏิบัติตามเวลาและสถานที่ ซึ่งกำหนดไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับถ้ามีการร่วมมือกันทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะมีการประเมินติดตามผลก็จะแก้ปัญหาลิงลพบุรีได้ ทำให้ลพบุรีกลับมาเป็นเมืองที่น่าและน่าท่องเที่ยวในระดับประเทศ คนและลิงก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขดั่งเช่นวันวาน แต่ตราบเท่าใดที่ลิงยังประสบปัญหาอดยาก ปัญหาต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้นมายากจะแก้ไข หัวใจคือการตรวจสอบโดยคณะทำงานที่เที่ยงธรรมไม่มีผลประโยชน์ เช่น นิสิตนักศึกษาและทำอย่างต่อเนื่องปัญหาก็จะแก้ไขได้อย่างยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี