จังหวัดอำนาจเจริญ โดยอำเภอชานุมาน กำหนดจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุ อัตลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2568 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 7 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ เป็นงานประเพณีแห่ยักษ์ ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีความโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอำนาจเจริญ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย ขบวนแห่ยักษ์คุ การประกวดขบวนแห่ยักษ์ และธิดายักษ์ การแสดงแสงสีเสียง ตำนาน ยักษ์คุชานุมาน หมู่บ้านยักษ์การแสดงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมปั่นจักรยานชมเมืองเรื่องเล่าชานุมาน การแข่งขันตกปลานานาชาติกลางแม่น้ำโขง ณ.บริเวณแก่งหินขัน ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ การประกวดธิดาชานุมาน สัมผัสอุโมงค์ไฟลัดเลาะริมแม่น้ำโขงอย่างสวยงาม พร้อมถ่ายรูปบันทึกภาพประทับใจ เช็คอิน ณ จุดแลนด์มาร์คอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีเมืองอำนาจ สินค้าราคาถูก และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับตำนานยักษ์คุ อำนาจเจริญ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มาหลายชั่วอายุคน นับเป็นเวลากว่า 100 ปี ของคำว่า ยักษ์คุ หรือ ยักษ์คุกเข่า นั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจในความสอดคล้องของเรื่องราว ท่าสีดา บ้านนาสีดา (ปัจจุบันเป็นท่าเรือข้ามแม่น้ำโขง ไป สปป.ลาว) ซึ่งนางสีดาแต่งกายรอพระลักษมณ์ พระราม เพื่อเดินทางไปด้วยกัน และมียักษ์คุกเข่ารออยู่ด้วย โดยมีหลักฐานซากปรักหักพัง หักพัง ของปราสาทโบราณ “เฮือนหิน”เป็นสิ่งยืนยันเหลือไว้เป็นตำนาน ชีวิตวิถีเรียบง่าย ตามแบบของคนลุ่มน้ำโขง
ส่วนประเพณีแห่ยักษ์คุ ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอชานุมาน(หลังเก่า) มีปราสาทหิน และมียักษ์ตนหนึ่งมานั่งก้มลงกราบไว้บริเวณฝั่งเขตไทยรอยคุกเข่าและรอยนั่งเป็นบึงเล็กๆ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านยักษ์คุ ‘คุ.’ แปลว่า คุกเข่า ต่อมา เมื่อ 90 ปี ที่ผ่านมา ทางราชการของลาว ได้ส่งนักศึกษาเข้ามาศึกษาวิชาการในไทย เมื่อจบกลับประเทศ ในขณะนั้น เป็นเวลาที่ฝรั่งเศส เข้ายึดครองประเทศลาว บุคคลนี้จึงเกิดความไม่พอใจฝรั่งเศส จึงสร้างบ้านเรือนขึ้นที่บ้านยักษ์คุ และขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารและได้บรรดาศักดิ์เป็น “พระประจญจาตุรงค์” และตั้งชื่อชุมชนว่า “เมืองชานุมานมณฑล” ขึ้นตรงต่อมณฑลอุบลราชธานี
ยักษ์คุ เป็นความเชื่อตามตำนานปรัมปราชาวชานุมาน เกี่ยวกับเรื่องทศกัณฐ์ พระลักษมณ์ พระราม อัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ยังมีหลักฐานปรากฏบริเวณริมแม่น้ำโขง อ.ชานุมาน เป็นบ่อน้ำ 3 บ่อ เชื่อกันว่า เกิดจากการกระทำของยักษ์คุ หรือ ยักษ์อยู่ในท่านั่งคุกเข่า จนกลายเป็นวัฒนธรรม โดดเด่นของจังหวัดอำนาจเจริญ
จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วมค้นหาและศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนานความเป็นมาของยักษ์คุ หนึ่งเดียวในโลก ที่จังหวัดอำนาจเจริญ ในงานประเพณีแห่ยักษ์คุ อัตลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2568 ในระหว่างวันที่ 7 - 9 มีนาคม 2568 ณ.บริเวณหน้าเทศบาลตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญซึ่งจะทำให้ท่านประทับใจไปอีกนาน...
สนธยา ทิพย์อุตร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี