รัฐบาลเข้ม‘รถรับ-ส่งนักเรียน’ ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานขนส่งจังหวัด ‘คนขับ’ต้องมีใบอนุญาตมาแล้ว 3 ปี ต้องมีผู้ดูแลประจำรถ เตือนละเลยโทษหนัก
11 พฤษภาคม 2568 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสภาองค์กรของผู้บริโภค รายงานสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถรับ-ส่งนักเรียน ช่วงปี 2565 – 2566 เกิดเหตุรวมเฉลี่ย 30 ครั้ง ขณะที่ปี 2567 เพียงปีเดียวเกิดเหตุมากถึง 40 ครั้ง และมีเด็กเสียชีวิตมากถึง 10 คน และตั้งแต่ต้นปี 2568 พบ เดือน ม.ค. – ก.พ. เกิดเหตุแล้วมากถึง 6 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเดือน ก.พ. มากถึง 5 ครั้ง มีเด็กได้รับบาดเจ็บ 60 – 70 ราย
นายคารม กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลโดยสภาองค์กรของผู้บริโภคยังพบว่า รถรับ-ส่งนักเรียนส่วนใหญ่ยังเป็น “รถที่ไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียน” โดยจากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ณ วันที่ 31 พ.ค. 2566 ระบุว่า มีรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นรถรับส่งนักเรียนเพียง 3,342 คัน ขณะที่มีการประมาณการว่า มีรถรับ-ส่งนักเรียนมากกว่า 45,000 คัน ที่รับ-ส่งโดยไม่ได้ขออนุญาต หรือเท่ากับมีนักเรียนกว่า 540,000 คน (เปรียบเทียบรถรับ-ส่งนักเรียน 1 คัน บรรทุกนักเรียน 12 คน ตามกฎหมายกำหนด) ที่มีความเสี่ยงในการเดินทางด้วยรถรับ-ส่งนักเรียนที่ไม่มีมาตรการจัดการความปลอดภัย
รัฐบาลห่วงใยความปลอดภัยเด็ก นักเรียน เน้นย้ำให้ผู้ประกอบอาชีพรถรับ-ส่งนักเรียน ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของกรมการขนส่งทางบกที่ได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน โดยอนุญาตให้นำรถที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน ทั้งรถสองแถวและรถตู้มาใช้เป็นรถรับ-ส่งนักเรียนได้ ต้องมีการรับรองจากโรงเรียนหรือสถานศึกษา สำหรับมาตรฐานตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ดังนี้
1. ห้ามติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกรอบคัน
2. ที่นั่งผู้โดยสารต้องยึดแน่นอย่างมั่นคงแข็งแรง และต้องไม่มีพื้นที่สำหรับนักเรียนยืน โดยรถสองแถวต้องมีประตูและที่กั้นป้องกันนักเรียนตก ส่วนรถตู้ต้องจัดวางที่นั่งเป็นแถวตอน ตามความกว้างของตัวรถเท่านั้น
3. รถที่รับส่งต้องผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาในสังกัดที่อยู่
4. มีเครื่องมือที่จำเป็นกรณีฉุกเฉิน อาทิ เครื่องดับเพลิง หรือค้อนทุบกระจก วัสดุภายในรถส่วนของผู้โดยสารต้องไม่มีส่วนแหลมคม
5. รถรับ-ส่งนักเรียนทุกคันต้องติดแผ่นป้ายพื้นสีส้ม มีข้อความตัวอักษรสีดำว่า “รถโรงเรียน” ติดอยู่ด้านหน้าและด้านท้าย พร้อมไฟสัญญาณ
6. ผู้ขับต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องได้รับแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผู้ดูแลนักเรียนประจำอยู่ในรถ
7. เช็คชื่อนักเรียนทั้งขึ้นและลงพร้อมมีคนคอยดูแลนอกจากคนขับรถตลอดเส้นทาง
“ใกล้เปิดเทอม ปี 2568 นักเรียนจำนวนมากจำเป็นต้องใช้บริการรถรับ-ส่งไปโรงเรียน/สถานศึกษา ผู้ประกอบการรถบริการรับ-ส่งนักเรียน ต้องตรวจสอบสภาพรถและการบริการให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย มีการรับรองการใช้รถจากโรงเรียน ตามมาตรฐานตามที่กรมการขนส่งกำหนด รวมทั้งขอให้สถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงสร้างพื้นฐานทางการจราจรที่ปลอดภัยทั้งในสถานศึกษาและบริเวณโดยรอบ เช่น การติดตั้งไฟสัญญาณและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่สามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ” นายคารม กล่าว
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี