ไทยพีบีเอส เตรียมถ่ายทอดสด Bangkok Pride Festival 2025 เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองตัวตน ความหลากหลาย และความเท่าเทียมในทุกมิติ พร้อมร่วมยินดีกับความสำเร็จของสมรสเท่าเทียม และก้าวต่อสู่การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ รับชมสด 1 มิ.ย.นี้ ทางออนไลน์ทุกช่องทางของไทยพีบีเอส
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “Bangkok Pride Festival 2025” (บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2025) ภายใต้ธีม “Born This Way” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2568 ผ่านการสนับสนุนการถ่ายทอดสดงาน “Bangkok Pride Festival 2025” อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) และมุ่งประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับกรุงเทพมหานคร สู่การเป็น Pride Destination ระดับโลก พร้อมเดินหน้าเป้าหมายสำคัญในการเสนอเป็นเจ้าภาพ World Pride สู่การจัดงาน Bangkok World Pride ในปี 2030 โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดสดงานได้พร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 1 มิถุนายน ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ผ่านทุกช่องทางออนไลน์ของไทยพีบีเอส Facebook, YouTube, TikTok Thai PBS และทางเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/PrideMonth
Bangkok Pride Festival 2025 มุ่งเน้นการนำเสนอเส้นทางของความสำเร็จจากการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ไปสู่จุดหมายต่อไปในการผลักดันการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านกิจกรรมทั้งหมดตลอดช่วงเวลา 3 วันของการจัดงาน โดยอีกหนึ่งความพิเศษที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ คือ “Bangkok Pride Awards 2025” การประกาศรางวัลทรงคุณค่าแก่บุคคลและองค์กรที่สนับสนุนความหลากหลายทางเพศ รวม 11 สาขา 26 รางวัล ในวันที่ 31 พฤษภาคม โดย ไทยพีบีเอส ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลใน 3 สาขา ได้แก่ Bangkok Pride Value of Offline News จากการนำเสนอข่าวและเนื้อหาของไทยพีบีเอส, Bangkok Pride Value of Online News จาก The Active ไทยพีบีเอส และ Pride Popular จากละคร หม่อมเป็ดสวรรค์ โดยมีนักแสดง ทับทิม–อัญรินทร์ และฟิล์ม–เฌอร์ลิษา เข้าชิงรางวัล
นอกจากนี้ยังมี “Bangkok Pride Forum 2025” เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นความหลากหลายทางเพศอย่างรอบด้าน ทั้งในด้าน สุขภาวะของ LGBTQIAN+, เศรษฐกิจสีรุ้ง, เทคโนโลยี, สิ่งแวดล้อม, สิทธิมนุษยชน, การศึกษา และวัฒนธรรม งานนี้เปิดพื้นที่ให้ตัวแทนจาก ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ร่วมพูดคุย เสนอแนวทาง และสร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างลึกซึ้ง ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางขับเคลื่อนสิทธิความหลากหลายทางเพศในเอเชีย” ครอบคลุม 4 พื้นที่หลักใจกลางสยาม และกิจกรรม “DRAG BANGKOK Festival 2025” เวทียกระดับศิลปะแดร็กไทยสู่เวทีโลก ภายใต้ธีม “Thaituristic Drag Scene” นำเสนออัตลักษณ์ไทยผ่านการแสดงที่ทรงพลังและสร้างสรรค์ และยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการรับรองศิลปิน “แดร็ก” ให้เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พร้อม ๆ กับ “Bangkok Pride Parade 2025” ขบวนพาเหรดแห่งความหลากหลายและภาคภูมิใจ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “Born This Way” ขบวนเริ่มตั้งแถวที่ สนามกีฬาแห่งชาติ ก่อนเคลื่อนผ่านถนนพระราม 1 สู่แยกราชประสงค์ รวมระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร แบ่งเป็น 7 ขบวนหลัก ภายใต้ 7 นิยามของการเป็นตัวเอง คือ
1. Born Again – นำขบวนโดย Bangkok Pride เฉลิมฉลองการ “เกิดใหม่” อย่างภาคภูมิของตัวตนที่เคยถูกซ่อนเร้น
2. Born to Be Loved (สีแดง) – แสดงพลังของความรักที่ไม่ต้องซ่อนอีกต่อไป และฉลองสิทธิสมรสเท่าเทียม
3. Born to Be Me (สีม่วง) – สะท้อนพลังของการรักและเป็นตัวของตัวเองอย่างภาคภูมิ
4. Born to Be Part of One (สีเขียว) – เชื่อมโยงตัวตนกับสิ่งแวดล้อม สังคม และโลก
5. Born to Create & Inspire (สีเหลือง) – ยกย่องพลังแห่งศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน LGBTQIAN+
6. Born to Heal Generations (สีฟ้า) – เน้นการเยียวยาและการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม
7. Born to Be Together (สีชมพู) – สะท้อนความร่วมมือจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมขับเคลื่อนสังคมแห่งความเท่าเทียม
ตลอดปีที่ผ่านมา ไทยพีบีเอส ได้ร่วมขับเคลื่อนสังคมแห่งการเคารพความแตกต่างในทุกมิติ ซึ่งกระแส #BangkokPrideFestival2024 ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามบนโลกออนไลน์ ด้วยยอด Engagement กว่า 13 ล้านครั้ง และข้อความพูดถึงมากกว่า 31,188 ข้อความ (ข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2567) และในปีนี้ ไทยพีบีเอสยังคงเดินหน้าร่วมสร้างพื้นที่แห่งความเข้าใจและการยอมรับ ด้วยการถ่ายทอดสดกิจกรรมแบบพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 1 มิถุนายน ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ผ่านทุกช่องทางออนไลน์ของไทยพีบีเอส ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok Thai PBS และทางเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/PrideMonth
สามารถติดตามทุกข่าวสารและความเคลื่อนไหวตั้งแต่เริ่มต้น จนผลักดันได้สำเร็จของ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านแพลตฟอร์ม Thai PBS Policy Watch ได้ที่ https://policywatch.thaipbs.or.th/policy/life-11
ไม่พลาดทุกข่าวสาร สาระความรู้ และคอนเทนต์คุณภาพ ติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที้
▪ Website : www.thaipbs.or.th
▪ Application : Thai PBS
▪ Social Media Thai PBS : Facebook, YouTube, X , LINE, TikTok, Instagram, Threads, Linkedin
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี