วช.ร่วมถ่ายทอด
การผลิตปุ๋ยหมัก
'ต้นแบบชุมชน'
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนการจัดการุเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดจุดความร้อน (Hot spot) และฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดน่าน” ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ บ้านท่าลี่ ต.ขึ่ง อ.เวียงสา จ.น่าน โดยมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 30 คน กิจกรรมนำโดย นายนคร สอนสมฤทธิ์ เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดน่าน และ ผศ.ดร.เอกชัย ดวงใจ หัวหน้าโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ภายในกิจกรรม ทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งชีวภาพ “ซุปเปอร์ พด.1, พด.2 และ พด.3” ซึ่งช่วยเร่งการย่อยสลายเศษฟาง ใบไม้ และซังข้าวโพดให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ลดระยะเวลาการหมัก และเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลาย พร้อมให้คำแนะนำในการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างเป็นระบบ ลดการเผาและจุดความร้อนซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของ PM2.5
หลังการอบรม เกษตรกรได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผสมวัสดุในท้องถิ่นร่วมกับสารเร่ง จนได้กองปุ๋ยหมักต้นแบบประจำหมู่บ้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบบการจัดการขยะเกษตรแบบ “Zero Burn” ที่ยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี