วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.45 น. นายราเชน ศิลปะรายะ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้การต้อนรับ ดร.จาง คิโฮ รองผู้อำนวยการกองการประยุกต์ใช้งานวิจัย หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยด้านการดัดแปรสภาพอากาศ (Dr. CHANG Ki-Ho, Deputy Director of Research Applications Department (RAD)) ดร.ลิม ยุนกยู ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองการประยุกต์ใช้งานวิจัย กลุ่มงานวิจัยด้านการดัดแปรสภาพอากาศ (Dr. LIM Yun-kyu, Assistant Director of RAD, Weather Modification Research Team) และ ดร.บูรอยด์ มิโลสลาฟ นักวิจัย (Dr. Belorid Miloslav, Research Scientist of RAD) ผู้แทนจากสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศ (Memorandum of Understanding on Weather Modification Technology Cooperation) ระหว่าง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กับ สถาบันวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 กรกฎาคม 2568 ณ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรุงเทพฯ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากผู้แทนสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3 ราย และผู้แทนประเทศไทย โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 10 ราย
การประชุมฯ ในครั้งนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กับ สถาบันวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (National Institute of Meteorological Sciences : NIMS) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศ กรอบระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี (2567 - 2570) เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ตลอดจนร่วมกันพัฒนางานวิจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติทางธรรมชาติของทั้ง 2 ประเทศ โดยเกาหลีใต้มีการพัฒนาห้องจำลองกระบวนการเมฆฟิสิกส์ (Korean-Cloud Physics Experimental Chamber: K-CPEC) ที่มีประสิทธิภาพสูงประกอบด้วย 1) ห้องจำลองสภาวะอากาศการเกิดเมฆ (Cloud Chamber) และ 2) ห้องจำลองสภาวะอากาศการเกิดละอองลอย (Aerosol Chamber) ซึ่ง K-CPEC ใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการเกิดเม็ดน้ำจากการกระตุ้นของสารทำฝนชนิดต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์อากาศ (Weather and Numerical Model) พร้อมอุปกรณ์ และเครื่องมือ ที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลประกอบวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากการประชุมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศจากสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงรายละเอียดโครงการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี