มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมพิธีเปิด “สวนทุเรียน GAP แปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี" ภายใต้โครงการ "การส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน"
คณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมพิธีเปิด “สวนทุเรียน GAP แปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี" ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ "การส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน" นำโดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัยและนวัตกรรม ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี และ ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมชุมชน พร้อมด้วยอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมพิธีเปิด “สวนทุเรียน GAP แปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี" ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ "การส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน" โดยได้รับเกียรติจากนายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด ในวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม 2568 ณ วิสาหกิจชุมชนโกโก้และพืชเกษตรสุพรรณบุรี ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยในงานมีกิจกรรมเสวนาวิชาการด้านการขอรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย การออกบูธสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปของวิสาหกิจชุมชนในท้องที่อำเภอสองพี่น้องจำนวน 14 กลุ่ม ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
นายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่าการจัดพิธีเปิด “สวนทุเรียน GAP แปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี" เป็นความตั้งใจที่เกิดจากความร่วมมือของส่วนราชการในจังหวัดสุพรรณบุรี และเกษตรกร ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย และคัดสรรเกษตรกรต้นแบบ การปลูกทุเรียน ในพื้นที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่พัฒนาคุณภาพของผลผลิตควบคู่ไปกับแนวทางในการทำการเกษตรที่ปลอดภัย จนได้รับรองมาตรฐาน GAP เป็นแปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและการตลาด เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของจังหวัด ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์คุณค่า และส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและภาคประชาชน สำหรับเกษตรกรที่ได้มาร่วมงานในวันนี้ จะได้รับความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปลูกทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐาน GAP รวมถึงภูมิปัญญา และแนวคิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการปลูกพืชที่เหมาะสม ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งในอนาคตจะส่งผลให้การปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และผลไม้อื่น ๆ อีกหลากหลายชนิด เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีต่อไป
นายรัชกฤต พยัคฆ์ นายอำเภอสองพี่น้อง กล่าวว่า อำเภอสองพี่น้อง เป็น 1 ใน 10 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากตัวจังหวัด 37 กิโลเมตร มี 15 ตำบล 144 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร มีพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่เศรษฐกิจคืออ้อยโรงงาน 54,461 ไร่ นาข้าว 6,100 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น 297 ไร่ ผักและข้าวโพดฝักอ่อน 1,200 ไร่ เกษตรกรมีรูปแบบการทำการเกษตรเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตปีละ 1-2 ครั้ง โดยตำบลบ่อสุพรรณ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานทั้งหมด ภายใต้การกับกำดูแลของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง โดยพื้นดินเป็นชุดดินกำแพงแสน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนดินทรายละเอียด เหมาะแก่การเพาะปลูกไม้ผล พืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรีที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรปลอดภัย โดยมีเป้าหมายหลักคือ การเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตและการตลาดที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินโครงการส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในการผลิตพืชเศรษฐกิจ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และมีผลลัพธ์ความสำเร็จเป็นเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า GAP สำหรับตำบลบ่อสุพรรณ มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชที่หลากหลาย มีเกษตรกรที่มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพื้นเชิงเดี่ยวไปเป็นการปลูกพืชผสมผสาน มีไม้ผลยืนต้นและพืชแซม ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรเกษตรกร แปลงใหญ่บ่อสุพรรณ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พืชอาหาร คือ ทุเรียน โดยกรมวิชาการเกษตร เป็นแปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นต้นแบบในการปลูกพืชเพื่อให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการไม้ผลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง ให้เกษตรกรทั่วไป หรือผู้ที่สนใจได้มีโอการศึกษาเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรอย่างถูกต้อง การใช้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีประสิทธิภาพ
นายพุฒิสรรค์ บูชา ประธานวิสาหกิจชุมชนโกโก้และพืชเกษตรสุพรรณบุรี กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนโกโก้และพืชเกษตรสุพรรณบุรี มีแนวคิดการทำการเกษตร โดยวางแผนรองรับความเสี่ยงของการปลูกพืชเชิงเดียว โดยทำการเกษตรผสมผสานเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ ในพื้นที่ชุมชนตนเองที่ปลูกอ้อยและมีหนี้สินติดตัวจึงเริ่มปรับพื้นที่ดินเพื่อปลูกพืชผสมผสาน รวมถึงต้องการสร้างศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกพืช ไม้ผลยืนต้น โดยริเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพื่อปลูกอินทผลัม โดยการศึกษาหาความรู้ก่อนปลูกตั้งแต่การเตรียมพร้อมพื้นที่ ธาตุอาหารพืช และการดูแลรักษา ต่อมาได้ต้นพันธุ์โกโก้จากเกษตรพันธะสัญญา ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการในการปลูกพืชที่หลากหลาย ต่อมาศึกษาและนำไม้ผลอื่น ๆ เข้ามาปลูกในพื้นที่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกพืช ผลไม้มากกว่า 50 ชนิด โดยวิสาหกิจชุมชนโกโก้และพืชเกษตรสุพรรณบุรีได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นศูนย์กลาง โดยได้รับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสุพรรณบุรีตามแนวทางเกษตรปลอดภัย โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ยังส่งเสริมการยื่นขอรับรองมาตรฐาน GAP กรมวิชาการเกษตร ประเมินแปลง ออกใบรับรอง GAP ทุเรียนและไม้ผล อีก 6 ชนิด และได้รับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย นอกจากนี้ยังได้สร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคตลอดจนเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย
รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีความมุ่งมั่นในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาท้องถิ่น ในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม และการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน มีมูลค่าเพิ่ม และเข้าถึงตลาดที่หลากหลาย โดยปัจจุบันแนวโน้มของผู้บริโภคมีความตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น รวมถึงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีพืชเศรษฐกิจที่หลากหลาย ดังนั้นการส่งเสริมให้พืชเศรษฐกิจมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีศักยภาพด้านการเกษตรสูง การส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) พร้อมทั้งพัฒนาและสนับสนุนการเข้าถึงตลาดที่หลากหลายทั้งแบบดั้งเดิมและออนไลน์อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) นั้น ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ "หอมขจรฟาร์ม" ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ต้นแบบในการส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
พิธีเปิด “สวนทุเรียน GAP แปลงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี" ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ "การส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน" จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม 2568 ณ วิสาหกิจชุมชนโกโก้และพืชเกษตรสุพรรณบุรี หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี