วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
วงเสวนาโต๊ะกลม! ‘ปริญญา’อัด‘รธน.60’เหมือนรัฐประหารธิปัตย์

วงเสวนาโต๊ะกลม! ‘ปริญญา’อัด‘รธน.60’เหมือนรัฐประหารธิปัตย์

วันอาทิตย์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 17.19 น.
Tag : รธน.60 นักวิชาการ รัฐประหารธิปัตย์ ร่างรัฐธรรมนูญ ปริญญา เทวนฤมิตรกุล รัฐธรรมนูญ
  •  

วงเสวนาโต๊ะกลมพัฒนาการร่างรัฐธรรมนูญ นักวิชาการร่วมถกแนะทางประเทศ "ปริญญา"อัด"รธน.60"เหมือนรัฐประหารธิปัตย์ ด้าน"วรรณภา"แนะร่างฯฉบับใหม่ ดึงปชช.มีส่วนร่วม เหน็บฉบับปัจจุบันมีแต่"อำนาจนิยมแฝง"

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ที่รัฐสภา มีการจัดงานวันฉลองรัฐธรรมนูญประจำปี 2566 "ร่วมก้าวย่างบนประชาธิปไตย สู่เส้นชัยรัฐธรรมนูญ" ช่วงหนึ่งมีการจัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ "พัฒนาการของรัฐธรรมนูญ" โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ ศ.พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) , รศ.ดร.โภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา , นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต ส.ส.ร. , ผศ.ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , รศ.ดร.วรรณภา ติระสังขะ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ มี น.ส.อัญชิษฐา บุญพรวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ


โดย ศ.พิเศษ นรนิติ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 20 ฉบับมีการพัฒนามาโดยตลอด ไม่มีหรอกที่จะไม่ตั้งใจ เพราะมีการวางแผน มีเป้าหมายมาทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญจะมีการพัฒนาอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้เปลี่ยนโครงร่างการเมืองใหญ่เลย และเป็นระบบรัฐสภาตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ มีความพยายามที่จะแก้ไขแต่ละครั้งก็วนไปวนมา แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ชัดเจนว่ามีการพัฒนาไปอีกขั้น เพราะมีองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบ และมีการมองกันว่าเป็นอำนาจที่ 4 ต่อจากอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะทั้ง 3 อำนาจมีการคานกัน แต่อำนาจที่ 4 ไม่มี เพราะถูกจำกัดอำนาจ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะไปยุ่งเรื่องอื่นไม่ได้นอกจากการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญก็ยุ่งไม่ได้ ถ้าเขาไม่ให้ตีความรัฐธรรมนูญ

"แม้แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ต้องดูว่าจะแก้ไขอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญร่างขึ้นมาเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่จะพอใจหรือไม่เป็นเรื่อง มันไม่มีหรอกรัฐธรรมนูญออกมาแล้วพอใจทั้งประเทศ คนร่างฯ ยังไม่พอใจเลย เพราะไม่ได้ร่างฯคนเดียว ถ้าเขียนคนเดียวจะเอาแบบใดก็ได้ แต่มันต้องเอาใจคนอื่น" ศ.พิเศษนรนิติ กล่าว

ด้าน รศ.ดร.โภคิน กล่าวว่า เราต้องดูจากรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับว่า มีกระบวนการจัดทำโดยใคร อย่างไร โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.คณะราษฎร ซึ่งจุดสำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนอำนาจเป็นของราษฎรหรือของประชาชน ซึ่งไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองกี่ครั้ง ก็ไม่มีใครกล้าเขียนใหม่ว่าอำนาจไม่ใช่ของประชาชน เป็นการพัฒนาในทางที่ดี แต่ในทางปฎิบัติ แม้อำนาจจะเป็นของประชาชน แต่พระมหากษัตริย์เป็นคนใช้อำนาจนั้น ผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล 2.คณะรัฐประหาร เพื่อสืบทอดอำนาจ ซึ่งเราเห็นได้ชัดจากการให้มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และให้อำนาจมาก โดยใช้กลไกต่างๆ ในการแทรกวุฒิสภาเข้าไปมีส่วนร่วม สิ่งที่คณะรัฐหารทำไม่มีพัฒนาการ มีเรื่องเดียวที่พัฒนาสุดยอด คือการนิรโทษกรรมตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มี 2 แบบ คือ 1.แบบที่ผู้กระทำนิรโทษกรรมตัวเอง แต่ออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 2.แบบนิรโทษกรรมให้คนอื่น ทั้งนี้ มีพัฒนาการการนิรโทษกรรมไปในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีการระบุว่า การกระทำโดยการยึดอำนาจทั้งหลายไม่ว่าในทางใด ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เพี้ยนไปหมด และ 3.รัฐสภา และประชาชน

"ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพลวัตร 3 พลัง คือ 1.ฝ่ายอนุรักษนิยมหรือศักดินานิยม 2.ราชการอำนาจนิยม และ 3.รัฐธรรมนูญนิยม หรือประชาธิปไตย ทุกการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีผลจากการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของทั้ง 3 พลังนี้ ถ้าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เราต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการให้ศาลวินิจฉัยว่า การรัฐประหารเป็นกบฏ ซึ่งศาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม ให้ถือเป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด แม้ไม่มีรัฐธรรมนูญ จะได้จบ อยากเห็นพัฒนาการตรงนี้ เพื่อให้การเมืองเดินต่อได้ ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ก็จะเละ จะอีก 100 ปี ก็เหมือนเดิม" รศ.ดร.โภคิน กล่าว

นายพงศ์เทพ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เป็นฉบับที่มักถูกยกมาอ้างกันว่าผ่านการทำประชามติ แต่ทุกคนคงจำกันได้ว่ามีพวกโฆษณาชวนเชื่ออยู่ฝ่ายเดียว ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ฝ่ายที่เห็นต่างจะถูกดำเนินคดีปิดปาก ประชาชนอยู่ในสภาวะถูกบีบคั้นว่า หากไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี จะอยู่ต่อไป และอาจได้รัฐธรรมนูญที่แย่กว่านี้อีก รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 คือรัฐธรรมนูญของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย คสช.และเพื่อ คสช.เพื่อให้รัฐบาลประยุทธ์สืบทอดอำนาจต่อไป และมีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้กลไกการถ่วงดุลอำนาจเสียหาย สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากประชาชนเกือบจะไม่มีอำนาจตรวจสอบฝ่ายอื่น แต่ถูกอีกฝ่ายตรวจสอบอย่างเดียว ทั้งนี้ โครงสร้างที่ถูกบิดเบือนเข่นนี้ การแก้รัฐธรรมนูญทีละมาตรา ไม่สามารถแก้ได้ เนื่องจากทุกอย่างถูกยึดโยงไว้ด้วยกันหมด จึงเป็นที่มาให้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ความจริงเนติบริกรไม่ได้เขียนไว้ให้แก้ แต่เขียนไว้ให้ฉีก แต่ถ้าเราโชคดีได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่ต้องฉีก ต้องมีการขับเคลื่อนโดยพลังของประชาชนมากพอสมควร

นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า ตามกลไกของการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำหนดว่าต้องมีการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่ตนมองว่าการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไร้เหตุผล และเสียเวลา เช่นการทำประชามติครั้งแรก อย่างมากก็ทำได้เพียงแค่ถามว่าต้องการให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ โดยประชาชนยังไม่รู้เลยว่าใครจะมาร่าง หรือจะเอานายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มายกร่างอีกหรือไม่ อีกทั้งผลประชามติยังไม่ผูกพันกับความเห็นของบสมาชิกรัฐสภาด้วย ขณะที่การทำประชามติครั้งที่ 2 จะเห็นชัดเจนกว่าว่าใครจะมายกร่างรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวตอนหนึ่งว่า การทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจบที่ปี 2489 และในปี 2490 มี สว.แต่งตั้งขึ้นมา ที่กลายมาเป็นเครื่องมือทำรัฐประหารทุกครั้ง ทั้งนี้ ระบบรัฐสภานั้นมีจุดอ่อนสำคัญคือฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมากจึงทำให้คุมสภาผู้แทนราษฎรได้ และสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร มีแต่ฝ่ายค้านที่ตรวจสอบซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยที่ยกมืออย่างไรก็แพ้ เหมือนที่นายปรีดี พนมยงค์ ระบุว่าต้องให้หลักเสรีภาพคือหากเรื่องประโยชน์ของปวงชนขัดแย้งกับพรรค ผู้แทนต้องเลือกประโยชน์ของปวงชนไม่ใช่ประโยชน์ของพรรค แต่รัฐธรรมนูญปี 2517 ได้ตัดหลักนี้ทิ้งไป ทำให้สส.ต้องตกอยู่ใต้อำนาจของพรรคการเมือง และรัฐบาลสามารถคุมผู้แทนประชาชนได้ แม้ประโยชน์ของรัฐบาลกับประโยชน์ ของประชาชนสวนทางกัน แต่ผู้แทนต้องยกมือให้ประโยชน์รัฐบาล

ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 2517 ได้ตัดเงื่อนไขเรื่องการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ได้ก็ต่อเมื่อเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนเกิดขึ้นระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ และเรียกประชุมรัฐสภาไม่ทันท่วงที ผลลัพธ์คือเราจึงให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.มีค่าเท่ากับ พ.ร.บ.ได้ แต่มีจุดเปลี่ยนอีกครั้งในปี 2540 คือแทนที่จะให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการอย่างสมดุล ก็ไปหาอำนาจองค์กรใหม่ขึ้นมาคือองค์กรอิสระที่คาดหวังว่าจะได้คนดีที่เป็นกลาง โดยไปเอารูปแบบมาจากอเมริกาที่มีสว. จากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นคนเลือกศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)​ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ต่างๆ แต่เมื่อมาถึงฉบับปี 2560 สว.ที่มาจากรัฐประหารมีอำนาจเท่ากับสว.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ เพราะให้ศาลรัฐธรรมนูญมาสรรหาองค์กรอิสระ และ สว.เปรียบเสมือนรัฐประหารธิปัตย์ คืออำนาจสูงสุดอยู่ที่คณะรัฐประหาร

"สรุปว่าหลักการที่เรามาฉลองรัฐธรรมนูญคือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประเทศ เป็นการปกครองตนเองของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ เราจะเลือกพรรคที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้ายเราก็จบที่การเลือกตั้ง และหากมีประชามติก็จบที่บัตรประชามติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังต้องทำอะไรกันอีกพอสมควร เพราะรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ใช่จิตวิญญาณของการฉลองรัฐธรรมนูญเลยแม้แต่น้อย" ผศ.ดร.ปริญญา กล่าว

รศ.ดร.วรรณภา กล่าวว่า หากพิจารณารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีความเปลี่ยนแปลงเชื่อมโยงถึงกันเสมอ สิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อมุมมองและพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย คือใครเป็นผู้ร่าง หากย้อนไปจะเห็นวัตถุประสงค์ของผู้ร่างว่าเพื่ออะไร ถ้าผู้ร่างมีที่มาที่ถูกต้องชอบธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม การร่างนั้นคือการทำเพื่อประชาชน แต่หากผู้ร่างที่มาจากรูปแบบอื่น ก็จะถูกกำหนดให้ร่างด้วยวัตถุประสงค์อีกแบบ เราต้องไม่ลืมว่า วัตถุประสงค์เหล่านี้สามารถกำหนดโครงสร้าง อำนาจทางการเมือง ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้สถาบันทางการเมืองมีดุลยภาพ เราจะเห็นรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ มีอำนาจดุลยภาพที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งดุลยภาพของอำนาจ และอำนาจสถาบันทางการเมือง ไม่ได้หมายถึงแค่สถาบันทางการเมืองในรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอำนาจของประชาชนด้วย ซึ่งหากย้อนดูรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ เราจะเห็นที่ทางของประชาชนในรัฐธรรมนูญแตกต่างกันออกไป เราไม่ค่อยเห็นฉันทามติของคนในสังคม อยู่ในรัฐธรรมนูญสักเท่าไหร่ แต่กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญสามารถทำให้เกิดฉันทามติของคนในสังคมได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ดีควรจะตอบสนองฉันทามติของคนในสังคมได้

รศ.ดร.วรรณภา กล่าวต่อว่า อีกเรื่องที่สำคัญ คือการสร้างความเป็นพลเมือง รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ระบุไว้ว่า อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย เรามักจะหลงลืมมาตราแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นได้จริงในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา ซึ่งหากสามารถดำรงอยู่ได้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ ไปในอนาคต ก็จะทำให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น และหากดูรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 มีหลายจุดเด่นที่อาจเป็นจุดด้อย อย่างที่มาของและอำนาจของ สว.สิ่งหนึ่งที่สำคัญ​คืออำนาจแปรผันตามที่มา เมื่อไหร่ที่เราให้อำนาจตัดสินใจแทนประชาชน เขาเหล่านั้นควรมีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชนด้วย และอีกเรื่อง การระบุเรื่องนิรโทษกรรมรัฐประหารในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการนิรโทษกรรมแบบนี้จะยังดำรงอยู่ในอนาคต ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายในการร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต

รศ.ดร.วรรณภา กล่าวด้วยว่า ความทรุดโทรมลงในคุณค่าของกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งคุณค่าเหล่านี้ถูกทำลายเรื่อยมา นับตั้งแต่การเปิดโอกาสให้ระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เข้ามาแอบแฝงในรัฐธรรมนูญ กำหนดความสัมพันธ์ขององค์กรในการใช้อำนาจ จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งขัดขวางพัฒนาการความเป็นประชาธิปไตยอีกด้วย

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ณัฐวุฒิ\'โหนปมฮั้ว สว.-อ้างนึกไม่ถึงจะทำได้ขนาดนี้ โยนเป็นเพราะรัฐธรรมนูญ 'ณัฐวุฒิ'โหนปมฮั้ว สว.-อ้างนึกไม่ถึงจะทำได้ขนาดนี้ โยนเป็นเพราะรัฐธรรมนูญ
  • ชำแหละพฤติกรรมกมธ.ทหาร ‘อัษฎางค์’กางรธน.ชี้ส่อเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง ชำแหละพฤติกรรมกมธ.ทหาร ‘อัษฎางค์’กางรธน.ชี้ส่อเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  • นักวิชาการแนะบรรจุวิชาบังคับ ‘ความรู้การเงิน’ ป.1-ป.ตรี แก้ ‘หนี้ครัวเรือน-NPL’ ยั่งยืน นักวิชาการแนะบรรจุวิชาบังคับ ‘ความรู้การเงิน’ ป.1-ป.ตรี แก้ ‘หนี้ครัวเรือน-NPL’ ยั่งยืน
  • ตามคาด!!! 3งูเห่า\'โหวตหนุนส่งตีความแก้ รธน. เผย\'120 สว.สีน้ำเงิน\'พรึ่บงดออกเสียง ตามคาด!!! 3งูเห่า'โหวตหนุนส่งตีความแก้ รธน. เผย'120 สว.สีน้ำเงิน'พรึ่บงดออกเสียง
  • มติรัฐสภาเสียงข้างมาก 304 เสียง ส่งศาลรธน.ตีความแก้รธน. มติรัฐสภาเสียงข้างมาก 304 เสียง ส่งศาลรธน.ตีความแก้รธน.
  • ‘ลิณธิภรณ์’ย้ำยื่นศาลปูทางแก้รธน.60 ไม่สะดุด ไม่ทำลายความหวังปชช. ‘ลิณธิภรณ์’ย้ำยื่นศาลปูทางแก้รธน.60 ไม่สะดุด ไม่ทำลายความหวังปชช.
  •  

Breaking News

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง

คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved