วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
'ดร.ปณิธาน' ชำแหละคำต่อคำ 'จดหมายทรัมป์' ต้องการอะไรจากไทย

'ดร.ปณิธาน' ชำแหละคำต่อคำ 'จดหมายทรัมป์' ต้องการอะไรจากไทย

วันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 08.53 น.
Tag : จดหมายทรัมป์ ทีมเศรษฐกิจ ภาษีทรัมป์ สหรัฐฯ
  •  

วันที่ 11 กรกฎาคม 2568  รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Panitan Wattanayagorn หัวข้อ อ่านจดหมายทรัมป์แล้วมองไปข้างหน้า มีเนื้อหาดังนี้

1. จดหมายของประธานาธิบดีทรัมป์ (อ่านทั้งแบบคำต่อคำและตีความระหว่างบรรทัดที่ไม่ได้เขียน) แบ่งออกเป็น 3 เรื่องสำคัญ คือ:


1.1 เรื่องความมั่นคงของสหรัฐฯ - การขาดดุลการค้าเป็นเรื่องภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกัน (ดูประโยคหัวใจของจดหมายในหน้าแรกย่อหน้าสุดท้ายที่เขียนว่า "This Dificit is a major threat to our Economy, and, indeed our National Security!" และยังมีเครื่องหมาย "!" ลงท้ายกำกับไว้ด้วย)

ปธน.ทรัมป์เคยพูดหลายครั้งเรื่องการขาดดุลระหว่างหาเสียง เราจึงรู้ว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขส่งออกและนำเข้าที่ต่างกันมากเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความเสียเปรียบของสหรัฐฯ ด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และความเชื่อมโยงต่าง ๆ ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของประเทศ ซึ่งคนอเมริกันส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยและเทคะแนนให้ทรัมป์ไปแก้ปัญหา

1.2 เรื่องของสหรัฐฯ กับไทย - ปธน.ทรัมป์ระบุในจดหมายถึงไทยชัดเจนว่าต้องการแก้ปัญหาให้ "สมดุล" และ "ยุติธรรม" โดยจะไม่ซ้ำรอยเดิมที่ "ยืดเยื้อ" "ยาวนาน" และ "ไม่ต่างตอบแทน" (ดู keywords เหล่านี้ในจดหมายหน้าแรก ซึ่งหลายคำยังเน้นสะกดด้วยตัวอักษรใหญ่ให้เห็นว่าสำคัญมาก)

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องความสมดุลแบบง่าย ๆ หรือเท่า ๆ กัน เพราะเป็นไปไม่ได้ด้วยพื้นฐานที่ต่างกันมากอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่น่าจะเป็นเรื่อง "การต่างตอบแทน" บางเรื่องที่สหรัฐฯ ต้องการเป็นพิเศษจากไทย ซึ่งจะเป็นสมดุลแบบซับซ้อนหรือ "Complex Equalibrium" ที่ไทยเคยทำได้ในอดีต

ในกรณีประเทศอื่นก็เช่นกัน มีเรื่องความมั่นคง การทหาร เทคโนโลยี หรือการต่างประเทศ และที่สำคัญ คือ เรื่องของจีน เข้าไปรวมอยู่ด้วยอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น เวียดนาม บราซิล สิงคโปร์ อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น

1.3 เรื่องข้อเสนอและคำขู่ของปธน.ทรัมป์ต่อไทย (และต่อหลายประเทศ) - ไทยต้องไม่ประมาท อย่าสำคัญตนผิด และอย่าประเมินคำขู่ของปธน.ทรัมป์ต่ำไปเป็นอันขาด (หลายคนบอกว่าอย่าไปเจรจากับคนเสียสติเช่นนี้ หรือมีศาสตราจารย์ระดับโลกคนหนึ่งบอกว่าทรัมป์เป็นคนที่ทั้ง "แปลก" และ "บ้า" ในคนเดียวกัน เป็นต้น) แต่ดูหลายประเทศเป็นตัวอย่างได้ว่าถ้าประเมินผิดแล้วผลเป็นอย่างไร เช่น จีน บราซิล แคนาดา ออสเตรเลีย South Africa เป็นต้น

ปธน.ทรัมป์ขู่ไทยว่าถ้าปรับภาษีขึ้นเท่าไร สหรัฐฯ ก็จะบวกเข้าไปเพิ่มจาก 36% ที่ตั้งไว้ เป็นต้น และถ้าเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะมี "ของแถม" มาเล่นงานไทยอีกหลายอย่างด้วย แต่ทรัมป์ก็เป็นนักต่อรองตัวยง จึงเสนอด้วยตัวเองในจดหมาย (ครับ ทางการทูตเขาไม่ค่อยทำกันแบบนี้ครับ) ว่าถ้าไทยปรับเปลี่ยนนโยบายต่าง ๆ เช่น ลดอัตราภาษี ลดการกีดกัน ควบคุมการสวมสิทธิในการส่งออก ฯลฯ หรือลงทุนสร้างโรงงานที่สหรัฐฯ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกอย่างรวดเร็ว และจะปรับลดอัตราภาษีลงมาด้วย

ทั้งหมดนี้ ก็ทั้งขู่ทั้งปลอบนั่นเอง แต่บางประเทศก็ชี้ว่าเท่ากับเป็นการปล้นด้วยซ้ำ ซึ่งสำหรับไทย ทรัมป์ย้ำว่าจะเป็นไปในทางไหนก็ขึ้นอยู่กับ "ความสัมพันธ์" (อันดีในภาพรวม) ของทั้งสองประเทศ ไทยจึงต้องชั่งน้ำหนักในเรื่องนี้ให้ดี (การค้ากับสหรัฐฯ ประมาณ 10% ของรายได้เราครับ ผลกระทบต่อคนไทยและเศรษฐกิจไทยจะเท่าไรก็มีตัวเลขคาดการณ์กันให้เห็นแล้ว)

แต่ที่น่าสนใจที่สุด คือ ปธน.ทรัมป์ได้ส่งจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการดังกล่าวไปที่ประมุขของประเทศ หัวหน้าฝ่ายบริหาร และประชาชนของแต่ละประเทศผ่านสื่อสมัยใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าถึงมือผู้ที่มีอำนาจจริง ถึงผู้ที่ต้องบริหารนโยบาย รวมทั้งถึงประชาชนที่จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่สำคัญที่สุดของเขา แม้ว่าจะเถื่อน ๆ ดิบ ๆ และไม่ได้เป็นไปตามระเบียบพิธีการทางการทูตที่ดีสักเท่าไร แต่ก็เป็นไปตามลักษณะนิสัยของปธน.ทรัมป์อย่างที่ทราบกัน

2. สิ่งที่ไทยควรจะต้องทำเพิ่มเติมก็คือ: 1) ปรับแนวทางการต่อรองให้มีข้อเสนอด้านความมั่นคงให้ดีขึ้น; 2) ปรับและประกอบทีมขึ้นมาใหม่ให้ครบ 3 ทีม คือทีมเศรษฐกิจ ทีมความมั่นคง และทีมช่วยเหลือเยียวยา; และ 3) เข้าให้ถึงคนที่สำคัญที่สุด 3 คนในรัฐบาลอเมริกัน คือ ปธน.ทรัมป์ รมต.กระทรวงกลาโหม และรมต.กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อ "ลัดคิว" หรือ ช่วยสั่งการให้พิจารณากรณีของไทยเป็นพิเศษ เหตุเพราะไทยมีข้อเสนอทางความมั่นคงและการต่างประเทศที่สำคัญต่อสหรัฐฯ (ความสัมพันธ์ส่วนตัวถ้ามี จะนำมาใช้ประโยชน์ตรงนี้ก็ได้ครับและไทยก็เคยทำมาแล้วในอดีต)

ในส่วนของ 3 ทีมนั้น:

2.1 ทีมเศรษฐกิจ ซึ่งมีอยู่แล้วและทำได้ระดับหนึ่งในสภาวะที่จำกัด แม้ว่าช้าไปบ้าง แต่ก็ทำให้เห็นอัตราภาษีที่เป็นจริงของประเทศต่าง ๆ ก่อนล่วงหน้า แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ ข้อเสนอไม่น่าดึงดูดใจหรือเร้าใจสำหรับปธน.ทรัมป์เท่าที่ควร เพราะไม่มีเรื่องความมั่นคงหรือการเมืองระหว่างประเทศที่สำคัญต่อปธน.ทรัมป์ตั้งแต่แรกเหมือนบางประเทศ จึงทำให้อัตรา 36% ที่ออกมานั้นสูงเกินไป ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้ไทยหลายด้าน

แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะรีบเร่งเจรจาอีกรอบก่อนที่จะหมดเวลาในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยไทยได้ส่งข้อเสนอใหม่ที่แทบจะชนเพดานหรือทุบหม้อข้าวไปแล้ว แต่ปัญหาก็คืออาจจะไม่ทันเวลาหรือหลังชนฝาและต่อรองอะไรได้ไม่มากหากไม่มีสายด่วนสายตรงจากคนสามคนสำคัญที่สุดในรัฐบาลอเมริกันดังกล่าวในโค้งสุดท้ายรอบนี้

2.2 ทีมความมั่นคง - หลายคนคงไม่ทราบว่าไทยได้ช่วยเหลือและยังร่วมมือกับสหรัฐฯ ในเรื่องความมั่นคงทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยหลาย ๆ เรื่องตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เช่น เรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย การส่งผู้ร้ายข้ามแดนหลายกรณี การซื้ออาวุธยุโธปกรณ์ การซ่อมบำรุง การซ้อมรบ ช่วยรบ หรือการปฏิบัติการด้านการทหารต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งด้านไซเบอร์ หรือการต่อต้านยาเสพติด ฯลฯ ทั้งนี้ไม่นับความร่วมมือที่ดีในอดีต เช่น เรื่องสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามในลาวและกัมพูชา สงครามในตะวันออกกลาง เป็นต้น

ที่สำคัญ ข้อเสนอทางด้านความมั่นคงหลายอย่างนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่ม หรือถ้าเพิ่มก็ไม่มาก หรือบางเรื่อง เช่นเรื่องอาวุธที่ซื้อกันอยู่แล้ว ก็อาจจะใช้เงินกู้ FMS ของอเมริกันที่ปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำนั่นแหละมาใช้ หรือจะใช้สถานะพันธมิตรพิเศษ Major Non-NATO Ally (MNNA) มาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังก็ได้

อีกทั้งบางเรื่อง ไทยก็ทำให้อยู่แล้ว เช่น การอำนวยความสะดวกด้านความมั่นคงต่าง ๆ การดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับสหรัฐฯ ในไทย หรือการให้ใช้ฐานทัพแบบจำกัด ก็เคยทำมาแล้ว (หรือจะให้เช่าก็ยังได้) ซึ่งเรื่องเหล่านี้ จะลดลงเพื่อกดดันอเมริกันก็ยังได้ ดังนั้น หากประกอบทีมด้านมั่นคงขึ้นมาได้จริงและให้เข้ามาช่วยเติมความได้เปรียบกับทีมเศรษฐกิจ ก็จะช่วยในการเจรจาได้ดีขึ้นอย่างที่หลายคนอาจจะไม่ได้นึกมาก่อน

แม้ว่าหลายคนมองว่าตัวเลขสุดท้ายที่จะต่ำกว่าเวียดนามนั้นเป็นไปได้ยากมากแล้ว แต่ที่คาดหวังว่าจะเท่า ๆ หรือไม่สูงกว่าเวียดนามหรือคู่แข่งทางการค้าอื่น ๆ ของเรามากนัก ก็ยังคงจะพอเป็นได้
2.3 ทีมช่วยเหลือเยียวยา สุดท้ายแล้ว ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ ต้องการเห็นการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ อย่างจริงจัง รวดเร็ว และเป็นระบบ เพราะแน่ชัดแล้วว่าใครจะได้รับผลกระทบอย่างไรและเมื่อไร ดังนั้น ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะชักช้าในการเยียวยาอีกต่อไป หลายประเทศ แม้แต่สิงคโปร์ ก็เริ่มเยียวยากันแล้ว แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่ดีกว่าไทย

ในด้านการต่างประเทศ ทีมเยียวยาก็ยังสามารถทำงานร่วมกับสหรัฐฯ หรือพันธมิตรของไทยอีกหลายชาติ ที่จะขอสนับสนุนการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยในบางเรื่อง โดยยึดหลักที่ว่าหากไทยอ่อนแอลง ก็จะกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติเหล่านั้นอยู่ดี และเรื่องเช่นนี้ ไทยก็เคยทำมาแล้วในอดีตด้วยซ้ำ

3. สรุป การเข้าใจสถานการณ์อย่างแท้จริง การอ่านให้ขาดว่าสหรัฐฯอยู่ในสภาวะอะไร ปธน.ทรัมป์ต้องการอะไรจากไทยแบบต่างตอบแทน กำลังทำอะไรอยู่ และจะทำอะไรต่อไปนั้น จะนำไปสู่การประกอบทีมไทยแลนด์ที่แท้จริงและมีความหมาย ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นต่อประเทศว่าได้ทำดีที่สุดแล้ว แม้ว่าผลที่ออกมาจะไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘เสธ.โหน่ง’ชี้ไทยต้องทบทวนสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน 4 เงื่อนไข\'ทรัมป์\'บทเรียนที่ต้องรับมือ ‘เสธ.โหน่ง’ชี้ไทยต้องทบทวนสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน 4 เงื่อนไข'ทรัมป์'บทเรียนที่ต้องรับมือ
  • วิจารณ์ยับ! \'วิรังรอง\'ฟันธง \'พ่อออกโรง\'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
  • ภาพมันฟ้อง! ‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ถามดังๆ‘ทักษิณ’ร่วมประชุมทีมไทยแลนด์ได้อย่างไร ภาพมันฟ้อง! ‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ถามดังๆ‘ทักษิณ’ร่วมประชุมทีมไทยแลนด์ได้อย่างไร
  • ประชุมทีมศก.รับมือ‘ภาษีทรัมป์’ ‘แม้ว’ร่วมวง ‘พิชัย’อ้างเชิญมาเพราะมีความรู้ ประชุมทีมศก.รับมือ‘ภาษีทรัมป์’ ‘แม้ว’ร่วมวง ‘พิชัย’อ้างเชิญมาเพราะมีความรู้
  • นันทิวัฒน์ สามารถ จากภาษีทรัมป์ถึงพิพาทกัมพูชา รัฐบาลไทยควรรับมืออย่างไร? นันทิวัฒน์ สามารถ จากภาษีทรัมป์ถึงพิพาทกัมพูชา รัฐบาลไทยควรรับมืออย่างไร?
  • ‘กมธ.เศรษฐกิจฯ สว.’ จ่อชงเปิดอภิปรายด่วน ปม‘ภาษีทรัมป์36%’ ‘กมธ.เศรษฐกิจฯ สว.’ จ่อชงเปิดอภิปรายด่วน ปม‘ภาษีทรัมป์36%’
  •  

Breaking News

ไม่เป็นความจริง! กกต.โต้ข่าวลือ ส่งผลสอบคดีฮั้ว สว. เข้ากกต.ชุดใหญ่ 14 ก.ค.นี้

'นิ้ง โศภิดา'เคลื่อนไหวแล้ว! ร่ายยาวแจงดราม่า'เลือกช่วยสามีก่อนลูก' ลั่นอย่าตัดสินแค่คำพูดสั้นๆ

‘เสธ.โหน่ง’ชี้ไทยต้องทบทวนสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน 4 เงื่อนไข'ทรัมป์'บทเรียนที่ต้องรับมือ

รักแท้ไม่มีข้อจำกัด! หนุ่มชลบุรีพบรักสาวตัวเล็ก110ซม. พิสูจน์รักแท้4ปีสู่ชีวิตคู่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved