วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ประชาสัมพันธ์
ม.อ. พัฒนาต้นแบบงานวิจัยรักษ์สิ่งแวดล้อม นำร่องสหกรณ์ยางเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของไทย

ม.อ. พัฒนาต้นแบบงานวิจัยรักษ์สิ่งแวดล้อม นำร่องสหกรณ์ยางเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของไทย

วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2568, 16.00 น.
Tag : งานวิจัยรักษ์สิ่งแวดล้อม ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สหกรณ์ยาง
  •  

Low Carbon ถือเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญ ในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากเราเลือกที่จะช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในวงกว้างที่ไกลกว่าพรมแดนของประเทศ นั่นจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันบนโลกใบนี้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันวิจัยระบบพลังงาน ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จัดทำโครงการ “เสริมศักยภาพศูนย์การเรียนรู้เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สำหรับสหกรณ์ผลิตยางแผ่นรมควัน จังหวัดสงขลา” ซึ่งถือเป็นต้นแบบงานวิจัยรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างสหกรณ์ยางเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของไทย มุ่งหวังช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน


ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โจทย์แรกในการพัฒนาระบบผลิตและใช้งานก๊าซชีวภาพ และใช้ประโยชน์น้ำเสียอย่างครบวงจร คือการออกแบบที่ทำให้ดูแลรักษาระบบได้ง่ายที่สุดสำหรับเกษตรกร โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไป สามารถจัดหาได้ภายในท้องถิ่น และมีต้นทุนไม่สูง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถติดตั้งและใช้งานในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเมื่อทีมวิจัยช่วยลดต้นทุนในการผลิตยางแผ่นรมควันลงได้แล้ว สิ่งที่ตามมาคือสหกรณ์ได้รับผลกำไรที่มากขึ้น ถือว่าคุ้มค่าในระยะยาวและยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้เริ่มโครงการที่สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายขาว จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์แรก ก่อนจะขยายผลความสำเร็จมาที่ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านยูงทอง จังหวัดสงขลา กลายเป็นสหกรณ์ยางแผ่นรมควันที่ประสบความสำเร็จสูง จนทำให้ทีมวิจัยมุ่งมั่นที่จะผลักดันสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านยูงทอง ไปสู่สหกรณ์ผลิตยางรมควันที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของประเทศไทย

“โครงการนี้เน้นการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซชีวภาพ และการใช้ก๊าซชีวภาพไปรมควันยางแผ่น เพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิงไม้ฟืน รวมทั้งการนำระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการผลิตยางแผ่น ซึ่งส่งผลให้สหกรณ์สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 425 ตัน/ปี หรือ 31% และการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มาใช้แทนไม้ฟืนนั้น ยังช่วยลดการใช้ฟืนลงถึง 30% ทำให้สหกรณ์สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 130,000-180,000 บาท/ปี ส่งผลไปถึงคุณภาพของยางแผ่นรมควันที่ได้จากกระบวนการนี้ที่ทำให้ได้ยางแผ่นที่มีคุณภาพสูง มีสีเหลืองนวลใส ไม่ขุ่นมัว และจากการจัดทำให้เป็นยางแผ่นรมควันที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ยังอาจสามารถนำไปขายให้ได้ราคามากขึ้นอีกด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ กล่าว

จากความทุ่มเทอย่างไม่หยุดนิ่งของทีมนักวิจัย และหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่นับตั้งแต่เริ่มโครงการ กลายมาเป็นความสำเร็จทั้งในแง่ของผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และการแสดงให้เห็นถึงความตระหนักต่อสังคมโดยรวม ที่ไม่ว่าจะเป็นใคร อาชีพไหน ต่างก็มีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานของประเทศ และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้

เช่นเดียวกันกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ยังมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะเรื่องยางพารา เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริงที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและความยั่งยืน เช่น การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมยางที่สามารถคืนสภาพได้ ลดระยะเวลาในการเปลี่ยนยางในอุตสาหกรรมยานยนต์ การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมตลาดยางทางการแพทย์แบบซิลิโคนเกรดสูง หรือแม้แต่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง และมีความรุนแรงในการแข่งขันต่ำ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราได้ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต หรือในกิจกรรมต่าง ๆ หันมาใช้ทรัพยากรบนโลกใบนี้อย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ม.อ. จับมือ สสว. เปิดเวที Soft Power ผลักดัน SME สู่เวทีโลก ม.อ. จับมือ สสว. เปิดเวที Soft Power ผลักดัน SME สู่เวทีโลก
  • ม.อ. เจ้าภาพประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 2  สานต่อความร่วมมือทางวิชาการ สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา วิจัย และนานาชาติ ม.อ. เจ้าภาพประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 2 สานต่อความร่วมมือทางวิชาการ สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา วิจัย และนานาชาติ
  • ม.อ.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าปั้นกำลังคนยุคใหม่  เปิดหลักสูตร Non-Degree “AI และ Coding ในศตวรรษที่ 21\ ม.อ.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าปั้นกำลังคนยุคใหม่ เปิดหลักสูตร Non-Degree “AI และ Coding ในศตวรรษที่ 21"
  • ม.อ.มุ่งพัฒนาเรือนำเที่ยวไฟฟ้าไฮบริด ยกระดับเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวอันดามัน สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ม.อ.มุ่งพัฒนาเรือนำเที่ยวไฟฟ้าไฮบริด ยกระดับเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวอันดามัน สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการ MST42 มิติใหม่ของวิทยาศาสตร์จุลทรรศน์ สู่อนาคตของการพัฒนาโลก คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการ MST42 มิติใหม่ของวิทยาศาสตร์จุลทรรศน์ สู่อนาคตของการพัฒนาโลก
  • ม.อ.สุราษฎร์ฯสานต่อความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันการศึกษาจีน  พร้อมลงนามจัดตั้ง \ ม.อ.สุราษฎร์ฯสานต่อความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันการศึกษาจีน พร้อมลงนามจัดตั้ง "สถาบันสายไหมทางทะเล"
  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

อากาศร้อน! 'โชต้า'เลือกขับรถกลางคืนก่อนเสียชีวิต

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved