วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ประชาสัมพันธ์
ม.อ. ขับเคลื่อนนโยบายลดก๊าซเรือนกระจก  พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2573

ม.อ. ขับเคลื่อนนโยบายลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2573

วันพฤหัสบดี ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568, 11.40 น.
Tag : จ.สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่
  •  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย นำร่องเป็นต้นแบบขยายองค์ความรู้สู่ชุมชน จังหวัด และประเทศ พร้อมตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2573 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

รศ. ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการเงิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป กระทบถึงการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก ทุกองค์กรและทุกคนบนโลกต้องช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่จะเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ เพื่อสอดรับนโยบายของประเทศและมุ่งเป้าสู่ระดับโลก


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดทำงานจำนวน 3 ชุด จากการบูรณาการทั้ง 5 วิทยาเขต ได้แก่ ชุดที่ 1 นำโดย รศ.ดร.จรงค์พันธ์ มุสิกะวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อประเมินและออกแบบแพลตฟอร์มในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัยให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจะเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถคำนวณได้แบบเรียลไทม์ ส่วนคณะชุดที่ 2 นำโดยรศ.ดร.พลชาติ โชติการ คณบดีคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำ Roadmap เพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน และชุดที่ 3 นำโดย ศ. ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ผ่านการอบรมและหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคณะทำงานทั้ง 3 ชุดนี้ จะบูรณาการการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด       

รศ. ดร.ธนิต กล่าวต่ออีกว่า จากการแต่งตั้งคณะทำงานทั้ง 3 ชุด ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต ได้ริเริ่มดำเนินการนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ เพื่อขับเคลื่อนเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำ Solar Rooftop หรือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มาชดเชยพลังงานที่ต้องซื้อจากการไฟฟ้าหรือพลังงานที่มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นฟอสซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงมหาวิทยาลัยยังลด Food Waste หรือเศษอาหาร โดยการพยายามบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ไม่เหลือทิ้งและยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะดำเนินการต่อในอนาคต ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย

"ปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้สภาพภูมิอากาศในโลกยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปนั้น ม.อ. ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์มากมายในทุกมิติ พร้อมเดินหน้านำร่องเพื่อบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และต่อยอดองค์ความรู้เพื่อเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในระดับชุมชน จังหวัด และประเทศต่อไป” รศ. ดร.ธนิต กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ศ. ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า หนึ่งในความภาคภูมิใจของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือการผ่านการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เพื่อรับรองข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมองค์ความรู้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากคณะและขยายไปยังทุกวิทยาเขต ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนที่คณะจัดทำขึ้นว่าด้วยเรื่องของการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และหลักสูตรวิชาโทเรื่อง Carbon Neutrality รวมถึงการอบรมให้ความรู้เรื่อง Low Carbon Event การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization, CFO) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product, CFP) ทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ผ่าน PSU MOOC ที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้สนใจได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นเดียวกัน

นอกจากการดำเนินการในมหาวิทยาลัยทั้ง 5 วิทยาเขตแล้ว ยังมีการขยายองค์ความรู้ไปยังหน่วยงานภายนอก อาทิ วิทยาเขตปัตตานีที่ได้จัดทำโครงการคาร์บอนเครดิต Premium T-Verเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนบริเวณ Blue Lake ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ สร้างองค์ความรู้และพัฒนาคน รวมถึงสร้างคาร์บอนเครดิตและสังคมเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนร่วมกับจังหวัดปัตตานี และวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่ได้ทำงานร่วมกับสหกรณ์ปาล์ม โดยได้จัดทำชุดความรู้เพื่อเป็นต้นแบบเกี่ยวกับความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนผ่านสวนปาล์ม และอีกหลายหน่วยงานที่สนใจ

“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยอธิการบดีได้ประกาศนโยบายในการก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 ซึ่งเรื่องของการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนต้องอาศัยทุกภาคส่วน โดยบริบทของสงขลานครินทร์พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในทุกมิติ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยและสังคมไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ศ. ดร.อัญชนา กล่าวทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ม.อ. จับมือ สสว. เปิดเวที Soft Power ผลักดัน SME สู่เวทีโลก ม.อ. จับมือ สสว. เปิดเวที Soft Power ผลักดัน SME สู่เวทีโลก
  • ม.อ. เจ้าภาพประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 2  สานต่อความร่วมมือทางวิชาการ สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา วิจัย และนานาชาติ ม.อ. เจ้าภาพประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 2 สานต่อความร่วมมือทางวิชาการ สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา วิจัย และนานาชาติ
  • ม.อ.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าปั้นกำลังคนยุคใหม่  เปิดหลักสูตร Non-Degree “AI และ Coding ในศตวรรษที่ 21\ ม.อ.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าปั้นกำลังคนยุคใหม่ เปิดหลักสูตร Non-Degree “AI และ Coding ในศตวรรษที่ 21"
  • ม.อ.มุ่งพัฒนาเรือนำเที่ยวไฟฟ้าไฮบริด ยกระดับเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวอันดามัน สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ม.อ.มุ่งพัฒนาเรือนำเที่ยวไฟฟ้าไฮบริด ยกระดับเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวอันดามัน สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการ MST42 มิติใหม่ของวิทยาศาสตร์จุลทรรศน์ สู่อนาคตของการพัฒนาโลก คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการ MST42 มิติใหม่ของวิทยาศาสตร์จุลทรรศน์ สู่อนาคตของการพัฒนาโลก
  • ม.อ.สุราษฎร์ฯสานต่อความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันการศึกษาจีน  พร้อมลงนามจัดตั้ง \ ม.อ.สุราษฎร์ฯสานต่อความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันการศึกษาจีน พร้อมลงนามจัดตั้ง "สถาบันสายไหมทางทะเล"
  •  

Breaking News

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

รุกฆาต! ดันนิรโทษกรรมสุดซอย ส้มแดงดีลลับ ปล่อยผี 'คดีทุจริต-ม.112คดีอาญาร้ายแรง'

'ภูมิธรรม'บ่ายเบี่ยง! บอกไม่ทราบชงถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์ฯ พรุ่งนี้หรือไม่

ญี่ปุ่นช็อก! คุณหมอ-นักธุรกิจหนุ่มวัย29ดับกะทันหัน ชาวเน็ตขุดโพสต์เก่าพบนอนวันละ3ชม.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved