วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ประชาสัมพันธ์
finbiz by ttb แนะใช้สกุลเงินท้องถิ่นลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

finbiz by ttb แนะใช้สกุลเงินท้องถิ่นลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 11.24 น.
Tag :
  •  

ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนเช่นนี้ ผู้ประกอบการต้องเริ่มมองหาวิธีบริหารความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจมีความเสถียรมากที่สุด เพื่อให้สามารถบริหารธุรกิจต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง finbiz by ttb จึงแนะให้หันมามองสกุลเงินท้องถิ่นที่จะมีส่วนช่วยลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือน “ภาษากลาง” ของระบบการค้าโลก ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในระบบการเงินระหว่างประเทศ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแส De-Dollarization หรือการลดการพึ่งพาดอลลาร์ได้เริ่มชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากแรงผลักภายในและปัจจัยจากภายนอก เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับตัวของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในระบบการเงินของตนเอง การเปลี่ยนแปลงนี้เปิดโอกาสให้สกุลเงินอื่น ๆ เช่น ยูโร (EUR) และปอนด์สเตอริง (GBP) ได้มีบทบาทมากขึ้นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ช่วยเสริมสร้างความหลากหลายและความยืดหยุ่นในระบบการเงินโลก

นอกจากนี้ การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐยังช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการกับความเสี่ยงทางการเงินได้ดีขึ้น และสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะเดียวกันหลายประเทศในทวีปเอเชีย ก็มีการสนับสนุนให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่น ประกอบกับการที่จีนเดินเกมรุกด้วยการผลักดันให้หยวนจีน (CNY) ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งสกุลเงินหลักในธุรกิจระหว่างประเทศ


การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบการเงินโลกที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในระยะยาว

เมื่อเงินหยวนจีนเติบโต และดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งแกร่ง

สกุลเงิน

สัดส่วนการใช้งาน (%)
ข้อมูล ณ มิ.ย. 2023

สัดส่วนการใช้งาน (%)

ข้อมูล ณ มิ.ย. 2024

ดอลลาร์สหรัฐ (USD)

42.02%

47.08%

ยูโร (EUR)

31.25%

22.72%

ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)

6.88%

7.08%

หยวนจีน (CNY)

2.77%

4.61%

ที่มา: SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication)

จากข้อมูลข้างต้น ดอลลาร์สหรัฐยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 42.0% ในเดือน มิ.ย. ปี 2023 เป็น 47.08% ในเดือนมิ.ย. ปี 2024 ขณะที่หยวนจีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 2.77% เป็น 4.61% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการที่หยวนจีนแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 4 แทนที่เยนญี่ปุ่น เมื่อดูที่ตัวเลขอาจจะดูไม่มาก แต่ความเป็นจริงคือการเติบโตเกือบเท่าตัวของหยวนจีนในการใช้เป็นสกุลเงินในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเมื่อมาพิจารณาความผันผวนในช่วงปี 2023– 2025 ดอลลาร์สหรัฐ ก็มีความผันผวนถึง 9% ในขณะที่สกุลเงินท้องถิ่นในเอเชียไม่ว่าจะหยวนจีน บาทไทย หรือเยนญี่ปุ่น มีความผันผวนเพียง 3% เท่านั้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

1.ความพยายามของจีนในการส่งเสริมการใช้หยวน

จีนได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หยวนจีนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น การขยายระบบการชำระเงินข้ามพรมแดน (CIPS) และการจัดตั้งธนาคารเคลียร์ริ่งหยวนจีนในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังขาในด้านการควบคุมเงินทุนและความไม่โปร่งใสในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการยอมรับหยวนจีนในระดับสากล

2.การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ

บางประเทศเริ่มลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินอื่น ๆ เช่น หยวนจีน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความผันผวนของดอลลาร์และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

ทำไมประเทศในเอเชียควรใช้สกุลเงินท้องถิ่น?

การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียจะสร้างความได้เปรียบหลายประการ ดังนี้

ความได้เปรียบ

รายละเอียด

ลดต้นทุนธุรกรรม

ไม่ต้องผ่านดอลลาร์สหรัฐ ช่วยลดความเสี่ยงจากความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อแปลงสกุลและค่าธรรมเนียม

เสถียรภาพในระดับภูมิภาค

ช่วยให้ประเทศมีภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ

ส่งเสริมนโยบายการเงินร่วมกัน

เอเชียสามารถร่วมมือกำหนดแนวนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ตอบโจทย์ภูมิภาค

เพิ่มความยืดหยุ่นในการค้าระดับทวิภาคี

สร้างความแข็งแกร่งระดับภูมิภาค ในการเจรจาและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ขึ้นกับตลาดทุนตะวันตก

แม้ดอลลาร์สหรัฐจะยังคงเป็นสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ แต่แนวโน้มการใช้สกุลเงินท้องถิ่น โดยเฉพาะหยวนจีนกำลังเพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค การพิจารณาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการลดความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงิน

สำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนในเอเชีย การเข้าใจและติดตามแนวโน้มนี้จะช่วยให้สามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รับมือความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions

จากข้อได้เปรียบในการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ทีทีบีจึงมีโซลูชันเพื่อให้ผู้ประกอบการพร้อมรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการคาดเดาได้ยาก ครอบคลุมทั้งบริการ ttb Local Currency Solutions และบริการการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (New FX Ecosystem) เพื่อให้ผู้นำเข้า-ส่งออกสามารถรับมือกับความผันผวนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีทีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันบริหารความเสี่ยงที่สามารถตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออก ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions เพื่อช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 90% อาทิ สกุลหยวนจีน รูปีอินเดีย ริงกิตมาเลเซีย ดองเวียดนาม วอนเกาหลี เป็นต้น โดยมีบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

-“Yuan Pro Rata Forward” เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงจากบริการรับจองอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวนจีน โดยทีทีบี เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการ

-บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account) สะดวก คล่องตัว ด้วยการบริหารจัดการเงินสกุลหลักและสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เพียงใช้บัญชีเดียวสามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่ไปกับธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one)

-สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ Trade Finance ได้ทั้งสกุลเงินหลักและสกุลเงินท้องถิ่นได้ถึง 13 สกุลเงิน รวมถึงหยวนจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับคู่ค้า

ttb Local Currency Solutions จึงเป็นโซลูชันที่ตรงใจ เข้าถึงได้ ให้มากกว่า ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลง รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่และเจรจาการค้าได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการและโซลูชันที่มุ่งตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ในทุกสถานการณ์ ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ 08:00 – 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

#finbizbyttb #โครงการเสริมความรู้SME
#เอสเอ็มอียุคดิจิทัล #ตัวช่วยเอสเอ็มอี

#SMEเติบโตอย่างยั่งยืน #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ArokaGO ร่วมสนับสนุนและจัดเสวนา แนวโน้ม เทคโนโลยี และนวัตกรรมในวงการความงามและเวชศาสตร์ความงาม ArokaGO ร่วมสนับสนุนและจัดเสวนา แนวโน้ม เทคโนโลยี และนวัตกรรมในวงการความงามและเวชศาสตร์ความงาม
  • EV Plaza จัดกิจกรรม Carbon Free Beach Trip ขับรถท่องเที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ - ชะอำ 2 วัน 1 คืน EV Plaza จัดกิจกรรม Carbon Free Beach Trip ขับรถท่องเที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ - ชะอำ 2 วัน 1 คืน
  • \'คิทโด้\'วิตามินเม็ดเคี้ยว เสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มพลังสมองและสายตาที่ดีของน้องๆ โปรสุดคุ้ม 1 แถม 1 ซอง 'คิทโด้'วิตามินเม็ดเคี้ยว เสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มพลังสมองและสายตาที่ดีของน้องๆ โปรสุดคุ้ม 1 แถม 1 ซอง
  • งานประชุมส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกว่างซี 2025 จัดยิ่งใหญ่ เปิดเวทียกระดับความร่วมมือ กระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวขยายตัว งานประชุมส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกว่างซี 2025 จัดยิ่งใหญ่ เปิดเวทียกระดับความร่วมมือ กระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวขยายตัว
  • เปิดฉาก “ฟาสต์ ออโต โชว์ 2025” จุดพลุเติมพลังกระตุ้นตลาดรถยนต์กลางปี  หนุนยอดขาย-สร้างความคึกคัก ทั้งตลาดรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว  2-6 ก.ค. ณ ไบเทค เปิดฉาก “ฟาสต์ ออโต โชว์ 2025” จุดพลุเติมพลังกระตุ้นตลาดรถยนต์กลางปี หนุนยอดขาย-สร้างความคึกคัก ทั้งตลาดรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว 2-6 ก.ค. ณ ไบเทค
  • สกพอ. ร่วมงานมอบรางวัล EECIBA  BCCT EASTERN ECONOMIC CORRIDOR INTERNATIONAL BUSINESS AWARDS 2025 สกพอ. ร่วมงานมอบรางวัล EECIBA BCCT EASTERN ECONOMIC CORRIDOR INTERNATIONAL BUSINESS AWARDS 2025
  •  

Breaking News

ผ่าตัดปอด! เหตุ'โชต้า'เปลี่ยนแผนกลับแอนฟิลด์ก่อนเสียชีวิต

โจ๋19ถูกฟันเลือดสาด ยอมรับเป็นคนหาเรื่องก่อน ขอยุติจับมือเป็นเพื่อนกัน

กังขา‘พรรคประชาชน’เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ทำ‘นิติสงครามครึ่งซีก’

‘น่าน’เดินหน้าพัฒนา‘บ้านห้วยลู่ รองรับชนเผ่ามละบริ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved