การฟอกไตในผู้ป่วยวิกฤตและการฟอกไตแบบต่อเนื่อง
โดย พญ. เมธินี สุทธิไวยกิจ อายุรแพทย์โรคไต
รู้หรือไม่ว่าผู้ป่วยวิกฤตนั้นพบโอกาสการเกิดไตวายเฉียบพลันได้มากถึงร้อยละ 50 และยังเป็นหนึ่งในปัจจัยของการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤตอีกด้วย การบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันมีข้อบ่งชี้ทั่วไป คือ เมื่อมีของเสียหรือสารน้ำในร่างกายมากเกินกว่าที่การใช้ยาและไตเดิมของผู้ป่วยจะช่วยได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไตมีทั้ง การฟอกเลือดทั่วไป การฟอกทางหน้าท้อง และการฟอกไตต่อเนื่อง ซึ่งบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการฟอกไตแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous renal replacement therapy ย่อว่า CRRT
การฟอกไตแบบCRRT ต่างจากการฟอกเลือดทั่วไปคือ การขจัดของเสียและสารน้ำส่วนเกินจะถูกขจัดออกได้มาก และปรับได้ตามผลเลือดของผู้ป่วย โดยมักมีผลต่อระดับความดันโลหิตน้อยกว่าการฟอกเลือดทั่วไป ข้อเสียคือ ต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และต้องใช้การตรวจติดตามผลเลือดอย่างใกล้ชิดกว่าการฟอกไตทั่วไป ยาและสารอาหารที่ได้รับอาจถูกขจัดออกจากการฟอกไตประเภทนี้มากกว่าจึงต้องมีการปรับอยู่เสมอ และผู้ป่วยต้องนอนเตียงตลอดเวลาการรักษาเพื่อฟอกได้ต่อเนื่อง
ดังนั้นส่วนมากแพทย์จะเลือกการฟอกไตแบบCRRT เมื่อผู้ป่วยมีภาวะไตวาย และมีความดันต่ำมากต้องการยากระตุ้นความดัน หรือมีสภาวะสมองบวม เป็นต้น การฟอกไตแบบ CRRT นี้จำเป็นต้องมีการใส่สายฟอกไตทางเส้นเลือดดำเช่นเดียวกับการฟอกเลือดทั่วไป เพียงแต่ใช้เครื่องน้ำยาฟอกไต ซึ่งจะมีหลักการทำงานที่แตกต่างตามคำสั่งของอายุรแพทย์โรคไต โดยสามารถหยุดได้หากอาการไตวายดีขึ้นและความดันคงที่ การฟอกไตแบบต่อเนื่องนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤตได้ หากมีข้อสงสัยในการรักษาสามารถสอบถามแพทย์ประจำโรงพยาบาลของท่านได้เพิ่มเติม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี