วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / สกู๊ปพิเศษ
‘ติดเชื้อในกระแสเลือด’ แผลเดียวถึงตาย...อย่าเสี่ยง!!

‘ติดเชื้อในกระแสเลือด’ แผลเดียวถึงตาย...อย่าเสี่ยง!!

วันอังคาร ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 02.00 น.
Tag :
  •  

(ซ้าย) “เฮียหยง” นาถพงศ์ อัมพรอร่ามเวทย์, (ขวา) “โค้ชแต๊ก” อรรถพล ปุษปาคม

“ติดเชื้อในกระแสเลือด”..เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินชื่ออาการนี้ตามข่าวต่างๆ มาแล้วหลายหน ล่าสุดกับการจากไปของ “เฮียหยง” นาถพงศ์ อัมพรอร่ามเวทย์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ “ประมูลดอทคอม” (Pramool.com) ชุมชนออนไลน์ที่โด่งดังมากในยุค 2001-2008 (พ.ศ.2544-2551) เมื่อ 13 ส.ค. 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิต แพทย์ระบุว่าเกิดจากอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และเชื้อไปทำลายลิ้นหัวใจและผนังหัวใจห้องล่าง โดยคาดว่ามาจากอาการ “ฟันผุ”

กรณีนี้ไม่ใช่รายแรก ย้อนกลับไปเมื่อ 16 เม.ย. 2558 วงการฟุตบอลไทยต้องสูญเสีย “โค้ชแต๊ก” อรรถพล
ปุษปาคม อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตกุนซือสโมสรฟุตบอลหลายแห่ง ซึ่งแพทย์ระบุว่าโค้ชแต๊กเสียชีวิตเพราะ พยาธิสตรองจิรอยด์ (Strongyloides) ไชจากเท้าเข้าสู่ระบบเลือดและปอด ทำให้ปอดเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือย้อนไปเมื่อเดือน ก.ค. 2557 ครั้งนั้นผู้เคราะห์ร้ายเป็นญาติของผู้บริหารธนาคารแห่งหนึ่ง ไปเลือกซื้อปลาแล้ว “ถูกก้างปลาตำ” ในตอนแรกคิดว่าไม่เป็นอะไร ปรากฏอาการปวดบวมไม่หาย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา


ทั้ง 3 กรณีนี้ รวมถึงกรณีอื่นๆ ทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า..ร่างกายมนุษย์ “เปราะบาง” กันขนาดนี้เลยหรือ?”!!!

เพราะแค่ “ฟันผุ”, “พยาธิ” หรือแม้แต่แค่ “ก้างปลา” ก็สามารถ “คร่าชีวิต” คนคนหนึ่งได้อย่างง่ายดาย!!!

นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในทางการแพทย์เรียกว่า “Septicemia” หมายถึงการที่มีเชื้อโรคชนิดต่างๆ หลุดเข้าไปสู่ระบบทางเดินของเลือด เช่น เมื่อเกิดบาดแผล เชื้อที่หลุดเข้าไปในระบบเลือดจะเจริญเติบโต แล้วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในต่างๆ จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

“สมมุติเชื้อเข้าไปอยู่ในเลือดได้ มันอาจจะไปอยู่ที่สมอง ก็จะเกิดฝีในสมอง หรือไปที่ตับก็จะกลายเป็นฝีที่ตับ หรือไปที่หัวใจก็เกิดโรคที่หัวใจ นอกจากนี้เชื้อยังทำให้คนไข้เกิดอาการช็อกได้ คนไข้ก็จะมีความดันตก ตรงนี้ครับที่อันตรายมาก สามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ อย่างฟันผุนี่ก็มีเชื้อโรคอยู่ ถ้ามันเข้าไปในกระแสเลือดแล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดมันได้ มันก็จะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนในเลือดมากขึ้น เชื้อก็จะเข้าไปอยู่ที่อวัยวะต่างๆ ก็จะทำให้เกิดอาการช็อก” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

แล้วกลุ่มไหนที่เสี่ยงที่สุด?..ประเด็นนี้ ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มคนที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ คนเหล่านี้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2.กลุ่มที่ได้รับการทำหัตถการต่างๆ เช่น การสวน การเสียบท่อต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย การศัลยกรรม หรือใส่อวัยวะเทียม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็น “สิ่งแปลกปลอม” ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจนำพาเชื้อโรคเข้าไปได้ และ 3.กลุ่มอื่นๆ เช่น ฟันผุกร่อนจนกระทั่งแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด ติดเชื้อจากแผลที่โดนไฟไหม้ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน การสัก การติดเชื้อเนื่องจากพยาธิชอนไชไปยังอวัยวะต่างๆ เป็นต้น

“หากโชคร้ายสุดๆ เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดขึ้นมา ร่างกายของคนเราก็จะพยายามต่อสู้กับเชื้อโรคจนถึงที่สุด ทำให้เกิดอาการแสดงต่างๆ ของร่างกายขึ้นหลายอย่าง เรียกว่ากลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome) เช่น 1.อัตราการเต้นของหัวใจ มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที

2.อุณหภูมิของร่างกายน้อยกว่า 36 หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส 3.อัตราหายใจเร็ว มากกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ (PaCO2 น้อยกว่า 32 mmHg) 4.มีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 เซลล์/ลบ.มม. หรือน้อยกว่า 4,000 เซลล์/ลบ.มม. ถ้ามีอาการเหล่านี้แค่ 2 อย่างตามนี้ก็เข้าข่ายเสี่ยงแล้ว”

ภาคภูมิ ระบุ ซึ่งเมื่อพบว่าผู้ป่วยรายใดมีอาการต้องสงสัยตามที่กล่าวมานี้ แพทย์จะนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยส่งต่อไปยังนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อทำการค้นหาเชื้อด้วยวิธีการเพาะเชื้อ หรือตรวจด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น เทคนิคการตรวจหาสารพันธุกรรม (PCR) เป็นต้น

แม้ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายนัก นักเทคนิคการแพทย์จากสภากาชาดไทยรายนี้ ให้คำแนะนำว่าควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเป็นอาหารที่ปรุงสุก ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนอย่าปล่อยให้มีความเครียดสะสม เพราะสิ่งเหล่านี้บั่นทอนสุขภาพอย่างมาก รวมถึงหาเวลาไปตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

หากร่างกายแข็งแรงดี..ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้!!!

ด้าน นพ.โสภณ ฝากเตือนเพิ่มเติมว่าด้วย “บาดแผล” เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสารฆ่าเชื้อโรคแล้วปิดแผลทันที แต่หากหลังจากนั้นยังมีอาการปวดบวมที่บาดแผลก็อย่า “ชะล่าใจ” รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะยิ่งได้รับการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วเท่าใด โอกาสรอดชีวิตก็มีมากขึ้นเท่านั้น

“ถ้าเกิดบาดแผลต้องล้างให้สะอาดไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือมีฟันผุก็ต้องรีบไปรักษา เช่นถ้ามีดบาดก็เอาเบตาดีนหรืออะไรพวกนี้ฆ่าเชื้อไป ถ้าแผลหายคือไม่เป็นไร แต่ถ้ามีตุ่มหนองขึ้นมา หรือมีไข้ขึ้น อันนี้ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ ส่วนการไปซื้อยาแก้อักเสบมากินเอง อันนี้ก็คงไม่ดีแน่ๆ ไม่ควรทำ” อธิบดีกรมควบคุมโรค ฝากทิ้งท้าย

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สลด! เก๋งเมาแอ๋เสยท้าย จยย. 'ส.ท.' 4 สมัยเสียชีวิตพร้อมภรรยา

เปิดประตูการค้าในสหภาพยุโรป! ชู Soft Power ด้านอาหาร กีฬา ดันมวยไทยสู่เวทีโลก พร้อมดึงแข่ง F1 มาไทย

'บ้านใหญ่'ยังกิน! แนะ'พรรคส้ม'ควรโฟกัสยึดอำนาจรัฐระดับชาติก่อน

ปิดจบแบบสมศักดิ์ศรี! 'ชมพู่ อารยา'สวมชุดโบว์ยักษ์สุดอลังการ สวยฟาดส่งท้ายพรมแดงคานส์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved