วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / สกู๊ปพิเศษ
‘สื่อ-รัฐ’2ตัวแปรสำคัญ ลด‘แตกตื่น’ยาม‘วิกฤติ’

‘สื่อ-รัฐ’2ตัวแปรสำคัญ ลด‘แตกตื่น’ยาม‘วิกฤติ’

วันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag :
  •  

“ก่อการร้าย-ภัยพิบัติ”...สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ “เรื่องไกลตัว” ของคนไทยอีกต่อไป ดังที่เห็นจากหลายปีมานี้ สังคมไทยผ่านเรื่องราว
มากมาย ทั้งน้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 2554 เหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ 2558 ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ หากเป็นในอดีตการควบคุมสถานการณ์คงทำได้ไม่ยาก เพราะช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารมีน้อย ทว่าทุกวันนี้ “ใครๆ ก็เป็นสื่อได้” ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “โลกออนไลน์” จากเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า

ด้วยเหตุนี้เอง..บ่อยครั้งเมื่อเกิด “เหตุฉุกเฉิน” ข้อมูลจึง “สับสน”!!!


ยังไม่นับ “ข่าวลือ-ข่าวปล่อย” เพื่อ “หวังผลบางอย่าง” อีกมากมาย!!!

15 พ.ย. 2558 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(PIM) ในนามที่ปรึกษาโครงการมีเดียมอนิเตอร์ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “การนำเสนอของสื่อและสื่อสังคมออนไลน์ ในเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหมและท่าน้ำสาทร กับเหตุการณ์จับผู้ต้องสงสัย” พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว โลกออนไลน์มีการสนทนาถึงเรื่องนี้กันมาก

ที่สำคัญ..บรรยากาศเต็มไปด้วย “ความขัดแย้ง” และ “ตื่นตระหนก”!!!

อาจารย์สกุลศรีกล่าวต่อไปว่า จากการติดตามการใช้สื่อออนไลน์อย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) และเว็บบอร์ดชื่อดังอย่าง พันทิป (Pantip.com) ตั้งแต่ช่วงที่เหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ๆ จนถึงวันที่ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ พบว่าในทวิตเตอร์เป็นการพูดคุยตามทิศทางตามแฮชแท็ก (hashtag) แต่ไม่ค่อยมีความสับสน ส่วนในเว็บบอร์ดพันทิปมีการถกเถียงและแสดงความคิดเห็นภายในกระทู้ค่อนข้างมาก ยิ่งถ้ามีใครมาให้ข้อมูลในกระทู้แล้วก็จะเห็นการแสดงความเห็นที่ตื่นตระหนกมากขึ้น

แต่ก็พบว่าหาก “สื่อหลัก” ทำหน้าที่ให้ดี..ย่อมสามารถ “คลี่คลาย” ความสับสนได้!!!

“ในวันเหตุการณ์เกิด ในทวิตเตอร์ที่พบแฮชเเท็กแรกมาจากไทยรัฐ หลังจากนั้นก็มีหลายสื่อทำตามมาเรื่อยๆ ซึ่งข้อมูลของสื่อสำคัญมากในภาวะแบบนี้ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อจะช่วยลดความตื่นตระหนกตรงนี้ได้ แต่การเก็บข้อมูลในช่วง 2-3 วันแรก พบว่าสื่อนำเสนอข้อมูลได้ดีเพื่อให้คนรับรู้ข้อมูล

หรือการพูดคุยในพันทิป พบว่ามีอารมณ์ความขัดแย้งค่อนข้างสูงในช่วงวันที่ 21-23 สิงหาคม แต่เมื่อสื่อมาให้ข้อมูลมากขึ้น ความรู้สึกขัดแย้งก็ลดลง ดังนั้นเราไม่ควรให้คนในโลกออนไลน์คุยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ควรจะให้คนกลางมาให้ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลโดยตรง เพื่อให้คนในโลกออนไลน์นำไปคุยอย่างถูกต้องได้” อาจารย์สกุลศรี กล่าว

เช่นเดียวกับ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย(UTCC) ที่ให้คำแนะนำว่า ทุกสำนักข่าวควรจะมีการจัดทีมทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาบริหารงานข่าวในเหตุวิกฤติต่างๆ และต้องทำการซักซ้อมเพื่อให้รู้ว่าจะต้องบริหารงานอย่างไร อีกทั้งหากเป็นการรายงานข่าวแบบรวดเร็วตามสถานการณ์ ก็ควรมีข้อมูลเตือนไว้ด้วยว่าข่าวนั้นยืนยันแน่นอนแล้วหรือไม่? หรือเป็นรายงานเข้ามาก่อนซึ่งต้องรอการตรวจสอบอีกครั้ง

อีกทั้งต้อง “บริหารอารมณ์คน” ให้เป็น..อย่าปล่อยให้ “กระแส” พาเตลิดไปไกล!!!

“ต้องมีการฝึกการมอนิเตอร์อารมณ์ของคน เพื่อไม่ให้กระแสไหลเวียนไปตามธรรมชาติ แต่ใครจะเป็นผู้นำเพราะในโลกออนไลน์ก็จะมีทั้งเกรียนโดยตัวเองและเกรียนโดยการจัดตั้ง ทั้งเจตนาและไม่เจตนา เจ้าหน้าที่รัฐต้องสนใจตรงนี้ด้วย อีกทั้ง
ในช่วงวิกฤติสื่อต้องให้สัญลักษณ์ว่าข้อมูลนี้ยังไม่ชัดเจน ยังรอการตรวจสอบ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น แบ่งระดับเป็น
ธงแดง ธงเหลือง หรือธงเขียว ประกอบในการนำเสนอ” อาจารย์มานะ ให้ความเห็น

ด้าน เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ชี้ให้เห็นว่า เหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ นั้นต้องถือเป็นบทเรียน ทั้งตัวผู้สื่อข่าวเองที่ต้อง “ทำการบ้าน” เพื่อเข้าใจที่มาที่ไปและองค์ประกอบของเหตุการณ์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องใส่ใจกับ “อารมณ์ของสังคม” ด้วย เพราะการรับรู้สื่อของคนยุคนี้แตกต่างไปจากเดิม

“ตำรวจยังไม่เข้าใจอารมณ์การรับรู้ของคนในสังคม ยังไม่มีการแถลงอธิบายอย่างเป็นระบบ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของการรับสื่อด้วย ส่วนคนทำสื่อก็ต้องถามตัวเองว่าเข้าใจประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศแค่ไหน? รู้จักอุยกูร์ รู้จักตุรกี รู้จักจีนมากขึ้นแค่ไหน? ไม่ใช่ระเบิดจบแล้วก็จบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวละครที่สำคัญมาก เพราะอาจจะมีความต่อเนื่องและยังไม่จบ” นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ฝากทิ้งท้าย


จีรนันท์ แก้วนำ
SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ผู้แสวงบุญหญิงชาวไทยวัย 71 ปี เสียชีวิตขณะประกอบพิธีฮัจย์ ที่ซาอุดีอาระเบีย

โจมตีครั้งใหญ่! รัสเซียส่งโดรนถล่มยูเครน273ลำ ก่อน'ทรัมป์-ปูติน'ยกหูหารือเพียง1วัน

'มหาดไทย' ขึ้นบัญชีแดง ผู้มีอิทธิพล 566 ราย บุคคลที่ต้องเฝ้าระวัง 625 ราย

สลด! เก๋งเมาแอ๋เสยท้าย จยย. 'ส.ท.' 4 สมัยเสียชีวิตพร้อมภรรยา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved