วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / สกู๊ปพิเศษ
ก๊าซ NGV "รอคิวนาน-หาปั๊มยาก" เสียงครวญจากผู้ใช้รถ หากรัฐห้ามใช้ LPG

ก๊าซ NGV "รอคิวนาน-หาปั๊มยาก" เสียงครวญจากผู้ใช้รถ หากรัฐห้ามใช้ LPG

วันพฤหัสบดี ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556, 02.00 น.
Tag :
  •  

 

ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนรถสะสมรวมเป็นจำนวนมหาศาล หากนับเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาตรฐาน (รถเก๋งที่นั่งได้ไม่เกิน 7 คน) ก็มีจำนวนเกือบ 6 ล้านคัน กับรถบรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพและรถตู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อการขนส่ง) อีกกว่า 5 ล้านคัน ก็จะรวมกันได้มากกว่า 11 ล้านคัน ทั้งนี้ยังไม่นับรถสาธารณะ ทั้งแท็กซี่ รถบัส และรถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้า ที่รวมกันได้อีกล้านคันเศษๆ (สถิติของกรมการขนส่งทางบก 13 ม.ค.2556)


ไม่นานมานี้ ได้มีเรื่องราวที่กลายเป็นประเด็นร้อนของผู้ใช้รถ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ก๊าซ ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV ก็ตาม เมื่อ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  ออกมาประกาศว่า จะไม่อนุญาตให้รถที่ออกมาใหม่ สามารถจดทะเบียนเพื่อใช้เชื้อเพลิง LPG ได้อีก เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบ่อย ขณะที่รถเก่ายังอนุญาตให้ใช้ต่อไปได้ ทำให้เกิดเสียงสะท้อนมากมายในทางที่ไม่เห็นด้วย เช่น หาปั๊มยาก ต่อคิวยาว รวมถึงประเด็นของการผูกขาดโดยกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่บางกลุ่ม วันนี้ทีมข่าวสกู๊ปหน้า 5 จึงได้ลงพื้นที่ ไปสอบถามในมุมของผู้ใช้ NGV ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาไปกับการเติมก๊าซมากกว่าเดิม เนื่องจากจะมีรถใหม่มาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก

เมื่อพูดถึงกลุ่มคนที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงหลัก คงหนีไม่พ้นภาคขนส่ง ที่มากที่สุดคือ “รถแท็กซี่” ซึ่งมีจำนวนอยู่กว่าแสนคันทั่วประเทศ (ส่วนใหญ่วิ่งกันใน กทม.) เราจึงไปสัมภาษณ์คนขับแท็กซี่ ถึงความเห็นในกรณีดังกล่าว โดย “พี่สถาพร” หนุ่มใหญ่วัย 47 ปี ชาว กทม. แท้ๆ ที่ขับแท็กซี่ส่วนบุคคล (เขียว-เหลือง) ได้เล่าแกมบ่นให้เราฟังว่าบางครั้งการเติมก๊าซ อาจต้องรอนานนับชั่วโมง

รถแท็กซี่ของพี่สถาพร ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยๆ คือ ปั๊มหายากกว่า LPG และทุกครั้งที่ไปเติมก๊าซ หากโชคดีหน่อย มาตรฐาน คือ การรอคิว 20-30 นาที ต่อการเติมก๊าซเต็มถังที่ใช้เวลาราว 5 นาที แต่ถ้า หากโชคร้าย ไปเจอปั๊มที่มีรถมารอคิวกันเยอะๆ จากที่จำได้ ก็เคยรอนานสุดถึง 1 ชั่วโมงมาแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความเห็นกรณีบังคับให้รถใหม่ต้องใช้ NGV แทน LPG พี่สถาพรบอกได้คำเดียวว่า “ทำใจ” หากจะมีรถมาต่อคิวยาวมากขึ้น

“ทำไงได้ละครับ รถมันเพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่ใช่แค่แท็กซี่ แต่รวมถึงรถทุกชนิด” พี่สถาพร กล่าว

ถัดจากพี่สถาพร ที่ปั๊มแก๊สแห่งหนึ่งไม่ไกลจากย่านลาดพร้าว-ถนนวิภาวดีรังสิต เท่าไรนัก ที่นี่เราพบกับ “พี่เสถียร” หนุ่มใหญ่วัย 44 ปี จาก จ.อุบลราชธานี ที่มาขับแท็กซี่ใน กทม. ได้ 5 ปีแล้ว โดยขับมาแล้วทั้งรถที่ใช้ LPG และ NGV แน่นอนว่าการหาปั๊ม LPG สามารถหาเจอได้ง่ายกว่ามาก เพราะมีจำนวนมาก และกระจายทั่วไปทั้ง กทม. ซึ่งหลังจากที่ทราบข่าวดังกล่าว ก็อดวิตกไม่ได้ ว่าจะต้องใช้เวลาในการเติมก๊าซมากขึ้น จากที่เดิมก็มากอยู่แล้ว

“NGV หาปั๊มยาก ต่อคิวก็ยาว บางต่อคิวไป พอใกล้ถึงเรา เหลืออีกแค่ 1-2 คัน ปรากฏว่า ก๊าซหมดอีก ทั้งที่รอมาแล้วเกือบ 1 ชั่วโมง และจะไปปั๊มอื่นก็คิวยาวอีก เพราะคันหลังๆ ที่ตามเรามา ก็จะตามเราไปด้วย”

พี่เสถียรให้ความเห็นว่า หากรัฐบาลจะประกาศใช้นโยบายดังกล่าวจริง สิ่งที่ควรทำก่อน คือการเพิ่มจำนวนปั๊มก๊าซ NGV ให้มากขึ้น และกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะปัจจุบัน ไม่ได้มีแต่เพียงแท็กซี่เท่านั้นที่หันมาใช้ NGV แต่ยังรวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลอื่นๆ หรือแม้แต่รถบัส รถบรรทุก ซึ่งรถ 2 ชนิดหลังนี้ มักจะใช้ถังก๊าซประมาณ 8 ถังหรือมากกว่า ทำให้ต้องเสียเวลาในการเติมค่อนข้างมาก หากไม่มีปั๊มที่เพียงพอ คิวที่ยาวอยู่แล้ว คงต้องยาวขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน

“รถเมล์ประจำทาง” เป็นรถสาธารณะอีกประเภทหนึ่ง ที่หันมาใช้ก๊าซแทนน้ำมัน เพราะราคาเชื้อเพลิงถูกกว่า โดยเฉพาะรถร่วมบริการ ซึ่ง “พี่ชิน” หนุ่มวัยกลางคน ชาว จ.แพร่ ที่ขับรถร่วมฯ มินิบัส (สีส้ม) สะท้อนปัญหาเช่นเดียวกับแท็กซี่ 2 คนก่อนหน้านี้ คือเรื่องของจำนวนปั๊มที่น้อย กับการรอคิวที่นานเช่นกัน

“ปั๊มหายากมาก ถ้าวิ่งใกล้ๆ ปั๊มหน่อย อย่างแถวๆ กม.11 หรือนครชัยแอร์ หรือแถวๆ ขนส่งหมอชิตใหม่ อันนี้ยังมีกระจุกอยู่หลายปั๊มบ้าง ส่วนจุดอื่นหายาก จึงต้องมาเติมแถวๆ นี้ แถมมาถึงแล้ว ถ้ามาตรงกับที่พนักงานเปลี่ยนกะ ก็ต้องรออีก”

ส่วนเรื่องเวลา พี่ชินยอมรับว่าต้องทำใจเช่นกัน กับการรอคิวนาน โดยมีครั้งหนึ่ง ต้องรอนานกว่า 2 ชั่วโมง กว่าจะได้เติม และต้องเสียเวลา 20 นาที ในการเติมก๊าซให้เต็มทั้ง 4 ถัง ทั้งนี้เครื่องจ่ายก๊าซ 1 หัว เติมได้แค่ทีละคันเท่านั้น เพราะถ้าเติมพร้อมกันมากกว่า 1 คัน จะทำให้ก๊าซไหลเข้าถังเก็บของรถได้ไม่ดี ดังนั้นจึงวิงวอนรัฐบาล หากจะทำจริงๆ ก็ช่วยเพิ่มจำนวนปั๊มก๊าซ NGV ให้ทั่วประเทศตามจำนวนผู้ใช้รถที่เพิ่มขึ้นด้วย

จะเห็นว่าบรรดารถสาธารณะต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า และมีปัญหาเดียวกันคือ “หาปั๊มได้ยาก” ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดปั๊มก๊าซ NGV ถึงมีจำนวนน้อยหากเทียบกับ LPG ซึ่งประเด็นนี้ นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วมบริการ ขสมก.  อธิบายว่า ที่ผ่านมาปั๊มก๊าซ NGV มักเป็นระบบกึ่งผูกขาด กล่าวคือ การที่ผู้ประกอบการสักรายหนึ่งจะขอเปิดปั๊มก๊าซ NGV นั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 30 ล้านบาท  ทั้งที่จริงแล้ว ค่าใช้จ่ายมากที่สุดต่อปั๊ม 1 แห่ง ไม่ควรจะเกิน 20 ล้านบาท จึงฝากถามไปยังภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานว่าแล้วส่วนต่าง 10 ล้านบาท เป็นค่าอะไร? แล้วไปอยู่ที่ไหนบ้าง?

ส่วนสาเหตุที่ว่า รถที่ติดก๊าซ LPG เกิดระเบิดบ่อยนั้น คุณบรรยงค์ มองว่าเป็นส่วนน้อย หากจะเทียบกับจำนวนรถที่ใช้ LPG ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะแท็กซี่ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะผลักดันนโยบายดังกล่าวให้ได้จริงๆ ก็ควรจะต้องขยายปั๊ม NGV ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเสียก่อน โดยการเปิดเสรี ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ก่อนที่จะสั่งห้ามใช้ LPG เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนทั่วไป

นอกจากเรื่องของ NGV แล้ว ในอนาคต “แก๊สโซฮอล์ E85” ควรเป็นทางเลือกที่สำคัญ ที่รัฐต้องส่งเสริมในแง่ของรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่ใช่แต่รถใหม่เท่านั้น เพราะปัจจุบัน รถเก่าก็สามารถไปปรับแต่งระบบหัวฉีด เพื่อให้สามารถรองรับ E85 ได้เช่นกัน โดยค่าดัดแปลงรถ เบ็ดเสร็จแล้วเพียงแค่หลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น หากแต่ที่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เพราะปั๊มที่มีแก๊สโซฮอล์ E85 ให้บริการในประเทศไทย ยังมีน้อยเกินไป

“กระทรวงพลังงานต้องรู้ว่าอะไรควรทำก่อนทำหลัง 2 เรื่องที่ผมเห็นว่าควรทำ คือเพิ่มปั๊ม NGV ให้ทั่วประเทศ ก่อนจะไปบังคับเขา อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน กับการสนับสนุน E85 ให้มากกว่านี้ แล้วหลังจากนั้น ถ้าใครอยากจะเติมน้ำมันแพงๆ ลิตรละ 45 บาท หรือ LPG กิโลกรัมละ 20 กว่าบาท ก็เชิญตามสบาย” ประธานชมรมรถร่วมฯ กล่าวทิ้งท้าย

ปัจจุบันมีรถที่ใช้ก๊าซ NGV จดทะเบียนสะสมในไทยกว่า 3 แสนคัน ขณะที่ก๊าซ LPG มีรถจดทะเบียนแล้วราว 1 ล้านคัน เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมัน ที่นับวันจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่หากนโยบายห้ามรถใหม่ติด LPG มีการประกาศใช้จริง ปัญหาที่ตามมา คงหนีไม่พ้นจำนวนสถานีบริการ ที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะหากเป็นรถสาธารณะ ผลที่ตามมาเป็นลูกโซ่ คือผู้ใช้บริการรถเหล่านี้ อาจต้องรอนานขึ้น เพราะคนขับก็ต้องนำรถไปต่อคิวเติมก๊าซ ในเวลาที่นานกว่าเดิมเพราะมีผู้ต้องการเติมมากขึ้น

จึงมีคำถามกลับไปยัง รมว.พลังงาน ว่า ท่านมีแผนรับมือผลกระทบดังกล่าวแล้วหรือยัง?

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ณัฐวุฒิ'บ่นยับ! บอกเสียดายโอกาส! 'ทักษิณ'พลาดบินกาตาร์พบ 'โดนัลด์ ทรัมป์'

บุกทลายปาร์ตี้สระน้ำ ชาวอินเดียกว่า 200 คน สร้างความเดือดร้อนชาวบ้านในพื้นที่

ผงะ! พบเจ้าของรถแบคโฮเสียชีวิตปริศนาในป่ารกร้างนนทบุรี

หนุ่มใหญ่นครพนมดับสลด! คาดก๊งหนักวูบพลัดตกสระหัวทิ่มกลิ้งลงน้ำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved