วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน นกยางไฟหัวดำ Yellow Bittern

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน นกยางไฟหัวดำ Yellow Bittern

วันอาทิตย์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

นกยางไฟหัวดำ Yellow Bittern  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ixorychus sinensis  จัดอยู่ในวงศ์นกยาง Ardeidae เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบได้บ่อยทั่วทุกภาค ตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีวัชพืชขึ้นอยู่ มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แถบอินเดียถึงแถบอินโดนีเซีย ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง  ความยาวลำตัวประมาณ 37-38 ซ.ม.  ตัวผู้ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่หัวตรงกระหม่อมสีดำ หัวตาเป็นหนังสีเขียวเหลือง ปากยาวหนาสีเหลืองอมเขียว คอสีน้ำตาลมีลายขาวเป็นแถวยาว จากใต้คางลงไปถึงอก 4 แถว ใต้ท้องสีน้ำตาลอ่อน ปีกยาวค่อนข้างแหลมสีน้ำตาลอ่อน ขอบโคนปีกถึงปลายปีกสีดำ หางสีดำ ขาและนิ้วสีเขียวอมเหลือง ตัวเมียและตัวไม่เต็มวัย ที่หัวสีน้ำตาลเข้มมีขีดประสีน้ำตาลอ่อน ขนคลุมลำตัวสีน้ำตาลอ่อนมีลายขีดเป็นเกล็ดปลาสีน้ำตาลเข้ม ใต้คางสีขาว ช่วงอกถึงท้องสีน้ำตาลอ่อนมีลายขีดประสีน้ำตาลเข้มเป็นทางยาวลงมา

โดยทั่วไปพบอยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่เป็นคู่ หากินอยู่ตามหนองน้ำ ตามชายเลน และริมคลอง ที่มีกอวัชพืช  กอกกหรือต้นอ้อขึ้นรก ออกหากินตั้งแต่เช้าและพลบค่ำ มักส่งเสียงร้องดังเกรี้ยวกราด อาหารเป็นพวกกุ้ง หอย ปู ปลา งูขนาดเล็ก กบ เขียด แมลงปอต่างๆ หนอนแมลง มักยืนเกาะลอยไปกับกอวัชพืชเพื่อรอจับเหยื่อ หามีศัตรูรบกวนจะรีบเดินหลบเข้ากอกก หรือที่รกทึบทันที จนเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงเดินย่องๆ ออกมาใหม่อีกครั้งช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม มักทำรังแบบง่ายๆ ไว้ตามกอกกหรือกอต้นอ้อที่ขึ้นอยู่ตามชายน้ำ บางครั้งทำรังไว้บนวัชพืชน้ำที่เกาะตามต้นกก โดยใช้ใบและก้านอ้อหรือใบกกมาวางซ้อนทับกัน วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะผลัดกันกกไข่ ใช้เวลา 15-17 วันลูกนกจึงออกจากไข่ ทั้งพ่อนกและแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูกประมาณ 24-28 วัน ลูกนกยังโตไม่เต็มวัยจะมีสีขนคล้ายนกตัวเมีย เริ่มหัดบิน และออกหาอาหารกินเองแต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้พ่อและแม่นก เมื่อบินได้คล่องและแข็งแรงดีแล้วจึงจากพ่อแม่ไป

ปัญจพร  ศรีบุญช่วย

ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

หมดศรัทธารัฐบาล!‘IFDโพล’เปิดผลสำรวจปชช.หนุน‘ยุบสภา’ ตั้ง‘รัฐบาลแห่งชาติ’

'ลิณธิภรณ์'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน

ทั่วโลกจับตาวันพรุ่งนี้! คำทำนายจาก'นอสตราดามุสญี่ปุ่น' เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่จากรอยแยกใต้ทะเล

เปลี่ยนใจแล้ว! หนุ่มใหญ่ถูกหลอกขาย'ตุ๊กตายาง' บอกอายลูกหลานไม่แจ้งความแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved